รักกันไว้เถิด

การเสียดินแดนไทย

การเสียดินแดนไทยให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ ๔ และ ๕ รวมห้าครั้งด้วยกันคือ

ครั้งที่ ๑
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ ไทยเสียเขมรส่วนนอกและเกาะอีก ๖ เกาะ ให้แก่ฝรั่งเศส นับเป็นการเสียดินแดนครั้งแรกในรัชกาลของพระองค์


ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เสียดินแดนทั้งหมด ๔ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๑
หลังจากที่ไทยได้ปราบพวกฮ่อเรียบร้อยแล้วใน พ.ศ. ๒๔๒๘ ในปีต่อมาฝรั่งเศสเข้ามาขอทำสัญญากับไทย ตั้งศาลกงสุลที่นครหลวงพระบาง และตั้งให้ ม. ปาวีร์ เป็นกงสุล ใน พ.ศ. ๒๔๓๐ พวงฮ่อได้เข้ามาปล้นเมืองหลวงพระบางอีก แต่ไทยก็ปราบฮ่อได้อีก ซึ่งครั้งนี้ ม. ปาวีร์ ตกอยู่ในอันตราย ซึ่งไทยช่วยให้รอดชีวิตมาได้ การปราบฮ่อทุกครั้งฝรั่งเศสไม่เคยช่วยเลย แต่เมื่อไทยปราบฮ่อเสร็จแล้วฝรั่งเศสกลับมายึดเอาแคว้นสิบสองจุไทยและหัวพันทั้งห้าทั้งหกไว้ โดยอ้างว่าเอาไว้เป็นกำลังปราบฮ่อ ไทยจะเจรจาอย่างไรฝรั่งเศสไม่ยอมถอยทัพกลับ ฉะนั้นใน พ.ศ. ๒๔๓๑ แคว้นสิบสองจุไทยจึงตกเป็นของฝรั่งเศส
ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒)
ฝรั่งเศสแต่งตั้ง ม. ปาวีร์ เป็นอัคราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ ในระหว่างนี้ฝรั่งเศสอ้างสิทธิว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเดิมเป็นของญวนและเขมร ดังนั้นฝรั่งเศสควรมีสิทธิครอบครองดินแดนนี้ด้วย และในการปักปันเขตแดนนี้ฝรั่งเศสได้ถือโอกาสเอาแม่น้ำโขงเป็นหลัก ไทยเราไม่ยอม ฝรั่งเศสส่งทหารญวนลุกล้ำเข้ามาจึงเกิดการปะทะกับทหารไทยที่รักษาดินแดนอยู่ และยังได้ส่งเรือนำร่องมาจากพนมเปญมาตามลำน้ำโขง เกิดปะทะกับฝ่ายไทยและต่อมาไม่นานก็ได้ส่งเรือรบ ๒ ลำ ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ เข้ามาในอ่าวไทยโดยอาศัยเรือสินค้าเป็นเรือนำร่อง เจ้าหน้าที่ไทยที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ ส่งสัญญาณห้ามให้หยุดไม่เป็นผล จึงยิงลูกหลอกขู่ ฝรั่งเศสได้ระดมยิงเรือไทย คือเรือมกุฎราชกุมารของไทยเสียหาย ส่วนเรือนำร่องของฝรั่งเศสถูกยิงชำรุด แต่เรือรบ ๒ ลำ คือเรือแองคองสตังต์และเรือโคเมตได้แล่นสู่กรุงเทพ ฯ จอดหน้าสถานทูตฝรั่งเศส ม. ปาวีร์ ได้ยื่นคำขาดให้ตอบภายใน ๔๘ ชั่วโมง ดังนี้คือ
ก. ให้ไทยยอมรับว่าดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดทั้งเกาะต่าง ๆ ในลำน้ำโขงเป็นของฝรั่งเศสทั้งสิ้น และไทยถูกบังคับให้ถอนทหารชายแดนทั้งหมด
ข. เสียค่าปรับ ค่าทำขวัญแก่ฝรั่งเศส เป็นเงินไทยประมาณ ๓ ล้านบาท และเงินฝรั่งเศส ๒ ล้านฟรังก์
ไทยขอให้เสนอมหาประเทศพิจารณา ถ้าฝรั่งเศสมีหลักฐานอ้างอิงได้ว่าดินแดนแถบนี้เป็นของญวนและเขมรก็จะยอมยกให้ ฝรั่งเศสไม่ยอมและพร้อมกันนี้ก็ประกาศปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ไทยต้องยอมทำตามคำขาดของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓ สิงาคม ๒๔๓๖
ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๔๖
ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกันเป็นเวลา ๑๐ ปี แต่เมื่อไทยได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว ฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี จันทบุรีเป็นดินแดนสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ฉะนั้น ไทยต้อทำสัญญากับฝรั่งเศสอีก ๒ ฉบับ
ฉบับที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ไทยยอมทำสัญญาแลกเปลี่ยนยอมยกเมืองจำปาศักดิ์ มโนไพร ให้แก่ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสจะยอมยกออกจากเมืองจันทบุรี แต่แล้วฝรั่งเศสก็ไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี
ฉบับที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ ไทยต้องทำสัญญาอีก กำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับเขมรโดยใช้ภูเขาบรรทัดเป็นหลัก และยกดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามเมืองหลวงพระบางให้แก่ฝรั่งเศส และให้ฝรั่งเศสเช่าที่ทำท่าเรือที่หนองคาย มุกดาหาร และปากน้ำมูลได้
ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๙
ฝรั่งเศสถอนทหารจากเมืองจันทบุรีกลางปี พ.ศ. ๒๔๔๘ แล้วไปยึดเมืองตราดเพื่อที่จะให้ฝรั่งเศสออกจากตราดไทยยอมยกขมรส่วนใน คือเมืองเสียมราฐและเมืองพระตะบองให้แก่ฝรั่งเศส ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ นอกจากจะได้เมืองตราดคืนแล้วฝรั่งเศสยังยอมให้ไทยมีสิทธิชำระคดีใด ๆ ที่ชาวฝรั่งเศสหรือคนในบังคับฝรั่งเศสเป็นโจทย์จำเลยจะต้องมาขึ้นกับศาลไทย แต่กงสุลฝรั่งเศสยังมีอำนาจเรียกคดีจากศาลไทยไปพิจารณาได้ด้วย


ไทยเสียดินแดนให้แก่อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๕๑
ไทยยอมยกเมืองไทรบุรี ปลิศ กลันตัน ตรังกานูให้แก่อังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยสิทธิให้คนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย แต่ศาลกงสุลยังคงมีอำนาจเรียกคดีไปพิจารณาได้ถ้าไม่พอใจ และรัฐบาลอังกฤษได้ให้ไทยกู้เงินมาสร้างทางรถไฟสายใต้ต่อกับมลายูอีกด้วย


เพิ่มเติม http://www.search-thais.com/thaihis/france.htm

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์