นายกฯระบุจะใช้เวลา เป็นรัฐบาลให้น้อยที่สุด

นายกฯไม่ระบุชัดจะเป็นรัฐบาลนานเท่าไหร่


แต่จะพยายามใช้เวลาน้อยที่สุด เพราะไม่อยากแบกรับภาระนาน เตรียมระดมความคิด 3 เรื่อง แก้ รธน.-ปรับกระบวนการยุติธรรม- เน้นคุณธรรมนำการศึกษา

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมประชุมโครงการ สานใจไทยสู่ใจใต้ รุ่นที่ 4


กับคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย นายบัญญัติ จันเสนะ รมช.มหาดไทย นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ อดีตปลัดกระทรวงหมดไทย และในช่วงเที่ยง ได้ร่วมรับประทานอาหาร ยกเว้น พล.อ.สนธิ ที่เดินทางกลับไปก่อน


พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวถึงความชัดเจนในเรื่องของระยะเวลาการทำงานของรัฐบาล


ซึ่งก่อนหน้านี้นายธีรภัทร เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า รัฐบาลจะใช้เวลา 1 ปี 5 เดือนว่า การยืนยันที่แน่นอนนั้น ตนขอบอกว่าจะพยามยามทำให้เร็วที่สุด เท่าที่สามารถทำได้

นายกรัฐมนตรี กล่าว


ผมไม่อยากที่จะแบกรับหน้าที่นี้ เพราะตั้งแต่ท่าน ผบ.ทบ.มาคุยกับผม ก็ขอพูดตรงๆ ในที่นี้ว่า ผมไม่อยากแบกรับไว้เกินกว่าความจำเป็น คือจะทำให้เร็วที่สุด ต้องการที่จะมีรัฐบาลใหม่ ที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน ถือเป็นสิ่งที่ตัวผมเองก็ต้องการเช่นกัน

ผมต้องการเห็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เข้ามาบริหารประเทศอย่างถูกต้อง

ก็เป็นสิ่งที่ผมหวัง และอยากเห็นรัฐบาลที่ดี ที่จะสานงานที่รัฐบาลชั่วคราวนี้วางแนวทางไว้ แล้วก้าวต่อไปข้างหน้า แนวคิดของผมไม่มีอะไรมาก คือเอาบทเรียนจากในอดีตมาแก้ไข เพื่อสร้างปัจจุบันให้ดีขึ้น และมีอนาคตที่ดียิ่งขึ้นไปกว่านั้น ผมมีง่ายๆแค่นี้เอง

ผู้สื่อข่าวถามว่า โอกาสที่รัฐบาลจะใช้เวลาบริหารประเทศเกินกว่า 1 ปี มีมากหรือไม่


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะพยายามให้น้อยที่สุด แต่เรื่องเวลานั้น ไม่แน่ใจ เพียงแต่ขอยืนยัน ณ ที่นี้ซึ่งไม่ใช่มีแค่สื่อมวลชน ขอยืนยันกับทุกคนที่มาร่วมโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้ ต่อหน้า ผบ.ทบ. ว่าตนจะพยายามทำให้สั้นที่สุดเท่าที่จะสั้นได้


ต่อข้อถามว่า เหตุผลในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งคงต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี คิดว่าเหมาะสมหรือไม่


พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ได้กำหนดหัวข้อ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น 3 หัวข้อใหญ่ คือ


1. เรื่องของรัฐธรรมนูญ ประชาชนอยากจะได้แบบสั้นหรือยาว

อยากได้แก้ง่ายหรือแก้ยาก จึงอยากฝากไปถึงประชาชนทุกคน ว่าหากอยากได้รัฐธรรมนูญแบบไหนช่วงนี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่เราต้องการความคิดเห็นจากประชาชน มากกว่าจะมาถามว่าอยากให้เป็นอย่างไร อยากฟังความคิดเห็นจากประชาชน


2. เรื่องของกระบวนการยุติธรรม

ประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร หรือต้องการปรับแก้ในกระบวนการยุติธรรม เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง ปัญหา


3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มันเกี่ยงข้องกับเรื่องความไม่เป็นธรรมในสังคม

ค่อนข้างมาก จำเป็นต้องช่วยกันปรับแก้ 3. เรื่องคุณธรรมนำการศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาวนานและยาก


นายกรัฐมนตรี กล่าว


คุณหญิงกษมา วรวรรณ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และทุกคนเข้าใจดีว่า เป็นเรื่องที่ยาวแลต้องการฟังความคิดเห็นของประชาชน ว่าจะช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร เพราะบ้านเรามีหลายศาสนา

จำเป็นจะต้องนำเอาคุณธรรมเข้ามาสู่ระบบการศึกษา

ผมอยากฟัง และรวบรวมความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งอาจทำมาเป็นลักษณะของเอกสาร การวิจัย หรือการจัดสัมมนา รัฐบาลเปิดโอกาสให้สามารถดำเนินการได้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเหล่านี้ ยิ่งได้เร็วที่ไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้การทำงานของผมลุล่วงไปได้เร็วมากเท่านั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนว่า จะให้ผมไปเร็วๆ ท่านก็ต้องช่วยผม

ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มกันชุมนุมได้ จะมีการยกเลิกประกาศฉบับที่ 7 ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้เมื่อไหร่


พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า อยู่ในขั้นตอน และคงจะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งทางคปค.และคมช.คงไม่มีปัญหา เพราะเราได้หารือกันแล้ว ซึ่งการดำเนินการคงต้องรอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเปิด ซึ่งในวันที่ 20 ต.ค.นี้ จะมีการเปิดสภา โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช จะเป็นผู้แทนพระองค์ หลังจากนั้นเราก็คงจะดำเนินการได้เร็ว


ด้านพล.อ.สนธิ กล่าวเพียงสั้นๆว่า


การยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ที่จะตัดสินใจ ซึ่งขั้นตอนก็คงต้องรอสภานิติบัญญัติฯ เปิดก่อน



แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์