โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 242คนดัง นั่งสภานิติบัญญัติ

ลูกป๋า-พันธมิตรฯตบเท้า "เติ้ง"ชม-ทรท.จวกโบนัส มีชัย-ชัยอนันต์เต็งนั่งปธ.


โปรดเกล้าฯแล้ว 242 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เผยยังตั้งไม่ครบจำนวนที่รธน.ชั่วคราวกำหนดไว้ไม่เกิน 250 คน ลูกป๋า-เครือข่ายพันธมิตรฯ-ทหารมากันพรึบ ขณะที่ตัวแทนพรรคการเมืองได้แค่พรรคละคน ดารารุ่นเก๋า"สมบัติ เมทะนี"มีชื่อด้วย เผยตัวเก็งประธานสภา "มีชัย ฤชุพันธุ์-ชัยอนันต์ สมุทวณิช" สุรพล นิติไกรพจน์ ปฏิเสธไม่ขอรับตำแหน่งประธาน "บิ๊กสงค์"มีชื่อโผล่ชิงด้วย เลขาธิการครม.ทูลเกล้าฯแล้วพ.ร.ฎ.เปิดสภา คาดวันที่ 18-20 ต.ค.นี้ ด้าน"สุรยุทธ์"เปิดทำเนียบชี้แจงทูตนานาประเทศสาเหตุปฏิวัติ ยืนยันจะบริหารประเทศด้วยความโปร่งใส สานต่อนโยบายต่างประเทศที่รัฐบาลเก่าทำไว้ สหรัฐ-อียูยังจี้ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก เตรียมลงพื้นที่ 2 จังหวัดอีสานวันนี้ ประเดิม"สกลนคร-บุรีรัมย์" พบปะผู้นำชุมชน

โปรดเกล้าฯตั้งสภานิติบัญญัติ

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จำนวน 242 คน จากจำนวน 250 คน โดยมีบุคคลสำคัญจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมด้วย แยกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.ตัวแทนจากภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนระดับ 11 จำนวน 17 คน ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ จำนวน 12 คน ข้าราชการทหาร 35 คน ข้าราชการตำรวจ 7 คน ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 8 คน

2.ตัวแทนจากภาคเอกชน ประกอบด้วยภาคธุรกิจ ธนาคาร และสถาบันการเงิน 6 คน ภาคธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ 19 คน ภาคธุรกิจทั่วไป 11 คน ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ 7 คน 3.ตัวแทนจากภาคสังคม ประกอบด้วยพรรคการเมือง 4 คน นักวิชาการด้านปรัชญา ภาษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม 11 คน สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน 20 คน ข้าราชการบำนาญผู้มีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ 43 คน การพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ 13 คน 4.ตัวแทนจากภาควิชาการ ประกอบด้วยอธิการบดี อาจารย์ นักการศึกษา นักวิจัย นักวิชาการด้านต่าง ๆ และจากภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 29 คน

ตัวแทนภาคราชการแน่นเอี้ยด

อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งนี้ที่มีจำนวนไม่ครบ 250 คน ทางพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ให้เหตุผลในบันทึกรายละเอียดแนบท้ายการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า เนื่องจากในมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกิน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี โดยสภานิติบัญญัติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา นอกจากนี้ทางประธานคมช.ยังให้เหตุผลในข้อ 3 ของบันทึกรายละเอียดด้วยว่าสำหรับบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ไม่ได้รับการสรรหาในคราวนี้จะได้พิจารณาเสนอรายชื่อเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติต่อไป

สำหรับตัวแทนข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือเทียบเท่า อาทิ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา นายการุณ กิตติสถาพร นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา พล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล เป็นต้น

ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการอัยการ อาทิ นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ข้าราชการทหาร อาทิ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ พล.อ.องค์กร ทองประสม เป็นต้น

ข้าราชการตำรวจ อาทิ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทรังษี พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นต้น

ตัวแทนพรรคการเมืองแค่ 4 คน

ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ อาทิ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ นายภราเดช พยัฆวิเชียร

ส่วนตัวแทนภาคเอกชน ในส่วนที่มาจากธุรกิจธนาคาร และสถาบันการเงิน อาทิ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม นายชาติศิริ โสภณพนิช ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ อาทิ นายวีรพงษ์ รามางกูร นายวัชระ พรรณเชษฐ์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ธุรกิจทั่วไป อาทิ นายชัชวาล อภิบาลศรี นายณรงค์ชัย อัครเศรณี

ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ อาทิ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายประพันธ์ คูณมี นายไพศาล พืชมงคล

ตัวแทนภาคสังคม ในส่วนพรรคการเมือง ประกอบด้วยตัวแทนจาก 4 พรรคการเมืองใหญ่ ประกอบด้วย นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา พรรคชาติไทย นายพินิจ จารุสมบัติ พรรคไทยรักไทย นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ และนายอรรคพล สรสุชาติ พรรคมหาชน

นักวิชาการด้านปรัชญา ศาสนา ภาษา และศิลปวัฒนธรรม อาทิ นายอิสมาแอล ลุทฟี จะปะกียา นายเสฐียรพงษ์ วรรณปก นายวินัย สะมิอุน นายแว ดือ ราแม มะมิงจิ

"สมบัติ เมทะนี"ติดโผ-กลุ่มศิลปิน


ตัวแทนสื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน อาทิ นายกำแหง ภริตานนท์ นางบัญญัติ ทัศนียะเวช นายประสาร มาลีนนท์ นายพิชัย วาศนาส่ง นายภัทระ คำพิทักษ์ นายสมเกียรติ อ่อนวิมล นายสมบัติ เมทะนี นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ นายสราวุธ วัชรพล นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์

ข้าราชการบำนาญ อาทิ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นายวิทย์ รายนานนท์ นายวิทยา เวชชาชีวะ พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ พล.อ.อู้ด เบื้องบน เป็นต้น

การพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ อาทิ นายโคทม อารียา นางเตือนใจ ดีเทศน์ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นต้น

ตัวแทนจากภาควิชาการ ประกอบด้วยอธิการบดี อาจารย์ นักการศึกษา นักวิจัย นักวิชาการด้านต่าง ๆ และจากภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายรังสรรค์ แสงสุข นายวิษณุ เครืองาม นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ นายสุจิต บุญบงการ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายสุรพล นิติไกรพจน์ นายสุริชัย หวันแก้ว นายอัมมาร สยามวาลา เป็นต้น

เครือข่ายลูกป๋า-ม็อบพันธมิตรด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งนี้ มีบุคคลที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษหลายคน ทั้งในวงการทหารและอดีตข้าราชการ อาทิ พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษและเลขานุการส่วนตัว พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย พล.อ.อู้ด เบื้องบน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.ประเจตน์ ศิริเดช อดีต ผบ.ทร. พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง พล.อ.ปรีชา โรจนเสน อดีต รองผบ.สส. พล.อ.สนั่น มะเริงสิทธิ์ นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ยังมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับม็อบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติหลายคน เช่น นายวุฒิพงศ์ เพรียบจริยวัฒน์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นายสำราญ รอดเพชร นายคำนูญ สิทธิสมาน ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายประพันธ์ คูณมี นายไพศาล พืชมงคล

โปรดเกล้าฯตั้งสภานิติบัญญัติ

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 จำนวน 242 คน จากจำนวน 250 คน โดยมีบุคคลสำคัญจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมด้วย แยกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1.ตัวแทนจากภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนระดับ 11 จำนวน 17 คน ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ จำนวน 12 คน ข้าราชการทหาร 35 คน ข้าราชการตำรวจ 7 คน ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 8 คน

2.ตัวแทนจากภาคเอกชน ประกอบด้วยภาคธุรกิจ ธนาคาร และสถาบันการเงิน 6 คน ภาคธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ 19 คน ภาคธุรกิจทั่วไป 11 คน ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ 7 คน 3.ตัวแทนจากภาคสังคม ประกอบด้วยพรรคการเมือง 4 คน นักวิชาการด้านปรัชญา ภาษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม 11 คน สื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน 20 คน ข้าราชการบำนาญผู้มีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ 43 คน การพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ 13 คน 4.ตัวแทนจากภาควิชาการ ประกอบด้วยอธิการบดี อาจารย์ นักการศึกษา นักวิจัย นักวิชาการด้านต่าง ๆ และจากภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 29 คน

