แฉ คตส.ถูกดักฟังมือถือ คมช.เตือนความลับรั่ว

ผู้จัดการรายวัน - คมช.พบ คตส.ถูกล้วงตับ

นายพานทองแท้ ชินวัตร


แจ้งด่วนให้ระวังการใช้โทรศัพท์มือถือหวั่นความลับรั่ว แนะใช้โทรศัพท์บ้านหรือสำนักงานติดต่อเรื่องสำคัญเพราะถูกดักฟังได้ยาก

ส่วนการตั้งอนุกก.ไต่สวน"CTX-ท่อร้อยสาย-ที่ดินรัชดา" "นาม"บอกตั้งได้วันจันทร์ เหตุไม่ลงตัวใครนั่งประธาน ส่วนคดีหุ้นชินคอร์ป คตส.สงสัย "โอ๊ค-เอม" อ้างซื้อ-ขายนอกประเทศหวังเลี่ยงภาษี เตรียมรีดข้อมูลเก็บภาษีแอมเพิลริช

ขณะเดียวกันจะเรียก "ศานิต" ชี้แจงทำไมการซื้อ-ขายหุ้นแอมเพิลริช เข้าข่าย ม.40 (8) ซึ่งจะมีผลต่อการชี้มูลความผิดของของ คตส. ในการพิจารณาชั้นศาล

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการตรวจสอบ


การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่นายนาม ยิ้มแย้ม พร้อมด้วย คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา เข้าพบ พล.อ. สนธิ บุณยรัตกลิน ผบ.ทบ. ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

โดยรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับปัญหาการทำงาน ให้รับทราบ ปรากฎว่าในช่วงเย็นวันที่ 16 ม.ค. พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยผบ.ทบ. และผู้ช่วยเลขานุการ คมช. ได้โทรศัพท์สายตรงถึงกรรมการ คตส. หลายคนว่าขณะนี้คมช.ตรวจสอบพบความเคลื่อนไหวผิดปกติ

มีการดักฟังโทรศัพท์กรรมการ คตส.ที่อยู่ในระดับสำคัญและเป็นคีย์แมนในการทำสำนวนสอบสวน โครงการต่าง ๆ จึงขอให้ระมัดระวังการใช้โทรศัพท์ในการพูดคุยเรื่องการทำงานของ คตส. รวมถึงเสนอให้มีการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือ พร้อมกับแนะนำว่า น่าจะใช้โทรศัพท์บ้าน หรือสำนักงาน ซึ่งจะดักฟังโทรศัพท์ได้ยากกว่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า

นายนาม ยิ้มแย้ม


ในวันเดียวกันนี้ผู้สื่อข่าวประจำคตส. ได้โทรศัพท์ เข้าไปยังโทรศัพท์มือถือกรรมการคตส.บางคนเพื่อขอสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ปรากฏว่า ผู้ติดตามคตส.คนดังกล่าวได้รับโทรศัพท์แทน พร้อมกับกล่าวตอบมาว่า "โทรศัพท์สายนี้ไม่สะอาด เพราะโดนแทป กรุณาโทรเข้าสายตรงที่สำนักงาน"

นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนโครงการที่ คตส.ได้ชี้มูลไปแล้วว่ามีการทุจริต ได้แก่ โครงการคดีจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX 9000

โครงคดีท่อร้ายสายไฟฟ้าภายใน สนามบินสุวรรณภูมิ โครงการคดีจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาของคุณหญิง พจมาน ชินวัตร ว่า คณะอนุกรรมการตรวจสอบทั้ง 3 เรื่องเพิ่งจะส่งหนังสือการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนมาให้ลงนามในวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา

ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดในหนังสือการแต่งตั้ง คาดว่าจะส่งหนังสือไปให้ ผู้ถูกกล่าวหาได้ภายในสัปดาห์นี้ เพราะหากไม่รอบคอบกลัวจะเหมือนคดีที่ คตส.ชี้มูลความผิดไปก่อนหน้านี้แต่ต้องมาเสียเวลาในการแก้ไขเอกสารนาน

