ฟันธง!!ปชป.แห้วจัดตั้งรัฐบาล แม้ศาล รธน.สั่งยุบ 3 พรรค

พรรคประชาธิปัตย์สามารถล็อบบี้ให้พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดตีจากกลุ่ม ส.ส.พรรคพลังประชาชนเดิมมาให้จับขั้วกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล โอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จมีมากน้อยแค่ไหน

หมายเหตุ"มติชนออนไลน์"-ถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทยและ มัชฌิมาธิปไตยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด หลังจากแถลงปิดคดีในวันที่ 2 ธันวาคม พบว่า จะมีกรรมการบริหารของทั้งสามพรรคการเมือง ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 109 คน แบ่งเป็น พรรคพลังประชาชน 37 คน ชาติไทย 43 คน และมัชฌิมาธิปไตย 29 คน
 
อย่างไรก็ตาม  ถ้าจะดูว่า กระทบกระเทือนต่อเสียงพรรคร่วมรัฐบาลในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่แทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ต้องพ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรีทันทีมากน้อยแค่ไหนต้องดูว่า กรรมการบริหารพรรคเหล่านั้นเป็น ส.ส.จำนวนกี่คนต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
 
เมื่อนำไปลบจากจำนวน ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 6 พรรคที่มีอยู่ทั้งหมด 316 เสียงแล้ว ยังมีเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน  ส.ส.ที่มีอยู่เท่าไหร่

จากการตรวจสอบของ"มติชนออนไลน์"มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

พรรคพลังประชาชนมีคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด 37 คน โดยในจำนวนนี้เป็น ส.ส. จำนวน 22 คน (จากทั้งหมด 233  คน เป็น ส.ส.เขต 199 คน  ส.ส.แบบสัดส่วน 34 คน) ประกอบด้วย
 
1.นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค 2.พ.ต.ท. กานต์ เทียนแก้ว 3. นายไชยา สะสมทรัพย์  4.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์   5.นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 

6.นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ 7.นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ 8.นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล  9. นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค 10.นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ รองเลขาธิการพรรค

11.นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รองเลขาธิการพรรค  12. นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เหรัญญิกพรรค 13.ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรค 14.นายศรีเมือง เจริญศิริ 15.นายทรงศักดิ์ ทองศรี

16.นายนิสิต สินธุไพร 17.นายธีระชัย แสนแก้ว  18. นายวีระพล อดิเรกสาร  (ลาออกจากรรมการบริหารพรรค 31 ต.ค.50 ) 19. นายสุทิน คลังแสง 20.นายอิทธิ ศิริลัทธยากร

21. นายกิตติกร โล่ห์สุนทร  22.นายบุญลือ ประเสริฐโสภา

อย่างไรก็ตาม มี ส.ส.แบบสัดส่วนลาออกจากตำแหน่งแล้ว 8 คนเพื่อให้ผู้สมัครในลำดับถัดไปเลื่อนอันดับขึ้นมาแทนได้ แก่  นายไชยา สะสมทรัพย์ นายศรีเมือง เจริญศิริ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ  นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี  นายสมัคร สุนทรเวช ทำให้ ส.ส.ที่เป็น กรรมการบริหารพรรคเหลือ 14 คน
 
ดังนั้น  ถ้าโดนยุบพรรค ส.ส.พรรคพลังประชาชนที่มีอยู่ทั้งหมด 233 คน จะขาดหายไปเพียง 14 คน เหลือถึง 219 คน ถ้าย้ายไปสังกัดพรรคอื่นภายใน 30 วันก็ยังคงมีสมาชิกภาพ ส.ส.อยู่
 
ส่วนคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนอีก 15 คนที่ไม่ได้เป็น ส.ส.  ได้แก่ 1.นายยงยุทธ ติยะไพรัช  2.พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์  3.นางสาวสุภาพร เทียนแก้ว  4. นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรค  5.นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองเลขาธิการพรรค
 
6.นายสุธา ชันแสง   7.นายมงคล กิมสูนจันทร์   8.พ.ต.ท. ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์  9.นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ  10 นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ(ลาออก 18 ต.ค.50)
 
11.นายมาลินี ภูตาสืบ   12. นางสาวปิยะรัตน์ เทียนแก้ว   13. นางสาวศรัญญา แสงวิมา   14.นางสาวมนัสปรียา ภูตาสืบ   15. นางสาวกาญจน์ณิชา แต้มดี

พรรคชาติไทยมีคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด 43 คน โดยในจำนวนนี้เป็น ส.ส. จำนวน 19 คน ประกอบด้วย(จากส.ส.ทั้งหมด 34 คน เป็น ส.ส. เขต30 คน ส.ส.สัดส่วน 4 คน)

1. นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค 2.นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา  3. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ 4. นายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรค 5. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ รองเลขาธิการพรรค

6. นายนพดล พลเสน รองเลขาธิการพรรค 7. นายกมล จิระพันธุ์วาณิช 8. นายกูเฮง ยาวอหะซัน 9. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์  10. นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ 11. นายยุทธนา โพธสุธน 