ตัวแทนภาคราชการแน่นเอี้ยด

อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งนี้ที่มีจำนวนไม่ครบ 250 คน ทางพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ให้เหตุผลในบันทึกรายละเอียดแนบท้ายการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า เนื่องจากในมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกิน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี โดยสภานิติบัญญัติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา นอกจากนี้ทางประธานคมช.ยังให้เหตุผลในข้อ 3 ของบันทึกรายละเอียดด้วยว่าสำหรับบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ไม่ได้รับการสรรหาในคราวนี้จะได้พิจารณาเสนอรายชื่อเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติต่อไป

สำหรับตัวแทนข้าราชการพลเรือนระดับ 11 หรือเทียบเท่า อาทิ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา นายการุณ กิตติสถาพร นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา พล.อ.ไวพจน์ ศรีนวล เป็นต้น

ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการตุลาการ และข้าราชการอัยการ อาทิ นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ข้าราชการทหาร อาทิ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน พล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ พล.อ.องค์กร ทองประสม เป็นต้น

ข้าราชการตำรวจ อาทิ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ พล.ต.ท.วิโรจน์ จันทรังษี พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นต้น

ตัวแทนพรรคการเมืองแค่ 4 คน


ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ อาทิ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ นายภราเดช พยัฆวิเชียร

ส่วนตัวแทนภาคเอกชน ในส่วนที่มาจากธุรกิจธนาคาร และสถาบันการเงิน อาทิ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม นายชาติศิริ โสภณพนิช ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง ก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ อาทิ นายวีรพงษ์ รามางกูร นายวัชระ พรรณเชษฐ์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ธุรกิจทั่วไป อาทิ นายชัชวาล อภิบาลศรี นายณรงค์ชัย อัครเศรณี

ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายความ อาทิ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ นายประพันธ์ คูณมี นายไพศาล พืชมงคล

ตัวแทนภาคสังคม ในส่วนพรรคการเมือง ประกอบด้วยตัวแทนจาก 4 พรรคการเมืองใหญ่ ประกอบด้วย นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา พรรคชาติไทย นายพินิจ จารุสมบัติ พรรคไทยรักไทย นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ และนายอรรคพล สรสุชาติ พรรคมหาชน

นักวิชาการด้านปรัชญา ศาสนา ภาษา และศิลปวัฒนธรรม อาทิ นายอิสมาแอล ลุทฟี จะปะกียา นายเสฐียรพงษ์ วรรณปก นายวินัย สะมิอุน นายแว ดือ ราแม มะมิงจิ

"สมบัติ เมทะนี"ติดโผ-กลุ่มศิลปิน

ตัวแทนสื่อสารมวลชน นักเขียน ศิลปิน อาทิ นายกำแหง ภริตานนท์ นางบัญญัติ ทัศนียะเวช นายประสาร มาลีนนท์ นายพิชัย วาศนาส่ง นายภัทระ คำพิทักษ์ นายสมเกียรติ อ่อนวิมล นายสมบัติ เมทะนี นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ นายสราวุธ วัชรพล นางสุรางค์ เปรมปรีดิ์

ข้าราชการบำนาญ อาทิ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นายวิทย์ รายนานนท์ นายวิทยา เวชชาชีวะ พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ พล.อ.อู้ด เบื้องบน เป็นต้น

การพัฒนาท้องถิ่น การส่งเสริมคุณธรรม องค์กรแรงงาน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ อาทิ นายโคทม อารียา นางเตือนใจ ดีเทศน์ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายโสภณ สุภาพงษ์ เป็นต้น

ตัวแทนจากภาควิชาการ ประกอบด้วยอธิการบดี อาจารย์ นักการศึกษา นักวิจัย นักวิชาการด้านต่าง ๆ และจากภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ นายรังสรรค์ แสงสุข นายวิษณุ เครืองาม นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ นายสุจิต บุญบงการ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายสุรพล นิติไกรพจน์ นายสุริชัย หวันแก้ว นายอัมมาร สยามวาลา เป็นต้น

เครือข่ายลูกป๋า-ม็อบพันธมิตรด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งนี้ มีบุคคลที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษหลายคน ทั้งในวงการทหารและอดีตข้าราชการ อาทิ พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษและเลขานุการส่วนตัว พล.อ.ปานเทพ ภูวนารถนุรักษ์ พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย พล.อ.อู้ด เบื้องบน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.อ.ประเจตน์ ศิริเดช อดีต ผบ.ทร. พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง พล.อ.ปรีชา โรจนเสน อดีต รองผบ.สส. พล.อ.สนั่น มะเริงสิทธิ์ นายชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ยังมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับม็อบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติหลายคน เช่น นายวุฒิพงศ์ เพรียบจริยวัฒน์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นายสำราญ รอดเพชร นายคำนูญ สิทธิสมาน ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายประพันธ์ คูณมี นายไพศาล พืชมงคล
แจงทูต- พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกฯ เชิญคณะทูตานุทูตทุกประเทศ เข้ารับฟังการชี้แจงสถานการณ์ภายในประเทศไทย หลังจากมีรัฐบาลชุดใหม่ โดยยืนยันพร้อมสานต่อความสัมพันธ์ตามที่รัฐบาลเดิมดำเนินการไว้ ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 12 ต.ค.

ทูลเกล้าฯพรฎ.เปิดสภา18-20ต.ค.

เมื่อเวลา 14.15 น. ที่รัฐสภา นายรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการครม. และรักษาการปลัดสำนักนายกฯ ได้มารายงานตัวเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และให้สัมภาษณ์ว่า ช่วงเช้าได้ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาเปิดสมัยประชุมสภานิติบัญญัติฯไปยังสำนักราชเลขาธิการ โดยกำหนดวันระหว่างวันที่ 18-20 ต.ค. ซึ่งทางสำนักราชเลขาธิการแนะนำกลับมาว่า ให้ประสานกับรัฐบาลเป็นผู้กำหนดวันเอง ซึ่งขั้นตอนการเปิดประชุมต้องเป็นรัฐพิธีใหญ่ เมื่อมีพ.ร.ฎ.เปิดสมัยประชุมแล้ว วาระแรกของการประชุมคือเลือกตำแหน่งประธานและรองประธานสภาฯ ทั้งนี้โดยจารีตประเพณีปฏิบัติจะให้ผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดทำหน้าที่ประธานการประชุมเพื่อเลือกบุคคลทำหน้าที่ประธาน

นายรองพลกล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าผู้เป็นประธานต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เนื่องจากช่วงเวลาเร่งด่วน 1 ปี ต้องดูแลเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญและกฎเกณฑ์ต่างๆอีกมาก ทั้งนี้ไม่รู้สึกหนักใจที่ต้องเข้ามาทำหน้าที่นี้ เพราะได้ทำตามกรอบกฎหมายแนวทางที่ถูกต้องมาโดยตลอด อีกทั้งยึดหลักความเป็นธรรมและยุติธรรม ส่วนกระแสสังคมที่คัดค้านสมาชิกสภานิติบัญญัติฯบางคนที่ถูกมองว่า เป็นคนของกลุ่มอำนาจเก่า ไม่ทราบว่าใครไปทำอะไรไว้บ้าง แต่ส่วนตัวตนไม่มีปัญหา ทุกอย่างปฏิบัติตามกรอบกฎหมายเป็นหลัก

ประธานคมช.ยันไม่ยุ่งเลือกปธ.