เชื่อว่าในวันจันทร์ที่ 22 ม.ค.นี้ จะเห็นความคืบหน้าในการตั้งอนุกรรมการไต่สวน


อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในวันจันทร์ที่ 22 ม.ค.นี้ จะเห็นความคืบหน้าในการตั้งอนุกรรมการไต่สวน โดยอนุกรรมการไต่สวนโครงการทุจริตเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTXนั้น นายอำนวย ธันธรา ได้ตอบรับเป็นประธานแล้ว หลัง นายสวิน อักขรายุธ ซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบโครงการนี้ได้ขอถอนตัวจากที่ถูกเสนอให้เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีนี้

ส่วนการตั้งอนุกรรมการไต่สวนโครงการท่อร้อยสายไฟฟ้า อยู่ระหว่างการตกลง ว่าใครเป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบ ซึ่งหากคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ต้องการเป็นก็ไม่มีปัญหา แต่เบื้องต้นได้มีรายชื่อบุคคลที่เป็นประธานอนุกรรมการ ไต่สวนแล้ว ซึ่งไม่ใช่คุณหญิงจารุวรรณ ทั้งนี้แม้คุณหญิงจารุวรรณ จะไม่ได้เป็นประธาน ก็สามารถกำกับดูแลได้


การทำหนังสือไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา


และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เพื่อให้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ คตส. ในโครงการจัดซื้อกล้ายาง 90 ล้านต้นนั้น นายนาม กล่าวว่าว่า

เพิ่งได้รับหนังสือจากนายบรรเจิด สิงคะเนติ ประธานอนุกรรมการตรวจสอบโครงการดังกล่าว แต่ต้องใช้เวลาในการพิจารณา เนื่องจากมีผู้ถูกกล่าวหามีจำนวนมาก คาดว่าจะส่งหนังสือได้ในสัปดาห์นี้ ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้ถูกกล่าวหามีจำนวนมากนั้น

คตส.ต้องการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ร่วมพิจารณาในรูปของคณะกรรมการได้มีการพิสูจน์ตัวเอง เพราะสามารถเข้าแก้ข้อกล่าวหากับคตส.ได้ ถ้าข้อมูลมีน้ำหนัก หรือมีเหตุผลที่ฟังขึ้น ก็จะพ้นคดีไป แต่ถ้าฟังไม่ขึ้นก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการ เพราะถือว่า มีส่วนร่วม หากมีความผิดต้องรับผิดชอบด้วย

ขณะที่คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส. เปิดเผยว่า ในวันจันทร์ที่ 22 ม.ค. ที่ประชุมใหญ่ คตส. จะแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนทั้ง 3 โครงการ อย่างเป็นทางการ

เพราะเจ้าหน้าที่จากกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ได้เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษแล้ว กรณี คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ดินย่านรัชดาภิเษกแล้ว พร้อม ยืนยันว่า ตนจะได้เป็น 1 ในคณะอนุกรรมการไต่สวน โครงการวางท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้

ด้านนาย บรรเจิด สิงคะเนติ กล่าวว่า


ได้ทำหนังสือให้นายนาม ยิ้มแย้ม ลงนาม ส่งหนังสือไปถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ สำนักงานกองทุนส่งเคราะห์การทำสวนยาง เพื่อให้ทั้งสองหน่วยงานได้มาร้องทุกข์กล่าวโทษกับกลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้องตามที่ คตส.ได้ชี้มูลแล้ว

