แรงงานร้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ


องค์กรแรงงานแห่งประเทศไทย เรียกร้องกระทรวงแรงงานปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกร้อยละ 5 หลังไม่มีการปรับมานานถึง 2 ปี โดยขอให้ปรับตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้า และยังขอให้ขยายเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจาก 60 วัน เป็น 100 วันองค์กรแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย สภาองค์การลูกจ้าง แห่ง และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้แรงงาน รวม 7 ข้อโดยนายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สาระสำคัญของข้อเรียกร้องในครั้งนี้ คือการขอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หลังไม่ได้ปรับขึ้นมาแล้วถึง 2 ปี อันเนื่องจากสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ โดยจะขอให้ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันที่ประมาณ ร้อยละ 5 โดยขอให้มีการปรับค่าจ้างตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่จะถึงนี้ พร้อมเรียกร้องให้จัดระเบียบการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ที่ปัจจุบันมี 23 แบบ เปลี่ยนเป็น 3 โซน ประกอบด้วยกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดรอบปริมณฑลและตามเมืองใหญ่ และจังหวัดในภูมิภาค ขณะเดียวกันขอให้กระทรวงแรงงาน เร่งออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับค่าจ้างตามมาตรฐานอาชีพตามกฎหมายใหม่ ซึ่งล่าสุดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัดทำค่าจ้างแล้วเสร็จจำนวน 30 อาชีพ เพื่อให้มีสภาพบังคับกับนายจ้างตามกฎหมายส่วนข้อเรียกร้องที่เหลืออีก 6 ข้อประกอบด้วยการ 1.ขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญา ไอแอลโอ ฉบับ 87-98 2.การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 11/1 เรื่องการจัดสวัสดิการ และจ้างเหมาค่าแรง 3.เรียกร้องให้ขยายการชดเชยกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจาก 60 วัน เป็น 100 วัน 4. การเร่งหางานให้กับผู้จบการศึกษาใหม่ หรือว่างงานภายใน 3 เดือน 5.จัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในโรงงานที่เริ่มแย่งงานคนไทยมากขึ้น และ 6.การเร่งเพิ่มช่องทางการให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงาน ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งข้อเรียกร้องทั้งหมดจะนำไปเสนอต่อนายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในช่วงบ่ายของวันนี้  

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์