ที่พล.ม.2 รอ. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ในฐานะประธานคมช.กล่าวถึงการคัดเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า เป็นหน้าที่ของสภานิติบัญญัติจะพิจารณากันเอง จะเข้าไปรบกวนตามขบวนการที่กำหนดคงไม่ได้ ส่วนการคัดเลือก และสรรหาสมาชิกสภาฯเราใช้คณะกรรมการพิจารณา โดยมีทีมที่ปรึกษาทุกกลุ่ม เมื่อคัดเลือกแล้วเราจะนำมาเป็นข้อพิจารณาในขั้นตอนต่อไป หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลไม่ได้ดูหลักเกณฑ์อะไรมากมาย แต่ดูที่พื้นฐานความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จาก 4 กลุ่ม คือ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน และนักวิชาการ มาเป็นตัวตั้ง แล้วนำเข้าคณะกรรมการและมีที่ปรึกษาร่วมกันพิจารณาอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า คาดหวังกับการทำงานของสภาฯในการพิจารณาร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า การทำหน้าที่ของสภาฯคล้ายกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ที่มีหน้าที่ในการดูแลว่ารัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่จะออกมาในรูปแบบไหน คิดว่าประชาชนทุกคนคงคิดเหมือนกันว่ารัฐธรรมนูญที่ผ่านมานั้นมีข้อดีข้อเสีย แต่เชื่อว่าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทางสมาชิกสภาฯคงมีจิตสำนึกมาช่วยกันแก้ปัญหา ส่วนคมช.มีหน้าที่ดูแลให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง

ตัวแทนองค์กรสื่อพร้อมตรวจสอบ


ด้านนายภัทระ คำพิทักษ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาชิกสภาฯ องค์กรสื่อประชุมกันและมีความกังวลว่า จะไม่มีใครเป็นหูเป็นตาหากมีการเสนอร่างกฎหมายที่ไม่เหมาะสมเข้ามายังสภาฯ จึงเสนอชื่อนางบัญญัติ ทัศนียะเวช นายสมชาย แสวงการ และตนให้คมช.พิจารณา คิดว่าน่าจะมีตัวแทนสื่อเข้ามาสักหนึ่งคน แต่คมช.ก็เสนอชื่อโปรดเกล้าฯทั้ง 3 คน แสดงว่าคมช.ให้ความสำคัญกับสื่อพอสมควร ทั้งนี้ขอยืนยันว่า ไม่ได้เข้าไปเป็นสภาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสื่ออย่างเดียว แต่เราจะทำหน้าที่ตัวแทนของภาคอื่น จะทำหน้าที่รับฟังความเห็นจากสาธารณชน เพื่อนำมาสะท้อนในการทำงานและผลักดันให้มีรัฐธรรมนูญที่โปร่งใสต่อเนื่อง ให้ช่วงที่เปลี่ยนผ่านเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง ขณะเดียวกันองค์กรสื่อยังจะทำหน้าที่ตรวจสอบและเสนอข้อเท็จจริงตามปกติ ยิ่งสถานการณ์ขณะนี้ยิ่งต้องทำหน้าที่ให้เข้มข้นมากขึ้น

"บวรศักดิ์"ขอใช้เวลาพิสูจน์

วันเดียวกัน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตเลขาธิการครม.ให้สัมภาษณ์ว่าต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดหน้าที่คือหัวใจสำคัญ เป็นข้าราชการประจำก็ต้องทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด เมื่อลาออกจากข้าราชการประจำ และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติฯก็จะทำหน้าที่ในการพิจารณากฎหมายให้ดีที่สุดด้วยความรู้ ความสามารถ ความซื่อสัตย์สุจริต โดยยึดความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ

ผู้สื่อข่าวถามว่า การเข้ามาเป็นสมาชิกสภาฯที่แต่งตั้งโดยคมช.อาจถูกมองว่า เข้ามารับใช้คณะผู้ปฏิวัติรัฐประหาร ขณะเดียวกันก็จะถูกกระแสต่อต้านว่าเคยทำงานรับใช้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯมาก่อนจะทำให้การทำงานยากลำบากหรือไม่ นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ข้อสงสัยตรงนี้ก็น่ารับฟัง แต่ควรให้โอกาสคนพิสูจน์ด้วยการกระทำเพราะการกระทำสำคัญกว่าคำพูด คำว่าระบอบทักษิณก็แปลกใจว่าตนเป็นข้าราชการประจำ แต่ได้ลาออกก่อนแล้วในระยะเวลาที่นานพอสมควร ตามคำเรียกร้องทั้งที่ยังมีอายุราชการเหลืออีก 9 ปี ที่ต้องกลายมาเป็นคนตกงานเช่นนี้ ถ้าเป็นท่านจะยอมทำเช่นนี้หรือไม่ เหตุใดจึงไม่ให้โอกาสกันเลย ยังคงด่าทอจองเวรกันไปถึงไหน ไหนบอกว่าจะสมานฉันท์ ถ้าเป็นเช่นนี้ข้าราชการประจำคนอื่นๆที่ทำหน้าที่อยู่ หากจะต้องทำหน้าที่ใหม่ก็ไม่ต้องถูกตราหน้าเช่นเดียวกันหรือ ควรจะให้การกระทำเป็นเครื่องพิสูจน์จะดีกว่าคำพูด

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้เคยระบุว่าจะขอถอนตัว ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการช่วยงานคปค. นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ได้ตอบไปแล้วว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เว้นแต่จะกระทำในฐานะนักวิชาการที่จะให้ความคิดเห็น ซึ่งการเป็นสมาชิกสภาฯ มีการต้องห้ามชัดเจนเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติห้ามเข้ามาเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องไปห่วงว่าจะไปเกี่ยวข้องยุ่งกับการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผิดคำพูดแน่

"เติ้ง"ปลื้ม-คล้ายตั้งส.ว.ปี2539

เมื่อเวลา 13.30 น. ที่จ.ปทุมธานี นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ให้สัมภาษณ์ถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ดูรายชื่อแล้วใช้ได้คล้ายกับสมัยที่ตนเป็นนายกฯ ที่ได้ตั้งส.ว.มา 260 คนในปี 2539 โดยตั้งมาจากหลากหลายอาชีพครบถ้วน สภาชุดนี้คิดว่าน่าจะเป็นชุดที่ดีที่สุด แต่มีหน้าที่เข้ามาดูแลกฎหมายเพียงอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ เชื่อว่าไม่มีปัญหาและขอชื่นชมว่าแต่งตั้งได้ดีมาก ส่วนที่น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา บุตรสาวมีรายชื่ออยู่ด้วย เชื่อว่าผู้ตั้งคงหยิบชื่อมาจากแต่ละกลุ่มอาชีพ จากพรรคการเมืองก็มีอยู่ 4 คน แต่ยอมรับไม่ทราบมาก่อนล่วงหน้าจึงรู้สึกแปลกใจ แต่พรรคชาติไทยก็จะฝากให้น.ส.กัญจนาไปดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคม เพราะถนัด รวมถึงเรื่องความปรองดองสมานฉันท์ โดยดูตามนโยบายของนายกฯ ที่ได้กล่าวไว้คือความโปร่งใส และเป็นธรรม

นายสมเกียรติ อ่อนวิมล อดีตส.ว.สุพรรณบุรี สมาชิกสภาฯ เปิดเผยว่า หากสังเกตจากรายชื่อทั้ง 242 คน ให้ดีจะมีการแบ่งสัดส่วนกลุ่มนักการเมือง โดยเฉพาะที่มาจากจ.สุพรรณบุรี มีตัวแทน 2 คน คือ น.ส.กัญจนา และนายทรงพล ทิมาศาสตร์ ผวจ.สุพรรณบุรี ซึ่งคุ้นเคยกับนายบรรหาร ไม่ทราบว่านายบรรหารไปล็อบบี้ให้คนของตัวเองเข้ามาหรือไม่

มหาชนหนุน"สุรพล นิติไกรพจน์"

ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคเป็น 1 ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ถือว่านายสุรินทร์เป็นคนที่มีประสบการณ์ทางการเมือง อยู่แวดวงการเมืองมากว่า 20 ปี เคยเป็นรัฐมนตรีหลายสมัย และเป็นคนกว้างขวางในทางสากล จึงมีโอกาสให้ความเห็น สามารถทำความเข้าใจกับต่างประเทศได้ ในฐานะตัวแทนของสภาฯ จึงคิดว่าเหมาะสม ส่วนจะทาบทามโดยตรง หรือผ่านใครในพรรคไม่ทราบ แต่คิดว่าคมช.คงดูความเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศ

นายอรรคพล สรสุชาติ รองหัวหน้าพรรคมหาชน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ภาพรวมของสภาฯ ถือว่ามีความหลากหลายค่อนข้างครบถ้วน แต่ไม่อยากวิจารณ์ในแง่ตัวบุคคล เพราะอยากให้ทุกคนสำนึกว่าเป็นตัวแทนของประชาชน ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยเป็นสภาที่เปิดกว้างรับฟังเสียงจากประชาชน ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทั้งนี้งานหลักๆ คือการดูแลเรื่องกฎหมาย ต้องทำหน้าที่เป็นทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และเรื่องที่สำคัญที่สุด คือการสร้างความเชื่อมั่น และทำให้ประชาธิปไตยเดินไปข้างหน้าได้ ไม่ถูกครอบงำโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สำหรับคนที่จะมาเป็นประธานน่าจะเป็นนายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"ปุระชัย"พร้อม-เผยไม่รู้มาก่อน


