สารพัดโพลเลือกตั้ง ชี้ยิ่งลักษณ์พุ่งแรง! มาร์คพายเรือทวนน้ำ ของจริงหรือปั่นกระแส?

นับจากพระราชกฤษฎีกายุบสภามีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พร้อมกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่วันที่ 3 กรกฎาคม

ถึงวันนี้ ทุกพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ได้ผ่านเวลาหาเสียงกันมาแล้วครึ่งทาง ด้วยบรรยากาศหักเหลี่ยมเฉือนคม เข้มข้น ดุเดือดมากขึ้นทุกขณะ

โดยเฉพาะการห้ำหั่นระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ ที่ชู นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี อีกสมัย

กับ พรรคเพื่อไทย ที่ส่ง ""โคลนนิ่งทักษิณ"" น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงสมัครระบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 เดินหน้าสู่เป้าหมายนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ระหว่างการต่อสู้ทางการเมืองนี้เอง สถาบันทางวิชาการหลายแห่งจัดทำ" "โพล" "สำรวจคะแนนนิยมขึ้นมา มุ่งเน้นไปที่ 2 พรรคใหญ่ และคู่แคนดิเดตนายกฯ

ถึงผลสำรวจโพลจะไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย แต่ก็สะท้อนถึงแนวโน้มได้น่าสนใจไม่น้อย

เริ่มที่ เอแบคโพล ทำการสำรวจภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ ระหว่าง ""อภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์"" ต่อเนื่องถึง 3 ครั้ง ในทุกช่วงเวลา 15 วัน

ผลสำรวจที่ออกมา 3 ครั้ง ชี้ให้เห็นความก้าวหน้าในคะแนนนิยมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในลักษณะ ""ก้าวกระโดด""

ขณะที่ในส่วนของนายอภิสิทธิ์ ถึงจะยังเหนือกว่าเกือบจะทุกด้าน แต่ก็เป็นความเหนือกว่าที่ ""หยุดนิ่ง"" และหลายตัวมีแนวโน้มลดลง

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าฝ่ายนำหรือฝ่ายไล่กวดตามกระชั้นชิด

หากเปิดใจกว้างยอมรับผลสำรวจโพลที่ออกมา ก็จะได้ประโยชน์ในแง่ที่ว่า ได้รู้ว่าอะไรคือ ""จุดอ่อน" "ที่ต้องปรับปรุง และอะไรคือ ""จุดแข็ง" "ต้องรักษาไว้ นั่นคือข้อดีของการทำโพล

แต่อีกด้านหนึ่ง ผลโพลอาจเป็นตัวกระตุ้นให้ฝ่ายที่มีแนวโน้มว่าจะแพ้ ต้องเร่งหา" "ตัวช่วย" "อย่างอื่นมากอบกู้สถานการณ์ให้กลับมา" "เป็นต่อ" "โดยเร็ว

เพื่อไม่ให้เกิดภาวะ ""ซึมยาว" "ไปจนถึงวันเลือกตั้ง



จากการเปิดเผยผลสำรวจเอแบคโพลล์ที่ทำขึ้นระหว่างวันที่ 23-30 เมษายน ต่อภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำด้านต่างๆ ระหว่าง" "อภิสิทธิ์-ยิ่งลักษณ์""

พบว่านายอภิสิทธิ์ ได้รับเสียงโหวตสูงกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ เกือบทุกด้าน ยกเว้นความสำเร็จทางธุรกิจและฐานะร่ำรวย

นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตั้งข้อสังเกตถึงผลสำรวจครั้งนั้นว่า "อาจเป็นเพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่มีโอกาสมากเพียงพอในการแสดงความเป็นผู้นำให้ปรากฏต่อสาธารณชน"

ทั้งนี้ เนื่องจากพรรคเพื่อไทยเพิ่งแถลง ""เปิดตัว" "น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ท้าชิงเก้าอี้นายกฯ ด้วยการลงสมัครปาร์ตี้ลิสต์ อันดับ 1 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม

