เปิดตัวเลขงบ54 รายกระทรวง

การพิจารณางบประมาณของสภาผู้แทนราษฎร วาระ 2-3 ระหว่างวันที่ 18-20 ส.ค.

ถูกวิจารณ์หนาหูเรื่องงบกระจุกตัว ที่สำคัญเป็นเสียงโวยมาจากซีกรัฐบาลด้วยกันเองว่างบท้องถิ่นกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ของพรรคภูมิใจไทย ขณะที่ฝ่ายค้านประกาศจับตางบในส่วนของมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม 

นี่คือ รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 ที่จะนำเข้าสภา เพื่อพิจารณา จำนวน 2,070,000,000,000 บาท แยกเป็นรายกระทรวง ได้ดังนี้ 

งบกลาง ในความควบคุมของกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ จำนวน 265,763,000 บาท เป็นงบสำรองจ่ายในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 47,600,000,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ 13,000,000,000 บาท 

สำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานในกำกับ จำนวน 24,358,812,100 บาท อาทิ งบตามแผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ จำนวน 51,426,200 บาท แผนงานเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3,308,070,000 บาท แผนงานส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครอง จำนวน 641,403,400 บาท 

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 43,200,000 บาท แผนงานป้องกันและแก้ปัญหาการก่อการร้าย และการรักษาผลประโยชน์ของชาติ จำนวน 643,002,600 บาท 

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ จำนวน 25,573,000 บาท แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและการรักษาผลประโยชน์ของชาติ จำนวน 167,767,700 บาท 

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แบ่งเป็น แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 542,066,200 บาท แผนงานรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จำนวน 567,068,900 บาท แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 196,933,300 บาท 

กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานในกำกับ จำนวน 168,501,828,300 บาท แบ่งเป็น กองบัญชาการกองทัพไทย งบค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างกำลังกองทัพ จากที่ตั้งไว้ จำนวน 2,693,795,200 ปรับลดลง จำนวน 56,016,000 บาท 

กองทัพบก ค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างกำลังกองทัพ จำนวน 14,483,322,100 บาท ปรับลดลง 1,488,982,400 บาท โครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 10,900,759,200 บาท ปรับลดลง 1,314,949,000 บาท แบ่งเป็นโครงการที่ผูกพันตามสัญญาแล้ว 16 โครงการ จำนวน 5,551,510,200 บาท และโครงการที่จะเริ่มผูกพันในปีงบประมาณ 54 จำนวน 10 โครงการ จากเดิมที่ตั้งไว้ 4,184,200,000 บาท คงเหลือ 4,124,200,000 บาท 

กองทัพเรือ โครงการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ 841,217,400 บาท ปรับลดลง 67,500,000 บาท คงเหลือ 773,717,400 บาท โครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ผูกพันข้ามปีงบประมาณ เป็นโครงการที่ผูกพันตามสัญญา 8 โครงการ 3,716,098,000 บาท ปรับลดลง 81,767,300 บาท คงเหลือ 3,634,330,700 บาท โครงการที่จะผูกพันเริ่มใหม่ในปีงบประมาณ 54 จำนวน 9 โครงการ 1,569,500,000 บาท ปรับลดลง 156,950,000 บาท คงเหลือ 1,412,550,000 บาท 

กองทัพอากาศ ค่าใช้จ่ายในการเสริมสร้างกำลังกองทัพ 9,168,464,600 บาท ปรับลดลง 163,646,400 บาท คงเหลือ 9,004,818,200 บาท โครงการเสริมสร้างยุทโธปกรณ์ 1,256,464,600 บาท ปรับลดลง 125,646,400 บาท คงเหลือ 1,130,818,200 บาท โครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพผูกพันข้ามปีงบประมาณ 7,912,000,000 บาท ปรับลดลง 38,000,000 บาท คงเหลือ 7,874,000,000 บาท โครงการที่จะผูกพันเริ่มปีงบประมาณใหม่ 2554 จำนวน 4 โครงการ 4,870,000,000 บาท ปรับลดลง 38,000,000 บาท คงเหลือ 4,832,000,000 บาท โดยปี 54 ตั้งงบไว้ 4,832,000,000 บาท ปี 55 ผูกพันงบ 7,955,000,000 บาท ปี 56 ผูกพันงบ 7,014,000,000 บาท และปี 57-58 ผูกพันงบ 4,356,000,000 บาท 

ทั้งนี้ มีการจัดสรรงบตามแผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ งบตามแผนงานรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ งบตามแผนงานเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ และแผนงานแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด ในทุกเหล่าทัพ