ด้านร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ สมาชิกสภาฯ ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่ทราบล่วงหน้า เพิ่งรู้ข่าวขณะไปบรรยายที่โรงเรียนนายทหารชั้นสูง กองทัพอากาศ ยอมรับว่าสับสนเหมือนกัน เพราะมีกำหนดจะเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวที่ประเทศนิวซีแลนด์ ในวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ โดยวางแผนไว้ล่วงหน้านานแล้ว ภารกิจนี้เป็นงานอาสาเพราะไม่ได้ถามมาก่อน แต่เมื่อได้รับมอบหมายแล้ว จะขอทำหน้าที่นี้อย่างเต็มที่ในฐานะพลเมืองไทย โดยจะเดินทางไปรายงานตัวที่อาคารรัฐสภาในวันที่ 13 ต.ค.

ผู้สื่อข่าวถามว่าเคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นรัฐมนตรีในพรรคไทยรักไทย จะกระทบต่องานในสภาฯ หรือไม่ ร.ต.อ.ปุระชัยกล่าวว่า ได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทยตั้งแต่เดือนมี.ค.48 ทุกวันนี้จึงไม่ได้เป็นสมาชิกและสังกัดพรรคการเมืองใด สถานภาพของตนวันนี้คือนักวิชาการอิสระ หรือข้าราชการบำนาญ อีกทั้งการที่ได้เป็นสมาชิกสภาฯ ก็ไม่ได้ขอร้อง หรือใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวใดๆ แสวงหาผลประโยชน์ สำหรับงานในสภาฯ นั้น เนื่องจากมีเวลา 1 ปี ภารกิจหลักคือเรื่องรัฐธรรมนูญและกฎหมายหลักๆ ที่สำคัญ เมื่อถามถึงคุณสมบัติของผู้เป็นประธานสภาฯ ร.ต.อ.ปุระชัยกล่าวว่า ยังไม่ได้คิด

"สังศิต"โผล่-พร้อมหนุน"สุรพล"

ด้านนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ขอสนับสนุนนายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานสภา เนื่องจากเป็นผู้ที่มีหลักการมั่นคงตั้งแต่ช่วงที่เกิดระบอบทักษิณ ไม่คลอนแคลนเหมือนบางคน นอกจากนี้ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชนคนหนึ่งของประเทศ ส่วนกรณีที่ภาคประชาชนต่อต้านนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภานั้น มองว่าเป็นสิทธิ์ของภาคประชาชนที่สามารถคิดอย่างนั้นได้ ส่วนตัวจะขอดูสถานการณ์และรายชื่อให้ครบก่อน

นายสังศิต กล่าวว่า สิ่งที่อยากผลักดันคือ การปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ เพราะในช่วงหลังประชาชนรู้สึกไม่ชอบตำรวจ มีกรณีการรีดไถ และไปรับใช้ฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะในช่วงระบอบทักษิณ ต้องปฏิรูปให้ตำรวจไทยเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง ซึ่งรัฐบาลนี้เป็นกลางน่าจะผลักดันเรื่องนี้ได้ นอกจากนั้นอยากให้มีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับสถาบันต่างๆ ไม่เฉพาะภาคการเกษตร แต่ต้องรวมถึง สถาบันการเงินด้วย รวมถึงการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น และการสร้างคุณธรรม และจริยธรรม

"สุรพล"เผยคมช.ขอรายชื่อ

นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) กล่าวว่า ตัวแทนคมช.ได้ประสานมาเมื่อสัปดาห์ก่อน ขอให้เสนอรายชื่อผู้ที่สามารถทำประโยชน์ต่อชาติ จึงได้เสนอรายชื่อไปจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบว่ามีใครได้รับโปรดเกล้าฯ บ้าง สำหรับตำแหน่งประธานสภานั้นส่วนตัวมองว่าควรจะเป็นผู้ที่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มเวลา จึงไม่ควรเป็นปลัดกระทรวงฯ อธิการบดีมหาวิทยาลัย ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ฯลฯ ซึ่งมีตำแหน่งพ่วงอยู่

นายประกอบ วิโรจนกูฏ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า รู้สึกยินดีแม้จะไม่ทราบมาก่อน และยังไม่ทราบว่าสมาชิกสภาฯ มีบทบาทและหน้าที่อะไรบ้าง ตนไม่ถนัดทางด้านกฎหมาย ดังนั้นคงต้องหารือกับอาจารย์คณะนิติศาสตร์ และคงจะขอความเห็นของส่วนรวมในการนำเสนอเป็นกฎหมายเข้าสู่สภา มากกว่าจะนำเสนอตามความเห็นส่วนตัว ในเรื่องการศึกษาอยากให้รัฐบาลเห็นความสำคัญ และกำหนดเป็นภารกิจของรัฐ ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงอุดมศึกษา เพราะในรัฐบาลชุดก่อนนำการเมืองและธุรกิจมาครอบการศึกษาซึ่งอันตรายมาก อย่าปล่อยให้อุดมศึกษาต้องหากินกันเอง

อธิการบดีมข.ชี้บิ๊กเซอร์ไพรส์

ด้านนายสุมนต์ สกลไชย อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) กล่าวว่า ถือเป็นบิ๊กเซอร์ไพรส์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่ขณะนี้คงยังไม่คิดว่าจะนำเสนอกฎหมายอะไรเข้าสู่สภาบ้าง แต่คิดว่าการผลักดันร่างพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยในกำกับ น่าจะเป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง และคงจะมีการหารือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในการประชุมสมัยสามัญวันที่ 14 ต.ค.นี้ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นอกจากนี้จะรับฟังความเห็นจากองค์กรต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึงทิศทางการพัฒนาภูมิภาคในทุกๆ ด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ไม่เฉพาะด้านการศึกษาเท่านั้น

นายวันชัย ศิริชนะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า กฎหมายสำคัญอันดับแรกตอนนี้คงเป็นเรื่องกฎหมายการป้องกันทุจริต ที่จะต้องทำให้มีความรอบคอบกว่าที่เป็นอยู่ ที่ผ่านมาแม้กฎหมายป้องกันการทุจริตจะดี แต่ก็ยังไม่สามารถป้องกันคนโกงจนเกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

นายตวง อันทะไชย เลขาธิการแนวร่วมครูกู้ชาติ กล่าวว่า ไม่ได้รับการทาบทามมาก่อน แต่ไม่รู้สึกประหลาดใจเพราะคมช.เคยพูดว่าสภาฯ จะมาจากหลากหลายสาขา ทั้งนี้มองว่าการจะปฏิรูปสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จจะปฏิรูปเพียงแค่กฎหมายไม่ได้ แต่ต้องปฏิรูปสังคมซึ่งมีหัวใจ 2 เรื่อง คือ สุขภาพ และการศึกษา ฉะนั้นจะเข้าไปผลักดันให้มีการแก้ไขพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นเครื่องมือสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ และแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการถ่ายโอนการศึกษา ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) โดยแก้ไขให้รัฐบาลเป็นผู้จัดการศึกษา ส่วนอปท.สามารถเข้ามาร่วมจัด โดยไม่ต้องมีการถ่ายโอน

"สมบัติ เมทะนี"สุดปลื้ม-ติดโผ

ด้านนายสมบัติ เมทะนี อดีตส.ว.กทม. กล่าวว่า นึกไม่ถึงว่าจะได้มาทำหน้าที่นี้ เพราะไม่มีการติดต่อทาบทามมาก่อน เพิ่งมาทราบช่วงเช้าที่เพื่อนๆ คนรู้จักโทรศัพท์มาแสดงความยินดีหลายคน คิดว่าน่าจะเป็นความจริง ส่วนตัวรู้สึกดีใจและภูมิใจมากที่ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นการได้รับเกียรติอย่างสูงในการให้โอกาสเข้ามาทำหน้าที่ ซึ่งพร้อมทำงานเต็มที่ให้ดีที่สุด อีกทั้งถือเป็นเกียรติแก่ครอบครัว และในฐานะตัวแทนศิลปินด้วย ก่อนหน้านี้ยอมรับว่าเสียใจที่ตั้งใจมาทำงานเป็นสมาชิกวุฒิสภาแต่ยังไม่ได้ทำงาน มีเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้น ส่วนคนที่จะมาเป็นประธานสภาฯ ต้องเชี่ยวชาญรู้ข้อกฎหมายอย่างแท้จริง

