เชื่อมั่นในระบบศาลไทย ยุติธรรม-มีมาตรฐานเดียว

นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ระบุว่าจะขอลี้ภัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ และชี้แจงเหตุผลที่ไม่ได้เดินทางไปรายงานตัวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีซื้อขายที่ดินย่านรัชดาฯ รวมทั้งให้เหตุผลมีการการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ในรายการที่นี่ทีวีไทย ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส วานนี้ (11 ส.ค.) ว่า การปฏิบัติงานของ คตส.ที่ผ่านมาว่า ปฏิบัติงานตามกฎหมาย ตามระเบียบแบบแผน ไม่ได้มีความคิดที่มีอคติ หรือตั้งธงไว้ก่อน
เมื่อถามถึงกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เดินทางกลับประเทศจะมีผลต่อการพิจารณาคดีที่กำลังรออยู่ในศาลหรือไม่ อดีตประธาน คตส. กล่าวว่า คงไม่ เนื่องจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของนักการเมือง สามารถพิจารณาลับหลังจำเลย ได้ ส่วนคดีที่ดินรัชดาฯ ไม่มีปัญหา คาดจะเป็นไปตามกำหนดเดิม  ผมเดาใจพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ถูก กรณีขอลี้ภัย ท่านคงกลัวมีโทษ เพราะเห็นว่า ในคดีของศาลฎีกาของนักการเมือง ไม่มีอุทธรณ์ ฎีกาอดีตประธาน คตส. กล่าว ด้านศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า การตีความแถลงการณ์ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละกลุ่ม ซึ่งก็มีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน หากในมุมมองของศาลก็อาจเป็นลักษณะไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ศาลก็จะเสียหาย แต่ลักษณะของกระบวนการยุติธรรม ที่เป็นคดีทางการเมือง ที่มีการพูดว่า ไม่ยุติธรรม มักจะเกิดกรณีการจัดตั้งศาลพิเศษ พิจารณาตัดสิน กรณีนี้มีการตั้ง คตส.ไม่ใช่ศาล แต่ทำหน้าที่ไต่สวน การพิพากษา เป็นเรื่องของศาลปกติ โดยความเป็นจริงหากข้อมูล หลักฐานไม่มีน้ำหนัก ศาลจะยกฟ้อง  เวลาศาลตัดสินคนที่ชนะก็จะเคารพคำตัดสินของศาล คนที่แพ้ก็มักจะรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม เป็นธรรมชาติของมนุษย์ คนอื่นฟังแต่ไม่เห็นข้อมูล แต่ศาลได้เห็นหลักฐานของทั้ง 2 ฝ่าย ผู้พิพากษามีประสบการณ์ยาวนานในวิชาชีพ เราให้ความสำคัญกับคดีทางการเมือง ว่า ต้องถูกการกลั่นกรองจากผู้มีประสบการณ์จริงๆ ให้เป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง ต้องผ่านประสบการณ์การวินิจฉัยปัญหาอย่างเชี่ยวชาญ ผมเชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยในระบบกระบวนการยุติธรรม แม้ขั้นต้นบอกว่า จะมาโดยน่าสงสัย แต่หากนำขึ้นไป แล้วข้อมูลไม่น่าเชื่อถือศาลจะยกฟ้อง อธิการบดีนิด้า กล่าว  ศ.ดร.สมบัติ กล่าวด้วยว่า ตนเชื่อมั่นระบบศาลของไทย ว่า มีมาตรฐานเดียว เชื่อในความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของท่าน หากเราไม่เชื่อในระบบศาล ตนคิดว่าประเทศไทยอยู่อยาก ทั้งนี้กรณีคุณหญิงพจมาน คดีเลี่ยงภาษีฯ ยังไม่ยุติ อาจไม่ใช่อย่างนั้นก็ได้ เพราะมีเรื่องของการอุทธรณ์ ฎีกา กลไกของกระบวนการยุติธรรมให้ความยุติธรรมเต็มที่ หมายความว่าต้องผ่านผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายที่พิจารณาไต่ตรองอย่างรอบคอบ 

ส่วนศ.ดร ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต กล่าวถึงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ว่า ในกรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ในคดีอาญา ต้องส่ง กรณีมีข้อตกลง แต่ถ้าไม่ส่ง ต้องมีเหตุผลว่า ไม่ไว้ใจในกระบวนการยุติธรรม กรณีในแถลงการณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ระบุ ไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม เพื่อหาเหตุผล จะจริงหรือไม่จริง เป็นอีกเรื่องหนึ่ง


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์