กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยาอดีตผู้ว่าฯ กทม.ถึงแก่กรรมแล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถึงแก่กรรมแล้วอย่างสงบ เมื่อวันที่ 12 มกราคม ที่โรงพยาบาลศิริราช และจะตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดเบญจมบพิตรฯ และจะมีพิธีรดน้ำศพในวันที่ 14 ม.ค.
       
สำหรับประวัติของ ร.อ.กฤษฎา เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2475 รวมอายุได้ 78 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีและโททางสถาปัตยกรรมศาสตร์

จาก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (M.I.T.) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2498-2499 ได้รับทุนรัฐบาลฝรั่งเศส ไปศึกษาด้านสถาปัตยกรรมที่ Ecole de Beaux-Arts และดูงานสถาปัตยกรรม เป็นเวลา 6 เดือน ในปี พ.ศ. 2503 และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท คาซา (CASA) มีผลงานออกแบบอาคารหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียง เช่น อาคารใหม่สวนอัมพร อาคารสินธร ถนนวิทยุ อาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาชิดลม สาขาสีลม และสาขาหัวหมาก สำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสีลม ตึกไอบีเอ็ม ถนนพหลโยธิน สำนักงานใหญ่การบินไทยและเมื่อปี 2539 ได้รับเลือกให้เป็นสถาปนิกดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์


นอกจากนี้ ร.อ.กฤษฎา ยังเป็นสถาปนิกชาวไทย อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คนที่ 4 พ.ศ. 2517-2521)

เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2503-2532) และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม (อาษา) , อดีตอุปนายกของสภาสถาปนิกเอเซีย (ARCASIA) , อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฝ่ายโยธา (พ.ศ. 2533-2535) และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (19 เมษายน 2539 – 18 เมษายน 2539) โดยการสนับสนุนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่าฯ คนก่อน ได้รับมอบปริญญา สถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ประจำปี พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 จากการเสนอของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.)
      

ร.อ.กฤษฎาเป็นอาจารย์อยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อยู่ถึง 30 ปี ก่อนจะได้ ได้รับคัดเลือกให้เป็นคณบดีคคนที่ 4 ช่วง พ.ศ. 2517-2521

รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา (พ.ศ. 2533-2535) และจากนั้นก็ได้คะแนนเสียงจากชาวกทม.ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต่อมาอีก 6 ปี และเมื่อปี 2539 ได้รับเลือกให้เป็นสถาปนิกดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จนกระทั่งในปีพ.ศ.2550 ก็ได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์)


ทั้งนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร.อ.กฤษฎา เป็นนักบินสมัครเล่น เคยมีผลงานเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์เรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ (2541) โดยรับบทเป็นบิดาของเสือใบ (อำพล ลำพูน) ตัวเอกในเรื่องและเรื่องพรางชมพู (2545) รวมทั้งยังผ่านการแสดงละครเวทีมาแล้ว


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์