นายดำรง สุมาลยศักดิ์ เลขาธิการสำนักจุฬาราชมนตรี รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย บุตรชายนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี สมาชิกสภาฯ กล่าวว่า คมช.ไม่ได้มาทาบทาม แต่คิดว่าที่ได้รับแต่งตั้งเนื่องจากได้ทำงานร่วมกับสมช.มาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยที่ดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวจุฬาราชมนตรี ทั้งนี้ไม่ได้รู้สึกหนักใจอะไร และคิดว่าจะสามารถนำประสบการณ์ร่วมทำงาน ให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมืองได้ แต่ขณะนี้คงยังพูดอะไรมากไม่ได้ แต่คงเน้นเรื่องทำอย่างไรให้จังหวัดชายแดนใต้ได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยในรายละเอียดนั้นจะมีทีมงานนักวิชาการช่วยคิดร่วมกัน ส่วนจะต้องมีการปรับแก้กฎหมายในส่วนใดบ้างหรือไม่คงยังไม่ได้คิดไกลขนาดนั้น คงต้องให้ทีมงานไปศึกษาข้อมูลให้ชัดเจนก่อน

เผย4ตัวเก็งปธ.-ชื่อ"ประสงค์"โผล่

รายงานข่าวเปิดเผยว่า ขณะนี้มีการเคลื่อนไหวเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีแคนดิเดต 4 คนคือ 1.นายมีชัย ฤชุพันธุ์ คาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสายอำนาจเก่า 2.นายสุรพล นิติไกรพจน์ ที่จะได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการ องค์กรภาคประชาชน และตัวแทนจากพรรคการเมือง 3.นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบทักษิณ 4.น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ คาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบทักษิณเช่นเดียวกับนายชัยอนันต์ และสายสมาชิกที่มาจากกองทัพ เพราะขณะนี้สมาชิกที่มาจากสายกองทัพถือว่ามีสัดส่วนมากที่สุด โดยเห็นว่าควรสนับสนุนนายมีชัย และน.ต.ประสงค์

นายประพันธ์ คูณมี กล่าวว่า น.ต.ประสงค์เป็นผู้อาวุโส มีประสบการณ์บริหารบ้านเมือง เคยเป็นส.ว. รัฐมนตรี และ ส.ส. ไม่มีประวัติด่างพร้อยเข้าใจปัญหาบ้านเมือง มีบารมี เป็นที่ยอมรับ ส่วนกระแสต่อต้านนายมีชัย เป็นเรื่องที่ต้องรับฟัง เพราะประชาชนมองว่าน่าจะมีความคิดใหม่ เลือดใหม่ๆเข้ามาพัฒนาประเทศ เนื่องจากคนเก่าๆ เคยทำผลงานให้ประชาชนไม่พอใจมาแล้ว ไม่ว่าด้านการปฏิรูปการเมือง หรือการร่างรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า สรุปการมารายงานตัวของสมาชิกสภาฯ วันแรกทั้งสิ้น 7 คน คือ 1.พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง 2.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ 3.นายแถมสิน รัตนพันธ์ คอลัมนิสต์ ลัดดาซุบซิบ 4.นายรองพล เจริญพันธุ์ 5.คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา 6.นายสุเมธ ตัณธุวนิตย์ ผู้จัดการบริษัท อาร์แอลซี จำกัด และ 7.นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

"โสภณ"ดันเอาผิดนักการเมืองโกง


ด้านนายโสภณ สุภาพงษ์ กล่าวว่า บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก ต้องมีสติและจิตสำนึกเสมอว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ลาภยศ ฐานันดรศักดิ์ แต่มีหน้าที่เชื่อมโยงอำนาจอธิปไตยกับประชาชนโดยตรง และมาดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน เพราะขณะนี้ยังมีรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ภารกิจแรกที่สภาฯ ต้องทำคือการดำเนินการให้ประกาศของคปค.ฉบับที่ 30 เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ เป็นกฎหมายเพื่อเอานักการเมืองที่โกงเข้าคุกได้ทันที ยกเลิกกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ และยกเลิก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ สร้างความยุติธรรมให้แก่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายโสภณ กล่าวว่า สำหรับตำแหน่งประธานสภาฯ นั้น เห็นว่า นายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เหมาะสม เพราะมีความเป็นนักกฎหมายและเชื่อมโยงให้นักกฎหมายของมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือสภานิติบัญญัติฯ ได้มาก เป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ที่ปฏิรูปบ้านเมืองไปสู่ทิศทางที่ดีกว่าเดิมได้ ไม่ควรย้อนกลับไปสู่วัฏจักรเดิม

ด้านนายการุณ ใสงาม อดีตส.ว.บุรีรัมย์ กล่าวถึงที่มีภาคประชาชนออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านนายมีชัย ฤชุพันธุ์ มาดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ ว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งสภาได้มาโดยไม่ใช่วิถีทางระบอบประชาธิปไตย แต่มาจากวิธีการรวบอำนาจและยึดอำนาจการปกครอง จึงมีความคลางแคลงใจ สงสัย หรือการตั้งแง่ ข้อสังเกตย่อมเกิดอยู่แล้ว ดังนั้นผู้ที่จะเป็นผู้นำของสภาประชาชนต้องศรัทธา ดังนั้นนายมีชัยต้องกล้าเสียลสะเพื่อประโยชน์บ้านเมือง เพราะเชื่อยังมีคนที่เหมาะสมใน 241 คน สามารถเป็นประธานสภาได้ตรงนี้จำเป็นต้องเรียกศรัทธา ไม่ควรเอาภาพพจน์ที่ด่างพร้อย หรือมีปัญหาเข้ามาในสถานการณ์บ้านเมืองเช่นนี้

"สุรยุทธ์"บินเยี่ยม2จว.อีสาน

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าพบคณะทูตานุทูตว่า ในวันที่ 13 ต.ค.นี้จะเดินทางไปตรวจราชการที่ จ.สกลนครและบุรีรัมย์

ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของพล.อ.สุรยุทธ์ในวันที่ 13 ต.ค.ว่า ในช่วงเช้าจะเดินทางไปตรวจราชการโดยเครื่องบินที่ จ.สกลนครและบุรีรัมย์ ซึ่งในเบื้องต้นมีกำหนดการที่จะพบปะหารือกับผู้นำกลุ่มปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปัญหาที่ดิน ปัญหาของเกษตรกร กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย รวมทั้งตรวจเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ทั้งนี้กรมกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 2 เป็นเจ้าของโครงการ โดยการหารือจะพบปะกลุ่มต่างๆ กลุ่มละประมาณ 20-30 คน โดยจะเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมารับทราบถึงปัญหาต่างๆ ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกฯได้โทรศัพท์ไปสั่งการกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงในพื้นที่ จ.สกลนครและบุรีรัมย์ โดยระบุว่าการเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางไปส่วนตัวและเป็นเรื่องภายใน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบปัญหาต่างๆ และแต่ละจุดที่นายกฯเดินทางไปจะใช้เวลาเพียงสั้นๆ

ประชุมชี้แจงทูตสาเหตุปฏิวัติ

เมื่อเวลา 09.30 น. พล.อ.สุรยุทธ์พร้อมด้วยนายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.ต่างประเทศ ได้เชิญคณะทูตานุทูตจากประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ คณะทูตานุทูตจากกลุ่มประเทศเอเชีย-แอฟริกา 23 ประเทศ เข้าพบ และในช่วงบ่ายนายกฯพบกับคณะทูตานุทูตจากกลุ่มประเทศอเมริกา-แปซิฟิก 11 ประเทศ คณะทูตานุทูตจากกลุ่มทวีปยุโรปและรัสเซีย 26 ประเทศ และตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ 24 แห่ง โดยนายกฯถือโอกาสนี้ชี้แจงถึงสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงแนวทางการทำงานรัฐบาลต่อไป โดยช่วงเช้า พล.อ.สุรยุทธ์ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว แต่มีสีหน้าที่ยิ้มแย้มอย่างอารมณ์ดี

