มาร์คสั่งศอฉ.ผุดเว็ปไซด์ โชว์ความโปร่งใส

ครม.ถกเครียดข้อเสนอคอป.จี้รัฐบาลโปร่งใส เลิกใส่ตรวน นปช."มาร์ค"สั่งยธ.แจงสื่อเข้าใจสิทธิผู้ต้องขัง มอบศอฉ.ทำเว็บไซต์ หวังโชว์ความโปร่งใส ดีเอสไอรับนักข่าวนอกตายปัญหาหลักรัฐบาลไทย.....

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ซึ่งมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

ที่ประชุมได้ใช้เวลาพิจารณาเรื่องที่คระกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) รายงานความคืบหน้าและข้อเสนอแนะของ คอป. โดยนายกรัฐมนตรี ได้ซักถามอย่างละเอียดเป็นรายประเด็นทั้ง 5 ข้อ ทั้งนี้ได้เชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงอย่างพร้อมเพรียง ทั้งนายชาติชาย สุทธิกลม อธิบกรมราชทัณฑ์ พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก.นายวิทยา สุริยวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ คอป.เป็นต้น โดยในข้อที่ 1 .ข้อเสนอว่าครม.ควรสั่งการและกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย ให้ใช้กลไกตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตามปกติ ควรใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เท่าที่จำเป็น เพื่อแสดงความจริงใจของรัฐบาลนั้น นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ติดใจซักถาม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนข้อ 2 .ควรปฏิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหา โดยคำนึงถึงสิทธิพื้นฐาน ลดการปฏิบัติที่กระทบ สิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะการใส่โซ่ตรวน แกนนำ นปช.นายกรัฐมนตรีได้ซักถามว่า ปกติมีหลักเกณฑ์ปฏิบัติอย่างไร และการที่มีภาพข่าวออกมาจริงๆถือว่าถูกต้องหรือไม่ และในกรณีของนายก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช.ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทำไมจึงไม่ใส่โซ่ตรวน ถ้าไม่ใส่ตรวนจะได้หรือไม่ ซึ่งอธิบกรมราชทัณฑ์ชี้แจงว่า ในประเทศที่เจริญแล้วทั่วไป เช่น สิงคโปร์ก็มีการใส่ตรวน เพียงแต่อาจมีเสื้อแขนยาว แต่ของไทยเป็นชุดเสื้อแขนสั้นเลยมองเห็นได้ และที่มีภาพข่าวปรากฎตามหน้าสื่อออกมาก็มีกฎระเบียบอยู่ไม่สามารถทำได้ แต่การทำงานข่าวของสื่อมวลชนไทยก็มีกจะมีการถ่ายภาพกันอย่างนี้

อธิบกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงอีกว่า กรณีของนายก่อแก้ว นั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้ตัดสินใจกันนานมากว่าจะให้ใส่ตรวน หรือไม่ เพราะเกรงจะหลบหนี

ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ที่สุดก็ไม่ใส่ตรวนแต่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ประกบ 15 นาย ไม่รวมเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบอีกจำนวนมาก การใส่ตรวนปกติจะเลี่ยงจะใช้เฉพาะผู้ต้องขังอายุไม่เกิน 60 ปี และใส่เฉพาะตอนเดินทางออกจากเรือนจำเท่านั้น ที่ต้องใส่เพราะเกรงปัญหา ความปลอดภัย และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตลอดนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาเข้มข้นตอนนี้ แต่สังคมไม่ได้โฟกัสไป นายกรัฐมนตรี จึงสั่งการให้ รมว.ยุติธรรม ไปชี้แจงต่อสื่อมวลชนให้ทราบถึงสิทธิมนุษยชน และสิทธิของผู้ต้องขังต้องให้ระมัดระวังส่วนนี้ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อ 3.เรื่องการสร้างความเป็นกลางและความน่าเชื่อถือ การลดการแถลงข่าว

และการสอบสวนต้องเริ่มด้วยการรวบรวมพยานหลักฐาน ไม่ใช่เริ่มที่การเรียกหรือการขอให้ศาลออกหมายจับ นายกรัฐมนตรี ได้ถาม พ.ต.อ.ณรัชต์ ซึ่งได้ตอบยืนยันว่าปกติการแถลงข่าวของดีเอสไอจะยึดหลักการคุ้มครองเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วไม่นำผู้ต้องหามาเปิดเผยตัว ไม่มีลักษณะการนำมาประจาน ยกเว้นในกรณีเหตุระเบิดถ้าพูดชื่อเฉยๆ จะถูกกล่าวหาว่ามั่วหรือจับแพะอีก ส่วนเรื่องการสอบสวนพยานหลักฐานการออกหมายจับทาง ศอฉ.จะส่งข้อมูลมาที่กอง ปราบปรามรวบรวมข้อมูลส่งศาลพิจาณราออกมาหมายจับ ไม่ใช่ตั้งข้อหามั่ว ๆ ข้อ 4.การเปิดเผยข้อมูลผู้เสียชีวิต และผู้ถูกจับกุมคุมขัง นายกรัฐมนตรี สอบถามว่า รวบรวมเอาไว้ท่หน่วยไหน จะให้หน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบข้อมูลทั้งหมด โดยมอบให้ศอฉ.เป็นผู้รวบรวมข้อมูลและจัดทำเป็นเว็ปไซด์ให้ละเอียด และอยากให้เผยแพร่ข้อมูลให้ละเอียดว่าใครถูกจับกุมคุมขังที่ใด เพื่อให้โปร่งใสและเป็นธรรมที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ข้อสุดท้ายนายกรัฐมนตรี ได้สอบถามกรณีที่ญาติผู้สื่อข่าวต่างประเทศ 2 คน ที่มาติดตามเรื่องแต่ถูกดีเอสไอดองเรื่อง ทางดีเอสไอรายงานว่า

กรณีญาตินักข่าวญี่ปุ่นมาติดต่อดีเอสถึง 4ครั้ง แต่ญาติ ๆ ไม่ได้ติดใจรู้ว่านักข่าวมีความเสี่ยงสูงต่อการตายหรือบาดเจ็บอยู่แล้ว แต่ยังติดใจว่าใครเป็นคนยิง ใครก่อเหตุ ซึ่งดีเอสไอยันยันไม่ช่การตายคนเดียวแต่ตายพร้อมกับเจ้าหน้าที่และประชาชน อีกมากมายจากเหตุการณ์ครั้งนี้ แต่การพิสูจน์หลักฐานการตาย ไม่ได้พิสูจน์ในที่เกิดเหตุที่นอนตาย แต่ถูกดึงมาที่โรงพยาบาล จึงลำบากที่สุดจะพิสูจน์ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งการตายของนักข่าวญี่ปุ่น 2 คนนี้จะเป็นปัญหาหนักของประเทศไทยที่จะต้องชี้แจง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า มีคนเอาเรื่องการตายของนักข่าวต่างประเทศ 2 คนนี้ไปขยายผลในต่างประเทศด้วย.


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์