ซึ่งอยู่ในระหว่างการรอนายนาม โดยหนังสือดังกล่าวได้ระบุตัวบุคคลอย่างชัดเจน ซึ่งผู้ถูกล่าวหามีไม่ถึง 70 คน เพราะบางคน เป็นกรรมการหลายคณะรายชื่อจึงซ้ำกัน ยืนยันว่าการตั้งข้อกล่าวหาบุคคล เป็นจำนวนมากไม่ได้เป็นการเหวี่ยงแห แต่ คตส.ต้องการวางบรรทัดฐานของผู้เข้ามาเป็นคณะกรรมการว่าควรจะต้องมีความรับผิดชอบ และรอบครอบในการพิจารณาเรื่องต่างๆ

"ผู้ที่ คตส.กล่าวหาไปไม่ได้หมายความว่าต้องผิดทั้งหมด แต่มีการเกี่ยวข้อง 3 ลักษณะ คือ เป็นผู้เกี่ยวข้อง เป็นรู้เห็น และมีความผิดหรือไม่ ซึ่งในชั้นไต่สวนบุคคลเหล่านี้อาจจะหลุดจากข้อกล่าวหาได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ" นายบรรเจิด กล่าว

ส่วนชั้นของการสรุปการไต่สวนจะตีวงแคบหาผู้ผิดที่เป็นนักการเมืองและบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมประมูลใช่หรือไม่ นายบรรเจิด กล่าวว่า จะใช่หรือไม่ ต้องรอผลการไต่สวน แต่ขณะนี้ก็เห็นตัวกันอยู่แล้วว่าใครเป็นใคร


นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. และอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขาย

นายสัก กอแสงเรือง


หุ้นบริษัทชินวัตรคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง

กรณีที่นายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยืนยันว่า การซื้อหุ้นชินคอร์ปจากบริษัทแอมเพิลริชทำกันที่สิงคโปร์ และจ่ายเงินผ่านธนาคาร ที่สวิตเซอร์แลนด์ว่าเป็นการยืนยันที่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีการซื้อขายกันที่ต่างประเทศจริงหรือไม่ หากพบว่า มีการซื้อขายกันในประเทศไทยจะต้องมีการเรียกเก็บภาษี จากบริษัท แอมเพิลริชด้วย อย่างไรก็ตามต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด



ทั้งสองคนได้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจ


ส่วนที่ให้แก่นายเลา วี เตียง ชาวสิงคโปร์ ซื้อหุ้นชินคอร์ปแทนในฐานะบุคคลธรรมดาจากบริษัท แอมเพิลริช คตส.จะเชิญ นายเลา วี เตียง มาให้ปากคำหรือไม่ นายสักกล่าวว่าต้องดูก่อนว่าจำเป็นต้องมาให้ ข้อมูลหรือไม่หากไม่จำเป็นคงไม่ต้องเชิญ

ส่วนคดีอาญานาย บรรณพจน์ ดามาพงศ์ ที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษีในการซื้อขาย หุ้นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์แอนด์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด มูลค่า 546 ล้านบาท ที่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้เข้ามาแก้ข้อกล่าวหานั้น นายสัก กล่าวว่ายังอยู่ในช่วงระยะเวลา 15 วันจึงยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ซึ่งถ้าผู้ถูกกล่าวหาจะใช้วิธีการแก้ข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษร ก็เป็นสิทธิที่ทำได้

แหล่งข่าวจาก คตส.กล่าวอีกว่า


ในส่วนของอนุกรรมการตรวจสอบการซื้อขาย หุ้นบริษัทชินคอเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีนายวิโรจน์ เลาหะพันธ์ กรรมการคตส. เป็นประธาน ได้รายงานความเห็นของทางคณะอนุกรรมการฯต่อที่ประชุมคตส.เมื่อวันที่15ม.ค.ไปว่า

การซื้อขายหุ้นของบริษัทแอมเพิลริช อินเวสต์เม้นท์ จำกัด จำนวน 329 ล้านหุ้น นายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร ต้องเข้าเป็นบุคคล ที่มีรายได้พึงประเมิณตามมาตรา40(2) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากทั้งสอง ได้รายงานการซื้อขายหุ้นได้รายงานกับคณะกรรมการกำหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)ในฐานะกรรมการบริษัทดังนั้น คตส.จึงมีความเห็นว่าจะต้องเสียภาษีตามมาตราดังกล่าว