กระทรวงการคลัง จำนวน 208,859,905,200 บาท 

กระทรวงการต่างประเทศ 7,469,311,000 บาท อาทิ งบตามแผนงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 6,588,320,100 บาท 

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 7,017,533,100 บาท อาทิ งบตามแผนงานส่งเสริมและพัฒนากีฬาและนันทนาการ 121,617,500 บาท 

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานในกำกับ 9,756,330,300 บาท อาทิ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ 652,631,200 บาท สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ 191,678,600 บาท 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานในกำกับ 73,913,577,3020 บาท แต่ละกรมมีงบตามแผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร งบแผนงานการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

กระทรวงคมนาคม 80,354,002,200 บาท อาทิ กรมทางหลวงชนบท 25,078,270,100 บาท กรมทางหลวง 46,999,518,600 บาท กรมการขนส่งทางบก 2,120,602,400 บาท 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานในกำกับ 222,936,793,000 บาท 

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) 4,400,101,800 บาท อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ 979,418,800 บาท สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) แผนงานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 378,279,800 บาท 

กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานในกำกับ 2,010,448,900 บาท 

กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานในกำกับ 6,899,226,100 บาท 

กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานในกำกับ 230,781,268,600 บาท อาทิ กรมการปกครอง แบ่งเป็นงบตามแผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ 40,330,000 บาท แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2,038,894,400 บาท แผนงานรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 2,866,421,100 บาท แผนงานบริหารจัดการภาครัฐ 29,407,977,800 บาท 

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 160,025,391,100 บาท แผนงานส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครอง 117,123,986,300 บาท กรุงเทพมหานคร 13,679,570,000 บาท เมืองพัทยา 1,395,000,000 บาท 

กระทรวงยุติธรรม 16,823,738,200 บาท อาทิ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) 728,014,000 บาท 

กระทรวงแรงงาน 28,488,568,600 บาท 

กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานในกำกับดูแล 5,119,584,100 บาท 

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานในกำกับดูแล 8,746,704,500 บาท 

กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานในกำกับ 391,131,879,600 บาท ทุกหน่วยงานมีงบตามแผนงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แผนงานสนับสนุนการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี และแผนงานขยายโอกาส และพัฒนาการศึกษา งบอุดหนุนมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่ดูแลจัดการการศึกษา 90 แห่ง 

กระทรวงสาธารณสุข 86,904,510,700 บาท 

กระทรวงอุตสาหกรรม 6,368,392,200 บาท 

ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง 82,575,551,800 บาท อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) 74,190,555,300 บาท งบแผนงานสร้างค่านิยมปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ 53,896,800 บาท แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,683,851,500 บาท แผนงานรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 315,321,200 บาท แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายและการรักษาผลประโยชน์ของชาติ 8,689,607,900 บาท 

หน่วยงานของรัฐสภา 9,592,864,400 บาท 

หน่วยงานศาล 14,448,208,200 บาท 

หน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ 11,403,443,200 บาท อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 1,722,380,700 บาท สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 190,278,500 บาท สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 1,016,859,700 บาท สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 1,647,812,800 บาท 

จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 18,000,000,000 บาท 

รัฐวิสาหกิจ 115,501,489,700 บาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้มากที่สุด จำนวน 57,270,890,000 บาท 

สภากาชาดไทย 3,637,321,700 บาท 

กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน 127,853,543,000 บาท แบ่งเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 228,550,000 บาท กองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 300,000,000 บาท กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 18,000,000,000 บาท กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 1,000,000,000 บาท กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ 23,141,800 บาท กองทุนผู้สูงอายุ 100,000,000 บาท กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 50,000,000 บาท กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 2,499,140,100 บาท กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน 50,000,000 บาท กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา 500,000,000 บาท 

รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ในความควบคุมของกระทรวงการคลัง 30,346,062,400 บาท 



หมายเหตุ: 

รวมการปรับลดตามมติกรรมาธิการวิสามัญ 33,449,343,100 บาท และมีการจัดสรรเพิ่มเติมให้ส่วนราชการตามที่ครม. เสนอตามความเหมาะสมและจำเป็น จำนวน 32,844,484,100 บาท จัดสรรให้หน่วยงานของรัฐสภา ตามมาตรา 168 วรรค 9 อีกจำนวน 604,859,000 บาท

หลังเกลี่ยงบประมาณแล้ว ตัวเลขรวมงบประมาณรายจ่ายเป็น 2,070,000,000,000 บาท เท่ากับงบที่รัฐบาลเสนอไว้ในวาระแรก 

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์