นิติราษฎร์ฉะทหารกับนักกฎหมายเหมือนผีเน่ากับโลงผุ

นิติราษฎร์ฉะทหารกับนักกฎหมายเหมือนผีเน่ากับโลงผุ

วันนี้ (30 ก.ย.)ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติราษฎร์ ได้จัดงาน 2 ปี นิติราษฎร์ 6 ปีรัฐประหาร
 
โดยมีนายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากร ในหัวข้อนักกฎหมายไทยกับรัฐประหาร เหมือนเป็นผีเน่ากับโลงผุที่พร้อมจะรับใช้ซึ่งกันและกัน หลักนิติธรรมของรัฐก็ผุกร่อนไปหมด นิติราษฎร์เหมือนดอกบัวที่ผุดขึ้นมากลางตม นักกฎหมายทำให้รัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของสังคมไทย ตนขอยกตัวอย่างนายไพศาล พืชมงคล เป็นนักฎหมายของกลุ่มพันธมิตร ที่สมัยก่อนเคยต่อสู้กับพวก 14 ตค.มาก่อน แต่มาสมัยคมช.ก็ได้รับการแต่งตั้งจากคมช.โดยนายไพศาลได้ถูกเชิญไปที่กองทัพบกและได้พบกับนายมีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งนายไพศาลบอกว่านายมีชัยมีทีท่าดีใจที่เห็นนายไพศาลพร้อมกับบอกว่าดีใจที่มาช่วยกันทำงาน และนายไพศาลได้มีการร่างประกาศคปค. ออกมา ซึ่งบทความเรื่องนี้มีอยู่ในข้อลัมน์เปิดใจนายไพศาล ของผู้จัดการออนไลน์ แสดงให้เห็นถึงความแนบแน่นระหว่างนักกฎหมายกับทหาร ถ้าเราเห็นนักกฎหมายถือโน๊ตบุ๊กกับตำรากฎหมายให้ระวังว่า อาจจะเกิดการรัฐประหาร ทหารยังต้องพึ่งนักกฎหมาย และข้าราชการประจำ เพราะขาดทักษะ จึงเหมือนผีเน่าที่คู่กับโลงผุ

นายเกษียร กล่าวต่อว่า สมัยจอมพลสฤษฎ์ มีการใช้กฎหมาย rule of ku ไม่ใช่ rule of law หรือทำตัวเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ
 
เวลาจะทำอะไรจะไม่มีการขออนุมัติก่อน หรือทำก่อนค่อยบอก เช่นการยิงเป้า ทำเสร็จแล้วค่อยบอก เป็นการรวบอำนาจทั้งหมดในมือนายกรัฐมนตรีคนเดียว ให้อำนาจอาญาสิทธิ์เป็นสิ่งที่ชอบโดยรัฐธรรมนูญ นักกฎหมายจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยทหารทำลายหลักนิติธรรมให้กลายเป็นหลักนิติกู ใช้ปืนในการคุมอำนาจ รัฐมีสิทธิ์ออกกฎหมาย จึงเป็นหลักนิติธรรมที่ไม่เหมือนกับใครในโลก นักกฎหมายหลัง 14 ตค.

ทำหน้าที่เป็นช่างเทคนิคด้านอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ เวลามีการรัฐประหารทหารจะวิ่งไปหานักกฎหมายเหล่านี้ ว่ามีอะไรที่จะทำละเมิดกฎหมายหรือไม่


 นักกฎหมายเหล่านี้จะเกลี่ยรอยต่อระหว่างเผด็จการกับระชาธิไตยให้ลื่นเหมือนแพรไหม ว่าจะเผด็จการหรือประชาธิไตยเรายังมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังนั้นการเปลี่ยนระบบที่ยิ่งใหญ่สำหรับที่อื่นกลับเป็นเรื่องที่เบาบางและลื่นไหลได้ง่ายในสังคมไทย รัฐประหารจึงเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไทย แต่ต่อมาเกิดปัญหา เพราะมีนักกฎหมายที่ไม่เห็นด้วยจึงเกิดกลุ่มนิติราษฎร์ขึ้นมา จึงมีการทำเรื่องการลบล้างผลพวงรัฐประหาร จึงทำให้ทหารส่วนหนึ่งตกใจว่า ทำรัฐประหารเสร็จจะมีคนมาล้มล้างคำสั่งของคณะรัฐประหารหรืออย่างไรจึงมีการคัดค้าน

ต่อมาเวลา 14.30 น. ช่วงหนึ่งนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กล่าวว่า ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา คณะนิติราษฎร์มีข้อเสนอมากมายหลากหลายจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมไทย เช่น ข้อเสนอให้ยกเลิกผลพวงจากการรัฐประหาร การยุบศาลรัฐธรรมนูญ  การยกเลิกมาตรา 112  เป็นต้น ทั้งนี้เห็นว่าถ้าไม่ยุบศาลรัฐธรรมนูญก็จะไม่สามารถเดินหน้าในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ หลายคนคงตั้งคำถามว่าที่ทำมาทั้งหมดในการนำเสนอทางการเมืองแต่ยังไม่เป็นจริงเลย  ตนอยากจะเรียนว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดต้องอาศัยอำนาจทางการเมือง แต่คณะนิติราษฎร์ไม่มีอำนาจทางการเมืองจึงผลักดันอะไรไม่ได้ แต่ข้อเสนอจะมีผลในอนาคต หากเกิดรัฐประหารอีกข้อเสนอนี้จะถูกนำไปปฏิบัติอีก เพราะเมื่อมีข้อเสนอออกไปก็ยังดำรงอยู่และอาจจะนำไปใช้ได้ ดังนั้นการเผยแพร่เรื่องนี้ออกไปให้มากที่สุดจึงเป็นเรื่องดี 

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดายว่าในรายงานของ คอป. ไม่มีข้อเสนอในเรื่องการยกเลิกผลพวงการรัฐหารที่เราเสนอเลย

การปรองดองที่แท้จริงจึงยังเกิดขึ้นไม่ได้ อย่างไรก็ตามเข้าสู่ปีที่ 3 สิ่งที่เราจะทำต่อไปคืิอการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญต้นฉบับ เพื่อนำเสนอสู่สาธารณะในโอกาสต่อไป.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์