โยนสนช.ตัดสินเอ็มโอยู อ้างบทบัญญัติรธน.ใหม่

มีการหารือเกี่ยวกับที่สหภาพยุโรป (อียู) จะขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในไทย


จากกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) จะขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในไทย และยืนยันให้ไทยลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) นั้น วันนี้ (
7 ก.ย.) นางสดศรี สัตยธรรม คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ยืนยันว่าการลงนามเอ็มโอยูจะต้องได้รับการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามบทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เนื่องจากเข้าข่ายการทำสัญญาระหว่างประเทศ จึงเตรียมนำเสนอเข้าที่ประชุม กกต.ให้ส่งเรื่องไปยัง สนช. พิจารณา ซึ่ง กกต.จะยอมรับและปฏิบัติตามการพิจารณาของ สนช. เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  

อย่างไรก็ตาม นางสดศรียังคงยืนยันว่า กกต.ทั้ง
5 คน เห็นสอดคล้องกันว่าไม่มีความจำเป็นต้องลงนามเอ็มโอยู

เพื่อให้กลุ่มประเทศอียูเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้ง แม้อียูจะยอมผ่อนปรนเงื่อนไขบางประการในเอ็มโอยูก็ตาม
นอกจากนี้ นางสดศรี ยังชี้แจงกรณีที่กรรมการ กกต.คนอื่นๆ ไม่เข้าร่วมหารือกับผู้แทนอียูวานนี้ เนื่องจากไม่ต้องการให้ผลการหารือเป็นข้อผูกมัด หรือเป็นเงื่อนไขและข้ออ้างของกลุ่มประเทศอียู

ผู้แทนจากกลุ่มสหภาพยุโรปโดยมีนายอันเดอนีโอ เดอ ฟาเรีย อี มายา เอกอัครราชทูตโปรตุเกส ประจำประเทศไทยเป็นประธานในการประชุม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (
6 ก.ย.) ผู้แทนจากกลุ่มสหภาพยุโรปโดยมีนายอันเดอนีโอ เดอ ฟาเรีย อี มายา เอกอัครราชทูตโปรตุเกส ประจำประเทศไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย และนายเฟรดดริด ฮัมบัวร์เกอร์ เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ได้เข้าพบนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ก่อนที่จะไปประชุมร่วมกับนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. 

ต่อมา นายเฟรดดริด ฮัมบัวร์เกอร์ เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังการหารือว่า

วันนี้เป็นการเจรจาหารือเพื่อเปิดใจกัน ได้อธิบายข้อกังขาต่างๆที่มีการเข้าใจผิดกัน และได้แสดงความเสียใจที่มีข้อมูลที่ผิดพลาดออกไปทางสื่อมวลชน แต่ไม่ได้เป็นการเจรจาเพื่อหาข้อสรุป แต่อย่างน้อยควรได้รับคำตอบก่อนการเลือกตั้ง
2 เดือน เพื่อให้สหภาพยุโรปได้เตรียมการ โดยเจ้าหน้าที่ที่จะส่งเข้ามานั้นอยู่ที่ประมาณ 100-150 คน ทั้งนี้ เนื้อหาของเอ็มโอยูเป็นเพียงร่างเบื้องต้น หากทางรัฐบาลไทยตกลงทำสัญญา หลังจากนั้นก็จะมีการเจรจากันเพื่อปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับกฎหมายของไทย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการเข้ามาสังเกตการณ์ครั้งนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือได้รับอิทธิพลจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้หากรัฐบาลไทยไม่ตกลงให้สหภาพยุโรปเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้ง ก็จะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์