ผู้สื่อข่าวรายงาน การพบกับคณะทูตานุทูตจากประเทศอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ นายกฯได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ในประเทศว่า ขณะนี้สถานการณ์เป็นปกติ ซึ่งการเข้ามาบริหารประเทศก็เข้ามาด้วยความจำเป็นไม่ได้คาดหวังว่าจะมาเป็นนายกฯ และคิดว่าจะสามารถทำงานได้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ส่วนรัฐมนตรีก็เลือกมาทำงานด้วยตัวเอง เป็นคนซื่อสัตย์ มีความสามารถ โดยให้กรอบแนวทางการบริหารประเทศคือ โปร่งใส ประหยัด เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการพบปะกันครั้งนี้ทูตจากประเทศกัมพูชา ได้แสดงความชื่นชมที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับประเทศกลุ่มอาเซียน โดยจัดให้เข้าพบเป็นกลุ่มแรก ทั้งนี้ นายกฯได้พบกับคณะทูตกลุ่มอาเซียนประมาณ 20 นาทีและได้ชี้แจงเป็นภาษาอังกฤษ และได้ร่วมถ่ายรูปกับคณะทูตเป็นที่ระลึกด้วย

ชี้แจงเหตุไม่เลิกกฎอัยการศึก

พล.อ.สุรยุทธ์ให้สัมภาษณ์ว่าเราสร้างความมั่นใจในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและมิตรประเทศต่างๆ สิ่งที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้มีความผูกพันไว้ เราจะรับดำเนินการต่อไป โดยจะดูในเรื่องความเร่งด่วนและความโปร่งใสเป็นพื้นฐาน ดังนั้น หน้าที่ของรัฐบาลชุดนี้คือการดำเนินความสัมพันธ์ไปอย่างต่อเนื่อง ไม่มีอะไรที่จะทำให้เกิดการยุติหรือความขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะทูตได้สอบถามเรื่องการยกเลิกกฎอัยการศึกหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์กล่าวว่าได้อธิบายไปเช่นเดียวกับที่อธิบายให้สื่อมวลชนรับทราบ เมื่อถามว่าได้ประเมินเสียงตอบรับจากนานาประเทศหรือไม่ว่าเป็นอย่างไร นายกฯกล่าวว่ายังประเมินไม่ได้ แต่มีเครื่องวัด คือจะดูจากการทำงานไปสักระยะหนึ่ง และดูว่ามิตรประเทศมีความเชื่อมั่นกับเรามากน้อยแค่ไหน และจะเดินทางไปเยี่ยมมิตรประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนอยู่แล้ว โดยจะเริ่มในวันที่ 14-15 ต.ค.นี้ หลังจากนั้นค่อยประเมินหลังจากได้พบปะพูดคุยและทำงานไปสักระยะหนึ่ง

อียูยังบี้ให้ยกเลิก-รีบจัดเลือกตั้ง

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายลาร์ส เอริก บักสเตริม เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ ในฐานะประธานสหภาพยุโรป กล่าวภายหลังพบกับนายกฯ เพื่อทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ของบ้านเมืองว่า รู้สึกยินดีที่รัฐบาลจัดเวทีนี้ขึ้น ในส่วนของสหภาพยุโรป(อียู) เห็นว่ารัฐบาลไทยควรยกเลิกกฎอัยการศึก และคืนสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนโดยเร็ว พร้อมกับกล่าวว่าระยะเวลา 1 ปีที่รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศ ก่อนที่จะคืนอำนาจอธิปไตยให้กับคนไทยถือว่านานเกินไป นอกจากนี้ ทางสหภาพยุโรปต้องการให้ไทยเร่งดำเนินการในเรื่องการถ่ายโอนอำนาจ การร่างรัฐธรรมนูญและการจัดการเลือกตั้ง การที่พล.อ.สุรยุทธ์ ให้คำยืนยันว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาในเรื่องของการยกเลิกกฎอัยการศึก รวมทั้งการนำสันติภาพคืนสู่ประชาชนโดยไม่ต้องอยู่ท่ามกลางลูกกระสุนและระเบิดนั้น ถือเป็นสิ่งที่น่าพอใจ

เมื่อเวลา 16.40 น. พล.อ.สุรยุทธ์ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งถึงข้อเรียกร้องของหลายประเทศ โดยเฉพาะจากประธานสหภาพอียู ถึงการคืนเสรีภาพประชาธิปไตย และการยกเลิกกฎอัยการศึก รวมทั้งโครงการเมกะโปรเจ็คต์ นายกฯ กล่าวว่า อยู่ที่การปฏิบัติของเรา ถ้าเป็นไปได้อย่างที่ได้หารือกัน คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้นานาประเทศเห็นว่าไทยเดินไปตามเส้นทางที่ได้พูดไว้

เมื่อถามว่า นานาประเทศได้แสดงความเชื่อมั่นประเทศไทยหรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ยังไม่ต้องการประเมินผลตอนนี้ รอเวลาอีกระยะหนึ่ง สิ่งสำคัญอยู่ที่การกระทำของเราเองจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เราได้ยืนอยู่ตามคำพูดที่เราได้พูดไว้หรือไม่ ตรงนั้นจะเป็นเครื่องยืนยันที่ดีที่สุดว่าเราได้ทำตามสิ่งที่เราพูดหรือไม่ เมื่อถามถึงการทำสมุดปกขาวเพื่อทำความเข้าใจ นายกฯ กล่าวว่า "คงยังครับ"

ต่างชาติห่วงสิทธิเสรีภาพคนไทย

เมื่อเวลา 16.55 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.อ.น.พ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงผลการหารือของนายกฯ กับคณะทูตานุทูตในรอบบ่ายว่า เป็นการพูดคุยกับเอกอัครราชทูต กลุ่มอเมริกา-แปซิฟิก รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย โดยนายกฯ ได้ชี้แจงแนวทางการเข้ามาทำงานในฐานะที่เป็นผู้นำรัฐบาล และได้เน้นย้ำถึงนโยบายด้านต่างประเทศคงเหมือนเดิม รวมไปถึงโครงการเมกะโปรเจ็คต์ต่างๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วก็ยังคงดำเนินการต่อไป โดยทางเอกอัครราชทูตแคนาดา ได้กล่าวถึงความร่วมมือที่มีมาอย่างดี เป็นเวลานานหลายทศวรรษ และมีความห่วงใยในเรื่องที่ประเทศไทยยังมีกฎอัยการศึก รวมถึงการฟื้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน เรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญ และการกำหนดวันเลือกตั้ง ในเรื่องกฎอัยการศึก นายกฯ อยากเห็นการยกเลิกกฎอัยการศึกนี้ให้เร็วที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความมั่นคงเป็นสำคัญ เชื่อว่าในไม่ช้าหลังจากที่มีการหารือกันแล้ว ก็คงจะมีกรอบเวลาออกมาให้ทราบว่า จะมีการยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อไร

มะกันแนะให้เลิกกฎอัยการศึก

โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าว่า ในส่วนเอกอัครราชทูตสหรัฐได้ชื่นชมที่รัฐบาลได้ปฏิบัติตามพันธสัญญาที่ให้ไว้เป็นลำดับขั้นตอนมาตลอด รวมไปถึงการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้กรอบเวลาที่ให้ไว้ก็ถือว่าสัญญาณต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นขั้นตอนมาตลอด และยังได้แสดงความคิดเห็นถึงกฎอัยการศึกว่า ถ้ายกเลิกเมื่อไร ก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง ส่วนทางออสเตรเลียได้แสดงความคิดเห็นว่า การยกเลิกกฎอัยการศึกจะเป็นสัญญาณที่ดีต่อประชาคมโลกด้วย

