ให้สติแม้วอย่าดันปชช.เป็นปฏิปักษ์สถาบัน

16ส.ค.) พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานครแสดงพระธรรมเทศนา

ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เช้านี้   ถึงการถวายฏีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อคัดค้านว่า ฝากบอก พ.ต.ท.ทักษิณขอให้พิเคราะห์ตัวเองว่า การลงสู่จุดอับนั้นเพราะมีเหตุ คือ อำนาจ อำนวย รวยมาก พวกลากไป ใจนักเลง บริวารเกรงใจ อ่านกฎหมายไม่ละเอียด 

การมีอำนาจทำให้หลงเริงอำนาจ อาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาดหรือลืมตัว การจะถวายฏีกานั้นมีช่องทาง ขั้นตอน กระบวนการ และราชประเพณีอยู่แล้วต้องศึกษา แต่เมื่ออ่านกฎหมายพลาดจึงเกิดปัญหา

แม้
พ.ต.ท.ทักษิณบอกว่าไม่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องของประชาชน แต่ถ้ารู้แล้วไม่ทันทานถือเป็นการมิบังควร เป็นการกดดันพระราชอำนาจ ผู้ที่เกี่ยวข้องและพ.ต.ท.ทักษิณต้องตระหนัก คือยอมรับกฎหมายไทยก่อน อย่างการถูกตัดสินจำคุก 2 ปี แต่ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ยอมรับโทษที่ศาลพิพากษาโดยพระปรมาภิไธย เมื่อต้องโทษแต่ไม่ยอมรับโทษจะขอพระราชทานได้อย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณไม่ยอมรับศาลแต่ขณะเดียวกันยังไปอาศัยศาลด้วยการฟ้องร้องบุคคลอื่น 


ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสุทัศนเทพวราราม ยังเรียกร้องให้ผู้ดำเนินการอย่าผลักดันประชาชนให้เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

และการกระทำที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ซึ่งให้อภัยไม่ได้และให้ระวังการอ้างความจงรักภักดีมาทำลายกัน ซึ่งอันตรายเป็นอย่างยิ่ง
พระราชวิจิตรปฏิภาณ ยืนยันว่า การแสดงธรรมวันนี้ เป็นการแสดงความรักต่อประเทศชาติ โดยมิได้มีอคติ แต่ต้องการเตือนสติทุกฝ่าย ไม่ให้เกิดหายนะ ให้ทุกอย่างยุติและเริ่มต้นกระบวนการกันใหม่



ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทย กับนายกฯ อภิสิทธิ์" ว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองในวันพรุ่งนี้ (17) นั้น

ขอยืนยันว่าตนนั้นเคารพการแสดงออกทางการเมือง แต่ขอให้ทุกคนที่จะใช้สิทธิ์ อยู่บนหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ไม่สร้างความเดือดร้อนที่สำคัญ ไม่สร้างความรุนแรงต่อคนไทยด้วยกัน ที่จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และเศรษฐกิจ ทำให้การแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่เดินหน้า

  

สวนดุสิตโพลล์ เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน "คิดอย่างไรกับการถวายฏีกา"

พบว่าประชาชนส่วนใหญ่รับรู้และติดตามข่าวสาร และร้อยละ 37.17 มองว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเกมการเมืองที่เอาชนะฝังตรงข้าม โดยดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้อง ขณะที่ประชาชน 28.93 เห็นว่าเป็นการกระทำที่มีลักษณะ ตาต่อตา ฟันต่อฟัน มุ่งแต่ชนะ จนอาจทำให้เกิดความวุ่นวายได้ ส่วนร้อยละ 20.43 เห็นว่าเป็นการใช้กฎหมู่ ดึงประชาชนมาเป็นเครื่องมือต่อรอง ส่วนร้อยยละ 13.47 เห็นว่า เรื่องดังกล่าวนั้น ควรจะดำเนินการให้ถูกกฎหมายจะดีกว่าการถวายฏีกา


นอกจากนี้ ยังพบว่าประชาชนเป็นห่วงการถวายฏีกาอาจเกิดการปะทะกันระหว่างฝ่ายที่ยื่นกับฝ่ายที่คัดค้านสูงถึง 27.54 เปอรเซ็นต์

และห่วงว่าเรื่องดังกล่าวจะทำให้ระคายเคืองพระยุคลบาท ไม่ควรนำพระองค์มาเกี่ยวข้อง และยังรู้สึกสงสารประชาชนที่ถูกนักการเมืองใช้เป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ ประชาชน 36.07 เชื่อว่า เหตุการณ์ถวายฏีกา จะไม่เกิดการนองเลือดขึ้น เพราะมองว่าเป็นคนไทยด้วยกันคงยอมกันได้ และขอให้หลีกเลี่ยงการปะทะกันให้ได้


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์