สงค์ไม่เชื่อแม้ววางมือ

น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตสมาชิกสภานิติบัญ ญัติแห่งชาติ (สนช.)

กล่าวก่อนเข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อ "เมืองไทยจะเป็นอย่างไร หากพ.ต.ท. ทักษิณกลับมา" ว่า คิดว่าสิ่งที่พ.ต.ท. ทักษิณพูดว่า จะวางมือทางการเมืองยังไม่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีได้ใช้วิธีการเดียวกับการบริหารทีมฟุตบอล ซึ่งเจ้าของทีมจะบริหารผ่านผู้จัดการทีมและผู้เล่น และสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้จัดการทีมจะติดต่ออย่างใกล้ชิดกับเจ้าของทีม ส่วนผู้เล่นก็เป็นหน้าเก่าที่ย้ายพรรคมาจากพรรคการเมืองที่ ถูกยุบ

น.ต.ประสงค์กล่าวว่า ขณะนี้มีคำขอร้องจากประชาชนว่า

เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับมาขึ้นศาลในฐานะจำเลย ก็ไม่ควรเข้าไปแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ ผู้ที่ออกมาแสดงความกังวลก็ดูจากพฤติกรรมที่ผ่านมาในอดีต ที่เห็นว่ามีการแทรกแซงไปหมด ทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ จึงขอร้องอย่าเข้าไปแทรกแซงจนทำให้เกิดความวุ่นวาย

น.ต.ประสงค์กล่าวด้วยว่า ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นหรือไม่ ให้ดูจากสาเหตุ

หากรัฐบาลสามารถบริหารโดยแก้ปัญหาของประชาชนและวิกฤตของชาติได้สำเร็จก็ไม่เกิดวุ่นวาย แต่หากมีการสร้างปัญหา หรือทำให้เกิดผลเสีย โดยการแทรกแซงจะทำให้เกิดความวุ่นวายได้

"ผมฝากถึงคนที่ชอบใช้ความคิดอย่างสายฟ้าแลบ ที่พออะไรผ่านเข้ามาในหัวก็พูด ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาพูดหลายเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในคำแถลงนโยบาย เพียงแต่นึกขึ้นได้ก็เอามา พูด ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนว่า นั่นคือนโยบายของรัฐบาลหรือไม่" น.ต.ประสงค์ กล่าว



น.ต.ประสงค์กล่าวด้วยว่า หลังจากที่ พ.ต.ท. ทักษิณกลับมาแล้วจะต้องดำเนินการ 5 เรื่องใหญ่คือ

1.แก้ตัว 2.แก้ต่าง 3.แก้คดี 4.แก้แค้น และ5.แก้รัฐธรรมนูญ เชื่อว่าทั้ง 5 แก้นี้จะทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างมากในอนาคต โดยเฉพาะการโยกย้ายอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ผ่านมา หรือโยกย้ายบุคคลต่างๆ ในองค์กรยุติธรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขคดีของตนเอง เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่มั่นใจว่าคำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีการเลือกตั้งว่าจะออกมาอย่างไร ดังนั้นจึงต้องหาช่องทางที่จะผ่อนหนักให้เป็นเบา รวมถึงหาช่องทางที่จะลี้ภัยการเมืองไปอยู่ในต่างประเทศด้วย อีกทั้งในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอีกเรื่องที่อยากฝากให้สังคมช่วยติดตามว่า การที่มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีการแก้ไขในประเด็นใดบ้าง เป็นการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ เปิดช่องให้เข้าสู่การเมืองได้ง่ายขึ้นหรือไม่

"ในอนาคตการเมืองไทยยังคงจะต้องเกิดปัญหาความขัดแย้งรุนแรง ความสงบเรียบร้อยจะไม่เกิดขึ้น นอกจากความขัดแย้งฝ่ายการเมืองด้วยกันแล้ว ความขัดแย้งต่ออารมณ์ความรู้สึกของภาคประชาชนจะสูงขึ้น องค์กรที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบกับผู้บริหารจะต้องถูกกลั่นแกล้งรังแก อีกทั้งปัญหาความมั่นคงในชายแดนภาคใต้ ซึ่งสถานการณ์เลวร้ายกว่าเก่ามาก แต่รัฐบาลยังไม่เคยมีใครออกมาบอกว่าควรแก้ไขด้วยวิธีการอย่างไร ได้แต่เพ้อเจ้อเรื่องโน้นนี้ ดังนั้นประชาชนจึงจำเป็นจะต้องอยู่ในอารยะขัดขืน ต่อต้านในรูปแบบต่างๆ หากเป็นเรื่องที่ไม่มีความชอบธรรม เพื่อต่อสู้กับพวกอนารยะดื้อด้าน" น.ต.ประสงค์กล่าว

หวั่นการเมืองแทรกแซงส.ว.เลือกตั้ง


น.ต.ประสงค์ยังกล่าวถึงกรณีที่ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งได้ประชุมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของประธานวุฒิสภาว่า ตำแหน่งประธานวุฒิสภาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสมาชิก ซึ่งคิดว่า ประธานวุฒิสภาต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ในการทำหน้าที่ควบคุมการประชุม ควบคุมสถานการณ์ และเป็นที่ยอมรับของสมาชิก นอกจากนี้ต้องเป็นคนที่ตรงไปตรงมา เป็นอิสระจากการเมืองและมีความแม่นยำในระเบียบข้อบังคับการประชุม กรณีส.ว.เลือกตั้งประชุมกันนั้นถือเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ เพราะเกรงว่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงวุฒิสภา เนื่องจาก ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งได้ใช้ฐานเสียงของนักการเมือง จึงอาจมีการแทรกแซงได้ ส่วนประธานวุฒิสภาจะมาจากส.ว.ระบบใดก็ได้

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์