ส.ส.แดนใต้เมินถก “เฉลิม” แนะรัฐ9ข้อดับไฟใต้

วานนี้ (26 เม.ย.) ที่รัฐสภา ผู้แทนส.สพรรคประชาธิปัตย์ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
นำโดยนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ร่วมกันแถลงว่า กลุ่มส.ส.5 จังหวัดภาคใต้ ได้ร่วมหารือถึงการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีข้อเสนอแนะว่า จากการลำดับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา เห็นได้ว่ารัฐบาลประสบปัญหา 9 ประการคือ 1.มีความสับสนในระดับนโยบายตั้งแต่การจัดตั้งนครรัฐปัตตานีมาจนถึงการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ขาดการตัดสินใจร่วมอย่างบูรณาการ และไม่เป็นเอกภาพ 2.ปล่อยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคดีเข้ามาก้าวก่ายงานด้านความมั่นคง เคยสร้างความเจ็บปวดให้ชาวไทยมุสลิมมามาก และเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งที่มีผลมาจนถึงปัจจุบัน 3.ไม่ใช้กลไกที่มีให้เกิดประโยชน์ในการคลี่คลายสถานการณ์ แต่กลับเลือกใช้ตัวบุคคลเป็นหลักจนเกิดก้าวข้ามสายงาน ขาดการประสานงาน ทำให้ไม่เป็นเอกภาพ 4. ใช้งานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)ผิดบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และศอ.บต. มีบทบาทด้านการบริหารและการพัฒนา
 

นายถาวร กล่าวว่า 5.พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศอ.บต. ปฏิบัติหน้าที่เลยบทบาทหน้าที่ความเป็นเลขาฯศอ.บต.

ที่เป็นหน่วยงานมุ่งเน้นเรื่องการบริหารการปกครอง การพัฒนา แต่กลับไปก้าวก่ายการทำงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.)ทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 6.นายกรัฐมนตรี ไม่เข้าใจปัญหา ไม่ระมัดระวังคำพูด ให้สัมภาษณ์เสมือนดูถูกผู้ก่อความไม่สงบว่าเป็นกลุ่มไม่ใหญ่ ซ้ำรอง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เคยระบุว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเป็นโจรกระจอก ทำให้สถานการ์ลุกลามบานปลายมีผู้เสียชีวิต 5 พันกว่าราย จากนโยบายที่ผิดพลาดของ พ.ต.ท.ทักษิณ 7.นายกฯและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไม่มีความจริงใจขาดความเอาใจใส่ต่อการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง 8.นายกฯเป็นผอ.ศอ.บต. และผอ.กอ.รมน. และเป็นประธานคณะกรรมการสมช. แทนที่จะทำงานให้เกิดเอกภาพ แต่ไม่ทำหน้าที่ และ 9.จากความสับสนในด้านนโยบาย ทำให้เกิดความชะงักงันในการปฏิบัติหน้าที่จนขาดความเป็นเอกภาพในการประสานงาน


ส.ส.แดนใต้เมินถก “เฉลิม” แนะรัฐ9ข้อดับไฟใต้

นายถาวร กล่าวว่า ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหา คือ ไม่ใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุติบทบาท พ.ต.ท.ทักษิณ
 
ที่เข้ามาก้าวก่ายงานด้านความมั่นคงและยังเป็นการกระทำที่ขัดต่อจริยธรรมอย่างร้ายแรง ที่ปล่อยให้นักโทษหนีคดีมีอิทธิพล เหนือรัฐไทย นอกจากนี้รัฐบาลจะต้องระมัดระวังในการให้ข่าวสารต่อสาธารณชน ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคงที่มีความละเอียดอ่อน เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง อีกทั้งต้องหยุดการใช้วิธีคิดแบบนักธุรกิจ โดยใช้เงินเป็นตัวตั้งมาแก้ปัญหาความมั่นคง และเลิกให้ปัญหาความมั่นคงมาแสวงผลประโยชน์ทางการเมือง และการเมืองต้องไม่แทรกแซงการทำงานของฝ่ายความมั่นคง  นายกฯจะต้องศึกษางานด้านความมั่นคงอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อสถานการณ์ และต้องมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดูแลปัญหาอย่างชัดเจน พร้อมทั้งเร่งรดกำหนดแนวทางชดเชยเยียวยาอย่างเป็นธรรม เสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำจนกลายเป็นเงื่อนไขใหม่ของความรุนแรงในพื้นที่
 

นายถาวร กล่าวต่อว่า จากกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เชิญฝ่ายค้านร่วมประชุมเกี่ยวกับการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้นั้น

ร.ต.อ.เฉลิม ได้เชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  และ ส.ส.ภาคใต้ 10 คน แต่พวกตนได้หารือกันแล้วว่า จะไม่ไปร่วมประชุมด้วย เพราะเกรงว่าจะผิดกฎหมายว่า ส.ส.เข้าไปแทรกแซงการทำงาน แม้ ร.ต.อ.เฉลิม จะบอกว่าสามารถไปร่วมได้ แต่ ร.ต.อ. เฉลิม ไม่มีอำนาจจะวินิจฉัยเรื่องนี้ รวมทั้งไม่แน่ใจว่า เมื่อไปร่วมประชุมด้วยแล้ว นายกฯ จะเข่ารวมประชุมด้วยหรือไม่ เพราะในการประชุมยุทธศาสตร์แก้ปัญหาภาคใต้ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นประธานก็ไม่เคยเข้าร่วมประชุมแม้แต่ครั่งเดี่ยว จึงไม่แน่ใจว่า การเข้าร่วมประชุม การเสนอความคิดเห็นต่างๆ จะไปร่วมการฏิบัติได้หรือไม่ ดังนั้นในสัปดาห์ จะมีการแนบข้อเสนอ ให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพื่อประกรอบการแก้ไขปัญหาด้วย
 

ส่วนกรณีองค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี ) จะเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ การแก้ไขสถานการณ์ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
 
นายถาวร กล่าวว่า ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลจะชี้แจงอย่างไรต่อ โอไอซี แต่เห็นว่ารัฐบาลจะต้องระมัดระวัง ในการชี้แจงสถานการณ์ โดยเฉพาะ ตนมีความเป็นห่วง รมว.ต่างประเทศ มีท่าทีไม่รู้เรื่องรู้ราว ว่าการประชุมจะดำเนินการอย่างไร รู้เพียงอย่างเดียวว่าจะทำอย่างไรจึงจะพาพ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้าน
 

นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิม มีหนังสือเชิญร่วมประชุมวันที่ 2 พ.ค. เวลา 10.30 น. วันดังกล่าว

ไม่แน่ใจว่าจะมีการประชุมสภาหรือไม่ ทำให้ไม่สามารถตอบรับข้อเสนอ เข้าประชุมเพื่อแก้ปัญหาครั้งนี้ได้ ไม่หลักประกันใดๆว่าการประชุมดังกล่าว จะไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 265 และ 266 อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจน ว่านายกฯ จะเข้าร่วมประชุมครั้งนี้หรือไม่ และรัฐบาลยังไม่มีคำตอบเรื่องที่ทางพรรคเคยเสนอให้เปิดประชุมร่วมเพื่อเสนอความคิดเห็น การแก้ปัญหาภาคใต้ โดยไม่ลงมติ ตามรัฐํธรรมนูญมาตรา 179
 


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์