ต่อมาในการสำรวจครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 16-21 พฤษภาคม ในช่วงเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยจับได้เบอร์ 1 เป็นหมายเลขประจำพรรคในการทำศึกเลือกตั้ง

โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำหน้าที่" "แม่ทัพหญิง" "เคลื่อนทัพหลวงเพื่อไทยออกตระเวนเดินสายหาเสียงอย่างเป็นทางการ

ผลการสำรวจพบว่า ความเป็นผู้นำด้านต่างๆ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีตัวเลขเพิ่มขึ้นในทุกด้านอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ

ยกตัวอย่าง ด้านความอดทนอดกลั้น รู้จักควบคุมอารมณ์ จากร้อยละ 9.7 เป็น 16.2 การได้รับการยอมรับจากในประเทศและต่างประเทศ จาก 11.3 เป็น 17.7

ด้านความเป็นผู้นำ จาก 12.9 มาอยู่ที่ 20.4 ด้านความรู้ความสามารถ จาก 10.9 เพิ่มเป็น 16.7 ด้านจริยธรรมทางการเมือง จาก 11.0 เพิ่มเป็น 16.4 ด้านวิสัยทัศน์ เพิ่มจาก 15.2 มาอยู่ที่ 21.7 ด้านความซื่อสัตย์สุจริต จาก 10.3 เป็น 14.7

ด้านความเป็นคนรุ่นใหม่ จาก 19.6 เป็น 29.3 ความกล้าคิดกล้าตัดสินใจ จาก 19.0 เป็น 25.7 ด้านการแก้ปัญหา (บริหาร) ความขัดแย้ง จาก 14.3 เป็น 19.0 ความรวดเร็วฉับไวในการแก้ปัญหา เพิ่มจาก 15.6 เป็น 21.3 เป็นต้น

ขณะที่ค่าตัวเลขฝั่งของนายอภิสิทธิ์ ถึงยังครองความเหนือกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ก็ลดลงเกือบทุกตัว โดยเฉพาะด้านความเป็นคนรุ่นใหม่ ลดจากร้อยละ 42.8 มาอยู่ที่ 36.0



ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ อธิบายค่าตัวเลขดังกล่าวว่า

ตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้นในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาจากกลุ่มคนที่ไม่มีความเห็นในการสำรวจครั้งแรก และเป็นกลุ่มคนที่เริ่มตัดสินใจหลังจากได้รับข้อมูลข่าวสาร

และมีความชัดเจนของการเปิดตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะคู่ชิงนายกฯ

ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ ออกมาตอบโต้ผลโพลดังกล่าว

""ผมยังงงอยู่ อย่างที่พาดหัวข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ พุ่งแรง ความจริงแล้วชนะผมอยู่ตัวเดียวเหมือนเดิม คือ รวยกว่า นอกนั้นไม่ได้แตกต่างจากรอบแรก""

ดูเหมือนว่าผลโพลที่ออกมา ไม่ได้สร้างความวิตกกังวลให้นายอภิสิทธิ์ ด้วยเหตุที่ว่าตัวเลขเกือบทุกด้านยังนำอยู่ อีกทั้งยังมีคนเกือบครึ่งที่ยังไม่ตัดสินใจ

แต่แล้วผลการสำรวจเอแบคโพลล์ ครั้งที่สาม ระหว่าง 30 พฤษภาคม-4 มิถุนายน ก็ได้ตอกย้ำว่า การที่สื่อพาดหัวข่าว ""ยิ่งลักษณ์พุ่งแรง" "นั้น ไม่ผิดไปจากความจริงแต่อย่างใด

เนื่องจากแนวโน้มฐานสนับสนุนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพิ่มสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งแรกอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติหลายตัว

นายนพดล ยกตัวอย่างเช่น ความอดทนอดกลั้น ควบคุมอารมณ์ จากร้อยละ 9.7 ในครั้งแรก มาอยู่ที่ 31.6 ในครั้งที่สาม ด้านการยอมรับจากในและต่างประเทศ จาก 11.3 เพิ่มเป็น 29.3 ด้านความเป็นผู้นำ จากครั้งแรก 12.9 มาอยู่ที่ 32.5