ล่าสุดคตส.ได้ขอความร่วมมือ


ไปยัง ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังสั่งให้กรมสรรพากรชะลอการประเมินภาษีการซื้อขายหุ้นของบริษัทแอมเพิล ริชไปก่อน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ นายศิโรตม์ สวัสดิ์พานิชย์ ได้ออกมาระบุก่อนที่จะออกจากตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากรว่านายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทาต้องเสียภาษีตามมาตรา 40(8)แห่งประมวลรัษฏากร เพราะความเห็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ขัดกับมติของคณะอนุกรรมการคตส. โดยขอให้รอผลการตรวจสอบของคตส.ก่อน

เป็นรายได้ที่นายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา

พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร


แหล่งข่าวจาก คตส. ยอมรับว่าถ้าความเห็นของคตส.กับสรรพากรยังมีความเห็นไม่ตรงกัน อาจจะมีผลต่อการต่อสู้ในชั้นศาล เพราะประมวลรัษฎากร เป็นกฎหมายมหาชน จึงมีความจำเป็นที่จะขอให้ นายวิโรจน์ เชิญนายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร มาหารือว่า ทำไมทางสรรพารกร ถึงยืนยันตามมาตรา 40(8)

พร้อมกับจะขอความร่วมมือให้ชี้แจงด้วยว่าทางกรมสรรพากรมีหลักฐานอะไร ถึงได้ยืนยันถึงมาตรา 40(8) โดย คตส.จะนำข้อมูลที่ได้มาประมวลว่า จะสามารถหักล้างกับหลักฐานที่ คตส.มีหรือไม่

ด้าน นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า พร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ แต่เท่าที่ได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจสอบยังคงยืนยันการซื้อขายหุ้นของบริษัทแอมเพิลริช เข้าข่ายเป็นรายได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร

ได้รับจากการที่บริษัทแอมเพิลริช เพราะมีการายงานว่าเป็นรายได้ที่นายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา ได้รับจากการที่บริษัทแอมเพิลริช โอนหุ้นให้กับบุคคลทั้ง 2 ในฐานะกรรมการของบริษัท ถือเป็นรายได้อื่นตามมาตรา 40(8)

ซึ่งจะต้องยื่นแบบ การเสียภาษีภายในสิ้นเดือนก.ย. 2549 แต่ยอมรับถ้าความเห็นของกรมสรรพากร และคตส.ไม่ตรงกันก็อาจจะต้องมีการหารือร่วมกันแน่นอนโดยที่ยังไม่ใช่ตอนนี้เพราะได้รับทราบจากคตส.ว่าการตรวจสอบเรื่องนี้คงจะต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร

ทั้งคตส.และกรมสรรพากรจะมีความเห็นไม่ตรงกัน


"ก็ไม่ถือว่า มีผลต่อการพิจารณาคดีในชั้นศาลภาษีอากรและศาลฎีกา และเวลาขึ้นศาล ก็เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรในฐานะผู้ทำการประเมินภาษี

รวมทั้งก็คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกหนังสือที่กค 0706/7896 ที่นางเบญจา หลุยเจริญ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ในขณะนั้นที่ตอบให้กับหนังสือหารือลงวันที่ 21 กันยายน 2548 ตอบกลับไปว่าไม่มีภาระภาษี

เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ต่างกรรมต่างวาระกัน ประกอบกับกรมสรรพากรก็พบว่ามีข้อมูลใหม่ว่าจะต้องสียภาษีตามมาตราดังกล่าว และที่สำคัญหนังสือตอบความเห็นลักษณะนี้ไม่ผลบังคับใช้ทางกฎหมายด้วย"


ขอขอบคุณ


ข้อมูลที่มีคุณภาพ
จาก หนังสือพิมพ์ผู้จดการ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์