ร.อ.น.พ.ยงยุทธ กล่าวว่า เอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ พูดถึงความสัมพันธ์ที่ดีที่มีต่อกันเป็นอันดีในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา โดยชื่นชมแนวทางของนายกฯ ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การปรับความเข้าใจ ความขัดแย้งกันทางด้านการเมือง สถานการณ์ภาคใต้และนิวซีแลนด์พร้อมที่จะสนับสนุนในการแก้ปัญหาภาคใต้ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา นายกฯ ได้สรุปในตอนท้าย โดยชี้ให้ทูตานุทูต เห็นว่าสิ่งสำคัญที่เป็นบทเรียนที่ได้เรียนรู้กันมา ของประชาคมของเราคือ การขาดซึ่งการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม ดังนั้นภารกิจที่สำคัญของรัฐบาลคือการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม ให้เกิดขึ้นในห้วงเวลา 1 ปีจากนี้ไปและจะพยายามทำให้เร็วที่สุด ที่จะทำให้การจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมเกิดขึ้นเร็วกว่า 1 ปี ถ้าสามารถทำได้

เผยไม่ได้กดดัน-แต่เป็นห่วง

ผู้สื่อข่าวถามว่า เอกอัครราชทูตที่เข้าพบนายกฯ เกินครึ่งหรือไม่ที่จะให้การสนับสนุน ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ทุกคนก็แสดงความพร้อม ที่จะให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน ในจุดนี้ถือว่าเป็นมิตรไมตรีของทุกประเทศ และเป็นความยินดีของประเทศไทยที่มิตรประเทศ ให้ความกรุณาและให้ความเข้าใจ รับฟังคำชี้แจงของเรา คงต้องติดตามต่อไปว่าแต่ละประเทศจะให้การสนับสนุนอย่างไร และเราหวังว่าผู้แทนที่มาจะกลับไปชี้แจงกับรัฐบาลของเขาได้ทราบถึงแนวทางของรัฐบาลไทยและความตั้งใจจริงของนายกฯ ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศ

เมื่อถามว่า บางประเทศที่ต้องการให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้กดดันอย่างไรหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ไม่เชิงกดดัน แต่มาชี้แจงถึงความห่วงใยและชี้แจงว่าถ้ายกเลิกกฎอัยการศึก เมื่อไหร่ก็จะเป็นภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้นไปอีก

"อุ๋ย"เจอเหตุระทึก-เข้ากระทรวง


เมื่อเวลา 08.50 น. ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯและรมว.คลัง ได้เดินทางเข้ากระทรวงการคลังเป็นครั้งแรกภายหลังรับตำแหน่งในครม. โดยได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางนาคปรก 2 กษัตริย์มาจากบ้าน เพื่อมาประจำที่ห้องรัฐมนตรีด้วย มีข้าราชการระดับสูงของกระทรวง ตั้งแต่ปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวง อธิบดีทุกกรม และหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลังให้การต้อนรับ จากนั้นได้เดินเท้าไปสักการะศาลพระพรหม ซึ่งขณะที่ถวายพวงมาลัยดอกดาวเรืองพวงที่ 4 ได้มีเจ้าหน้าที่เดินชนโคมไฟ ซึ่งติดตั้งอยู่รอบศาลพระพรหมแตก 1 ดวง ทำให้เศษกระจกแตกกระจาย เป็นผลให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย และมีเลือดไหลหยดเป็นทาง

ม.ร.ว.ปรีดิยาธรได้สักการะศาลพระภูมิซึ่งอยู่ติดกัน จากนั้นจะเดินทางไปถวายบังคมพระรูปรัชกาลที่5 ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน แต่นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เข้ามาพูดขอโทษกรณีเหตุการณ์ดวงไฟแตก ซึ่งม.ร.ว.ปรีดิยาธรไม่ได้ว่ากล่าวแต่อย่างใด และได้เดินพูดคุยกันไปจนถึงลานพระรูปร.5 ต่อมาจึงได้เดินมาไหว้รูปสลักช้าง 2 เชือก ซึ่งรมว.คลังทุกคนให้ความเคารพมาเนิ่นนาน โดยช้างดังกล่าวได้ปักหลักอยู่หน้าตึกสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งมีห้องรัฐมนตรีอยู่บนชั้น 3 และขณะคล้องพวงมาลัยดอกดาวเรืองรอบคอช้าง พวงมาลัยได้ขาดลงมา แต่การถวายพวงมาลัยก็ทำต่อไปจนคล้องคอช้างทั้ง 2 เชือกเสร็จสิ้น แล้วจึงถวายอ้อยให้ช้างแต่ละเชือก เชือกละ 11 ปล้อง และกล้วย 2 หวี พร้อมน้ำอีกเชือกละ 1 แก้ว จากนั้นจึงเดินทางขึ้นห้องรัฐมนตรี

ต่อมาเวลา 10.30 น. ม.ร.ว.ปรีดิยาธรได้เรียกประชุมเพื่อมอบนโยบายแก่ผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง จากนั้นม.ร.ว.ปรีดิยาธรให้สัมภาษณ์ว่า การได้เป็นรมว.คลังครั้งนี้ถือเป็นบุพเพสันนิวาส ซึ่งอยู่ดีๆก็ได้รับตำแหน่ง ส่วนการที่เพิ่งเดินทางมาถึงกระทรวงการคลังช้าไป 2 วัน หลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว เนื่องจากเป็นรองนายกฯต้องมีหน้าที่กำกับดูแลกระทรวงอื่นๆถึง 9 กระทรวงด้วยกัน จึงต้องให้เวลา และการทำงานต่อจากนี้จะต้องบริหารเวลาอย่างดี โดยตอนเช้าตนจะเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล ส่วนตอนบ่ายจึงจะเข้ากระทรวงการคลัง

"ธีระ-รุ่งเรือง"เข้าพบ"อาจารย์ระพี"

เมื่อเวลา 12.45 น. นายธีระ สูตะบุตร รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รมช.เกษตรฯ เดินทางไปยังบ้านนายระพี สาคริก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ.พหลโยธิน เพื่อขอพรและรับคำชี้แนะนำในการทำงานนานกว่า 35 นาที

นายระพีกล่าวภายหลังจากนายธีระเข้าพบว่า จากนี้ต่อไปการทำงานเพื่อพัฒนากระทรวงเกษตรฯต้องมุ่งพัฒนาคน พยายามช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถคิดเองได้ โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาพัฒนาและฟื้นฟูเกษตรกร เพราะหากเกษตรซึ่งเป็นฐานหลักของประเทศอยู่ไม่ได้ ประเทศก็อยู่ไม่ได้ ที่ผ่านมาเกษตรกรไทยถูกเงินชักจูงไปมาก ดังนั้นการทำงานในกระทรวงเกษตรฯต้องมีสติรู้ทันคนอื่น ไม่โลภหากเหลือใช้ให้คืนให้กับสังคม ในฐานะกระทรวงเกษตรฯเป็นคนกลาง ต้องมุ่งออกไปหาความรู้จากเกษตรกร อย่างคิดว่าเขาไม่รู้เรื่องเกษตรกรถือเป็นคนที่รู้มากกว่าภาครัฐเพราะเขาทำมาก่อน ดังนั้นเมื่อออกไปพบเห็นปัญหาของคำปรึกษา ก็ให้กลับมาหาวิธีการใหม่ๆ พัฒนาต่อยอดเกษตรกรรมต่อไป อย่างให้เกษตรกรทำอย่างเดียวทุกคนต้องช่วยกัน

นายรุ่งเรืองเปิดเผยหลังการเข้าพบนายระพีว่า มาขอคำแนะนำว่า การพัฒนาเกษตรกรจะนำเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ามาใช้ได้หรือไม่ ซึ่งนายระพีก็เห็นด้วย เพื่อช่วยพัฒนาเกษตรกร พัฒนาประเทศไทย โดยอาศัยแบบอย่างการพัฒนาอย่างประเทศญี่ปุ่น คือพัฒนา 2 ด้านคือ 1.ชะลอการเติบโตของรายใหญ่ 2.พัฒนาคนและรายย่อยให้ช่วยเหลือตัวเองได้ ทั้งนี้พร้อมผลักเกษตรทฤษฎีใหม่ให้เป็นวาระสำคัญของรัฐบาลโดยเน้นในใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด เป็นการต่อยอดเศรษฐกิจพอเพียง

"ปรีชา"ยื่นไขก๊อกทรท.ตาม"พินิจ"