12. นายรัฐกิตติ์ ผาลีพัฒน์ 13. นายวราวุธ ศิลปอาชา  14. นายศักดิ์ชัย จินตะเวช 15. นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร   16. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ 17. นายเอกพจน์ ปานแย้ม  18. นายเสมอกัน เที่ยงธรรม  19นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล 

ขณะนี้ยังไม่มีใคร ลาออกจาก ส.ส.แบบสัดส่วน ดังนั้น ถ้าโดนยุบพรรคจะเหลือ  ส.ส.ในพรรคเพียง 15 คน( 34-19)

ส่วนคณะกรรมการบริหารพรรคชาติไทยอีก 24 คนที่ไม่ได้เป็น ส.ส. ประกอบด้วย
 
1.นายวินัย วิริยกิจจา   2. นายจองชัย เที่ยงธรรม   3. นายอนุรักษ์ จุรีมาศ  4.นายนิกร จำนง  5. นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
 
6. นายเกษม สรศักดิ์เกษม รองเลขาธิการพรรค  7. นางสาวจนิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ รองเลขาธิการพรรคและโฆษกพรรค 
 
8. นายมณเฑียร สงห์ประชา รองเลขาธิการพรรค (ถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง) 9. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ เหรัญญิกพรรค 10. นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ 

11. นางบุปผา อังกินันท์   12. นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย   13. นายปฐมพงศ์ สูญจันทร์   14. นางสาวปอรรัชม์ ยอดเณร   15.. นายมงคล โค้ววัฒนะวงษ์รักษ์  16. นายวิพัฒน์ คงมาลัย 

17. นายวิรัช พิมพะนิตย์  18. นายวิชิต แย้มบุญเรือง  19. นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง   20. นายสมชาย ไทยทัน   21. นางสาวสุภัตรา วิมลสมบัติ  22. นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล   23. นายอมร อนันตชัย   24. นายกฤชชัย มรรคยาธร

สำหรับ คณะกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย 29 คน ไม่มีบุคคลใดเป็น ส.ส.เลย

จากตัวเลขดังกล่าวพบว่า ส.ส.พรรคพลังประชาชน ต้องหลุดจากตำแหน่ง 14 คน จาก 233 คน เหลือ 219 คน 
 
ส.ส.พรรคชาติไทย หลุดจากตำแหน่ง 19 คน จาก 34 คน เหลือเพียง 15 คน
 
รวม ส.ส.ที่หลุดจากตำแหน่ง 33 คน ทำให้ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลที่เดิมมีอยู่ทั้งหมด 316 คน เหลือ 283 คน

ขณะที่ ส.ส.ทั้งสภาเหลือ 447 คน(ยังไม่มีการเลือกตั้งซ่อม) จำนวนเกินกึ่งหนึ่งคือ 224 คน
 
ดังนั้น ส.ส. รัฐบาล มีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งถึง 59 คน  ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ มีส.ส.เพียง 164 คน

แต่ถ้าหลังคดียุบพรรค สมมุติว่า พรรคประชาธิปัตย์สามารถล็อบบี้ให้พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดตีจากกลุ่ม ส.ส.พรรคพลังประชาชนเดิมมาให้จับขั้วกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล โอกาสที่พรรคประชาธิปัตย์จะจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จมีมากน้อยแค่ไหน(ไม่พูดถึงเงื่อนไขการยุบสภา)

คำนวณในทางคณิตศาสตร์แล้วพบว่า ประชาธิปัตย์มี 164 เสียง บวก ชาติไทย 15 เสียง  เพื่อแผ่นดิน 24 เสียง มัชฌิมาธิปไตย 11 เสียง  รวมใจไทยชาติพัฒนา 9 เสียง ประชาราช 5 เสียงแล้ว จะทำให้มีเสียงทั้งหมด 228 เสียง เกินกึ่งหนึ่ง 224 เสียง ไป4 เสียง

นับว่าอันตรายอย่างยิ่ง!!
 
ยิ่งรัฐธรรมนูญห้ามรัฐมนตรีที่เป็น ส.ส.ออกเสียงลงคะแนนที่เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่หรือการมีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนั้น(มาตรา177วรรคสอง)
 
ดังนั้น ถ้ามีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีทั้งคณะรับรองว่า แพ้เสียงโหวตในสภาอย่างแน่นอน

นอกจากนั้นดูจากอาการของพรรคร่วมรัฐบาลในช่างที่ผ่านมาแล้วซึ่งกอดคอร่วมหัวจมท้ายกับพรรคพลังประชาชนมาตลอดแล้ว ยากที่จะพลิกขั้วมารวมกับประชาธิปัตย์
 
ยังมีเงื่อนไขอีกว่า ถ้ามีการเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่าง พรรคประชาธิปัตย์มีโอกาสมากน้อยขนาดไหน
 
คำตอบคือ ไม่มีโอกาสเป็นไปได้ เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นฐานคะแนนเสียงของกลุ่ม ส.ส.พลังประชาชนและกลุ่ม ส.ส.ชาติไทยท
 
จึงฟันธงว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินให้ยุบทั้งสามพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค ประชาธิปัตย์ก็ยังคงแห้วเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลอยู่ดี

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์