ด้านจริยธรรมทางการเมือง การมีวิสัยทัศน์ ความมีเสน่ห์น่าเลื่อมใสศรัทธา ล้วนเพิ่มขึ้นแทบทุกด้าน ถึงแม้เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับนายอภิสิทธิ์ จะยังต่ำกว่าหลายตัว

แต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งแรก จะพบว่าตัวเลขที่นายอภิสิทธิ์ได้รับ ค่อนข้าง ""นิ่ง" "และมีแนวโน้ม ""ลดลง"" หลายตัว

นายนพดล ยังชี้ถึงความหมายซ่อนเร้นในผลสำรวจครั้งล่าสุดว่า แนวทางที่จะเพิ่มฐานสนับสนุนต่อนายอภิสิทธิ์ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่น่าได้มาจากการ" "ดีเบต""

แต่น่าจะมาจากการ" "ลงมือทำจริง" "ให้ชาวบ้านเห็น



ไม่ใช่แค่เอแบคโพลล์ที่ชี้ให้เห็นถึงความ ""พุ่งแรง" "ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย

แต่ยังมีโพลอีกหลายสำนักที่สำรวจพบถึงแนวโน้มคล้ายๆ กันนี้

ไม่ว่า" "สวนดุสิตโพล"" ที่จากการสำรวจในส่วนของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ครั้งแรกพบว่าเลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 41.22 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 36.8

ครั้งที่สอง พรรคเพื่อไทยยังคงมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ ในระดับร้อยละ 43.16 ต่อ 37.45

เช่นเดียวกับ" "กรุงเทพโพลล์"" สำรวจความคิดเห็นคนกรุงช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พบพรรคที่ได้คะแนนนิยมมากที่สุด ในระบบบัญชีรายชื่อ คือเพื่อไทย ร้อยละ 25.8 ประชาธิปัตย์ 14.7

ระบบแบ่งเขต เป็นของเพื่อไทยร้อยละ 26.3 เป็นของประชาธิปัตย์ 15.2

ส่วนบุคคลที่อยากได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ร้อยละ 26.9 นายอภิสิทธิ์ ร้อยละ 17.4

ด้าน ""นิด้าโพล"" ครั้งแรก สำรวจต้นเดือนพฤษภาคม พบคะแนนนิยมพรรคเพื่อไทย นำพรรคประชาธิปัตย์อยู่เล็กน้อย แต่ยังมีกลุ่มพลังเงียบ หรือกลุ่มคนที่ยังไม่ตัดสินใจอีกเกือบร้อยละ 50

จนมาชัดเจนในการสำรวจครั้งล่าสุด ระหว่าง 1-2 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบในภาพรวมระบบแบ่งเขต เพื่อไทยมีคะแนนนิยม ร้อยละ 16.50 ส่วนประชาธิปัตย์ ร้อยละ 9.19

ส่วนระบบบัญชีรายชื่อ เพื่อไทย ร้อยละ 16.67 ประชาธิปัตย์ 9.19

การที่ผลสำรวจสารพัดโพลออกมาทิศทางเดียวกันเช่นนี้

ด้านหนึ่ง คือ การฉายให้เห็นถึงกา "ร"จุดติด" "ของกระแสยิ่งลักษณ์ ที่เหมือนการ ""พายเรือตามน้ำ"" ไม่ต้องทำอะไรมากกระแสน้ำก็สามารถพัดพาไปถึงเป้าหมาย

ขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพการ"พายเรือทวนน้ำ"ของนายอภิสิทธิ์ ว่าถ้าหากต้องการเคลื่อนนาวาประชาธิปัตย์ไปข้างหน้า จำเป็นต้องออกแรงพายเหนื่อยหนักเป็นสองเท่า

หรือไม่ก็ต้องหาทาง ""เจาะใต้ท้องเรือ" "ฝ่ายตรงข้ามให้ได้

เหมือนอย่างที่บางคนในแนวร่วมของประชาธิปัตย์พยายามทำอยู่ตอนนี้

ขอบคุณที่มา มติชนออนไลน์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์