ที่พรรคไทยรักไทย นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ ผอ.สำนักทะเบียนพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่า วันเดียวกันยังไม่มีสมาชิกมาขอลาออกเพิ่ม แต่เมื่อวันที่ 11 ต.ค.นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ อดีตรองหัวหน้าพรรค แกนนำกลุ่มวังพญานาค ได้มายื่นลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคแล้ว ทำให้ยอดสมาชิกลาออกเพิ่มเป็น 94 คน

นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ อดีตส.ส.อุดรธานี พรรคไทยรักไทย กลุ่มวังพญานาค เปิดเผยภายหลังที่นายพินิจ จารุสมบัติ หัวหน้ากลุ่ม ลาออกไปทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ไม่เป็นไร การลาออกไปไม่ได้มีผลกระทบกับทางกลุ่ม ซึ่งทางกลุ่มจะยังคงอยู่กับพรรคไทยรักไทยต่อไป และคิดว่าภายหลังนายพินิจเสร็จสิ้นภารกิจจะกลับมาอยู่กับพรรคไทยรักไทยเหมือนเดิม คงไม่ไปอยู่พรรคการเมืองใหม่ พวกตนยืนยันว่าจะไม่ย้ายพรรคไปไหน

นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตส.ส.เชียงราย พรรคไทยรักไทย กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ประธานคมช.ให้เหตุผลการไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก เพราะยังมีคลื่นใต้น้ำว่า ต้องดูพฤติกรรมของผู้มีอำนาจในปัจุบันว่า ทำหน้าที่ได้ดีกว่าที่เคยกล่าวหาคนอื่นว่าเป็นคนไม่ดี เล่นพรรคพวกหรือไม่ ถ้าทำได้ดีกว่าไม่ต้องเป็นห่วง แต่ถ้าทำไม่ดีมากกว่า หรือทำตัวแบบที่เที่ยวกล่าวหาคนอื่น ประชาชนจะวิพากษ์วิจารณ์บ้างเราคงจะห้ามไม่ได้ และคงไม่ต้องมีใครไปยุยง อย่างไรก็ตาม ในต่างจังหวัดตนไม่พบว่า มีการเคลื่อนไหวเป็นขบวนการคลื่นใต้น้ำอย่างที่มีการระบุ

ทรท.เตือนอย่าปักหลักอัยการศึก

ด้านน.ต.ศิธา ทิวารี รักษาการโฆษกพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า การแต่งตั้งรักษาการหัวหน้าพรรคคนใหม่ จากที่คณะผู้บริหารของพรรคได้โทรศัพท์หารือกัน เห็นชอบให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองหัวหน้าพรรคทำหน้าที่ คาดว่าภายหลังจากที่รักษาการหัวหน้าพรรคเข้ารับตำแหน่ง คงแต่งตั้งรักษาการตำแหน่งอื่นๆ คือ รักษาการเลขาธิการพรรค รักษาการเหรัญญิกพรรค รวมถึงรักษาการโฆษกพรรค การทำงานของรักษาการหัวหน้าพรรคจะไม่ใช่แค่ 45 วันก่อนเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ส่วนตนพร้อมให้ความร่วมมือกับพรรคเช่นเดิม เพราะช่วงนี้ถือเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นกับพรรค แต่ตำแหน่งรักษาการโฆษกพรรคคนใหม่ ขึ้นกับรักษาการหัวหน้าพรรคเลือกคนที่ทำงานเข้าขากัน

น.ต.ศิธา กล่าวถึงมติครม.ให้คงประกาศกฎอัยการศึก รวมถึงคำสั่งคปค.ห้ามเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อไปว่า ครม.คงพิจารณาถึงกำหนดเวลาให้เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมาประชาชน และพรรคการเมืองก็ให้ความร่วมมือกับคมช.อย่างดี และไม่มีสิ่งบอกเหตุว่ามีการชุมนุมหรือก่อม็อบ ดังนั้นหากมีเพียงสายข่าวเพียงอย่างเดียวว่า จะเกิดเหตุกลุ่มผู้ชุมนุมออกมาเคลื่อนไหว ประชาชนอาจรู้สึกว่าถูกจำกัดสิทธิยาวนานเกินความจำเป็น ซึ่งในช่วงที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯประกาศกฎอัยการศึกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดความรุนแรงในพื้นที่จริง ยังมีเสียงคัดค้านออกมาเรียกร้องจากหลายฝ่าย ทั้งที่มีสิ่งบอกเหตุเกิดขึ้นรายวัน แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ กลับไม่มีสิ่งบอกเหตุ ดังนั้นรัฐบาลควรระวัง เพราะองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ อาจออกมาทักท้วง เพราะเห็นว่าการประกาศยาวนานเกินความจำเป็น ทั้งนี้คงไม่เรียกร้องกับรัฐบาล เพราะอาจมีข้อมูลความมั่นคงลึกกว่า สำหรับพรรคไทยรักไทยพร้อมให้ความร่วมมือ

ชี้"พินิจ"ไม่ใช่ตัวแทนพรรคทรท.

นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตรองโฆษกพรรค ให้สัมภาษณ์กรณีนายพินิจ ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสมาชิกสภาฯว่า คงไม่ถือเป็นตัวแทนพรรค เป็นเรื่องส่วนตัว เพราะหากเป็นตัวแทนพรรค ต้องมีมติหรือการประชุมในพรรค และไม่ทราบว่าคนที่ถูกแต่งตั้งจะดีใจหรือไม่ถ้าถูกมองว่าเป็นตัวแทนพรรคไทยรักไทย แต่ที่ผ่านมานายพินิจก็ไม่ได้มีความขัดแย้งกับพรรค ยังรู้สึกดีต่อกันและขออวยพรให้ทำหน้าที่ให้มีความสุข ตามเจตนารมณ์ของคมช.

นายจตุพรกล่าวว่า เป็นสิทธิของคมช.คัดเลือกใครเป็นสมาชิกสภาฯซึ่งจะสะท้อนให้เห็นภาพชัดเจนว่า คนแต่งตั้ง รู้สึกนึกคิดอย่างไร แต่ปัญหาในระหว่างการทำหน้าที่ 1 ปีโดยเฉพาะการตรวจสอบรัฐบาล สภาฯกล้าตรวจสอบรัฐบาล และเป็นอิสระจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงสภาตรายาง เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องเฝ้าติดตาม สำหรับกรณีที่แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และผู้เคยต่อต้านรัฐบาลไทยรักไทย เข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาฯ หลายคนนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าคนเหล่านี้ไม่ถูกแต่งตั้งถึงจะแปลก เพราะทำให้เห็นว่าใครที่ลงแรงมาก่อนหน้านี้ได้รับโบนัสเรียบร้อย

"พงศ์เทพ"ไม่ขอวิจารณ์สภานิติฯ

ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในฐานะประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรค กล่าวว่า ไม่ขอแสดงความเห็นรายชื่อสภานิติบัญญัติฯ อีกทั้งรายชื่อได้รับการประกาศแล้วการวิจารณ์จึงไม่มีผลอะไร ส่วนตัวคาดหวังว่าสภานิติบัญญัติฯ จะหยิบยกกฎหมายหลายฉบับที่ยังค้างอยู่ในชั้นกฤษฎีกาและสภาฯก่อนประกาศยุบสภามาพิจารณา โดยเฉพาะกฎหมายที่รองรับสิทธิประชาชน เช่น ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน หรือแม้แต่การแก้ไขกฎหมายเพื่อแบ่งเบาภาระของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่พยายามผลักดันมาตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งรมว.ยุติธรรม รวมไปถึงการเลือกผู้พิพากษาสมทบศาลแรงาน แต่ที่เสียดายมากคือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ที่แม้จะยุบสภา แต่ยังเปิดช่องทางให้นำกฎหมายที่ค้างอยู่มาพิจารณาต่อได้ แต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2549 เท่าที่อ่านไม่พบว่ามีกระบวนการดังกล่าว ดังนั้นคงต้องเริ่มต้นใหม่โดยสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ

นายเอกพร รักความสุข อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสภานิติบัญญัติฯ ซึ่งไม่ใช่ตัวแทนส.ส.หรือตัวแทนประชาชนแท้จริง ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนสามารถเสนอกฎหมายได้ ดังนั้นการเชื่อมต่อระหว่างสภาและประชาชนต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะเป็นตรายางที่รับรองกฎหมายเท่านั้น


แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์