สุรยุทธ์ อ้อนสื่อ โต้สื่อเทศแทนรัฐบาล-ปล่อย แม้ว พล่าม

นายกฯ อ้อนสื่อช่วยตอบโต้สื่อต่างแดน แทนรัฐบาล


หากเห็นว่าไม่เหมาะสม กรณี ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ผ่านซีเอ็นเอ็น เพราะรัฐบาลไม่คิดปิดกั้นการนำเสนอข่าวสาร ระบุ พร้อมเจรจาเปิดโอกาสให้ แม้ว กลับประเทศ แต่เงื่อนไขหลักต้องหยุดเคลื่อนไหวทางการเมือง พร้อมยอมรับขณะอยู่ต่างประเทศ ยังเคลื่อนไหวจนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการเมือง และการทูต

วันนี้ (22 ม.ค.) พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี


ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในรายการนายกรัฐมนตรีพบสื่อทำเนียบ ครั้งที่ 3 ที่ตึกสันติไมตรี ก่อนเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถาม พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลชั่วคราวชุดนี้ ขอยืนยันว่า จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อปฏิรูปผลงานสำเร็จทั้งงานด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลชั่วคราวนี้ไม่มีความมุ่งหวังทางการเมือง หรือหวังหาผลประโยชน์ทางการเมือง แต่จะยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหาร เพื่อให้กระบวนต่างๆ เดินหน้าต่อไปได้

หลังจากนั้น จึงได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถาม


เริ่มตั้งแต่การเตรียมลงพื้นที่ชายแดนใต้ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า เป้าหมายในการลงพื้นที่เป็นไปตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทย ที่ต้องการให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมในระดับตำบล-หมู่บ้าน และข้าราชการฝ่ายปกครอง

สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หลังจากที่ฝ่ายปกครองเข้าไม่ถึงในระดับตำบล-หมู่บ้าน แม้จะต้องใช้เวลาและต่อเนื่อง เพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์

พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวยอมรับว่า


การประชาสัมพันธ์บางกระทรวงอ่อน จึงได้กำชับให้รัฐมนตรีเน้นงานในส่วน และในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีการปรับเพิ่มในส่วนรัฐมนตรีช่วยศึกษาฯ ส่วนรัฐมนตรีอื่นยังไม่มีแนวคิดปรับเปลี่ยนในขณะนี้ พร้อมปฏิเสธรองนายกฯด้านความมั่นคง ระบุว่า ยังไม่มีความจำเป็น เนื่องจากงานด้านความมั่นคง มี คมช.เป็นผู้ดูแลอยู่แล้ว

พล.อ.สุรยุทธ์ ยังได้ตอบข้อซักถาม


สื่อกรณีการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ถือว่ากระทบต่อสถานการณ์ทางการเมืองและการทูต ซึ่งรัฐบาลได้ใช้มาตรการทางการทูตตอบโต้สิงคโปร์ไปแล้ว เนื่องจากถือว่าไม่ให้ความร่วมมือต่อท่าทีของรัฐบาลไทย ส่วนการว่าจ้างล็อบบบี้ยิสต์สหรัฐฯ ตามที่เป็นข่าว ถือว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคล และไม่ต้องตรวจสอบอีก

ส่วนในเรื่องจะอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินกลับมาเมื่อไรนั้น


พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลและ คมช.ไม่ได้ปิดประตู หรือปิดกั้นการแสดงความเห็นผ่านสื่อ แต่หากจะกลับมาจะต้องมีการเจรากันก่อน โดยจะต้องมีกรอบปฏิบัติและเงื่อนไขที่ชัดเจน โดยจะต้องไม่เคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น นี่ถือเป็นภาพกว้าง แต่ในขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาจึงยังไม่สามารถระบุกรอบปฏิบัติที่ละเอียดได้

ส่วนกรณีที่ให้สัมภาษณ์ซีเอ็นเอ็น


แม้ว่ารัฐบาลจะไม่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น แต่สื่อมวลชนไทยเองต้องช่ววยตรวจสอบ หรือตอบโต้สื่อต่างประเทศแทนรัฐบาลด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้ สื่อมวลชนไทยถือว่าเป็นผู้ที่ติดตามข้อมูลข่าวสาร และติดตามสถานการณ์ทางการเมืองมาโดยตลอด

จึงน่าจะช่วยตอบโต้แทนรัฐบาล หากเห็นว่าเรื่องใดไม่เหมาะสม พร้อมกล่าวทิ้งท้ายกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบคนสำคัญระดับประเทศ


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์