ทักษิณ เมินไม่ชี้แจง กกต.คดีนอมินี

ความคืบหน้าการสรุปสำนวนคดี พรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทยนั้น
 
เมื่อวันที่ 25 เม.ย. นายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ ประธานคณะอนุกรรมการสอบสวนฯ กล่าวว่า สามารถส่งผลสรุปสำนวนให้ กกต.พิจารณาได้ทันที โดยไม่ต้องรอคำชี้แจงจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯได้ส่งหนังสือเชิญ ไป 4 ครั้ง ก็ไม่มีคนรับ แม้จะให้คนนำหนังสือไปยัดใส่ ในมือ รปภ.หน้าบ้าน พ.ต.ท.ทักษิณแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ได้โทรศัพท์ติดต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ และทนายความส่วนตัว แต่ก็ไม่มีคนรับโทรศัพท์เช่นกัน ทางคณะอนุกรรมการถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ติดใจที่จะให้การ เพราะอาจเห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวกับตน จึงไม่อยากมาแก้ตัว ทั้งนี้ ในสำนวน ที่ส่งให้ กกต.จะไม่มีความเห็น แต่มีเพียงข้อเท็จจริงจากการสอบเพิ่มเติมทั้งหมด รวมทั้งข้อกฎหมายและเรียนใน ท้ายหนังสือว่า ไม่สามารถได้ข้อเท็จจริงเพิ่มจาก พ.ต.ท. ทักษิณ แต่เชื่อว่าผลสรุปที่เสนอให้กับ กกต.จะสามารถพิจารณาได้ทันที ไม่จำเป็นต้องสอบเพิ่มในประเด็นใดอีก

“อภิชาต” ระบุพิจารณาลำบากไม่มี ก.ม.


นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการ เลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า

แม้ พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่มาให้ คำชี้แจงก็ไม่มีปัญหา เพราะสามารถส่งเป็นเอกสารชี้แจงได้ คงไม่จำเป็นต้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณมาอีก เพราะให้โอกาสมาพอสมควรแล้ว ส่วนการพิจารณาของ กกต.นั้น จะดูจาก ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเป็นหลัก แต่ก็ยอมรับว่าการพิจารณาอาจจะลำบาก เพราะในกฎหมายไม่มีเรื่องนอมินี


นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารเลือกตั้ง กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า

ต้องดูสำนวนจากคณะอนุกรรมการก่อนว่าเป็นอย่างไร แต่หากข้อเท็จจริงยังไม่ครบถ้วน ก็ ต้องเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณมาให้คำชี้แจง เนื่องจากกรณีนี้เกี่ยว ข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณมากพอสมควร ทั้งนี้ ไม่คิดว่าเป็นการยื้อเวลา เพราะเมื่อ กกต.พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็ต้องได้ข้อเท็จจริงครบถ้วน เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญ หากต้องใช้เวลาก็ต้องยอม


“วิรุฬ-ไชยา” หาข้อยุติพร้อมกัน


นายอภิชาตกล่าวถึงกรณีที่ ป.ป.ช.เตรียมส่งเรื่องการถอดถอนนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ พ้นจาก รมช.พาณิชย์ เนื่องจากถือหุ้นเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด มาให้ กกต.รับทราบว่า กกต.ยังไม่ได้รับแจ้งจาก ป.ป.ช. แต่ในที่ประชุม กกต.เห็นว่า ควรนำกรณีดังกล่าวมาพิจารณาพร้อมๆกับกรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข เพราะเป็นกรณีแบบเดียวกัน


นายประพันธ์กล่าวว่า

ต้องส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการ ดูข้อกฎหมาย เพราะต้องการความรอบคอบเหมือนกับทำสำนวนคดีความต่างๆ โดยอาจจะต่างกับการเสนอชื่อถอด ถอนของวุฒิสภา ที่สามารถนำรายชื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนได้ทันที


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์