รับไม่รับรธน. คนกรุงยังไม่ตัดสินใจ

กลุ่มรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาพร้อมปฏิบัติการ แดงไม่รับ


เมื่อช่วงสายวันที่ 5 ส.ค.กลุ่มธรรมาธิปไตยและนายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนำเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) รุ่น 2 จำนวนประมาณ 10 คน สวมเสื้อสีแดงและสีดำ มีอักษร vote no เดินทางมาที่เมืองทองธานี ซึ่งมีการจัดงานมหกรรมประชาธิปไตย ปฏิญญาพัฒนาการเมืองไทย 2550 โดยกลุ่มรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาพร้อมปฏิบัติการ “แดงไม่รับ” ยังได้นำพานรัฐธรรมนูญจำลองที่เขียนข้อความว่า “รัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการ” มาวางคว่ำไว้ พร้อมทั้งเปิดปราศรัยเชิญชวนให้ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และแจกเอกสารให้กับประชาชนที่เดินทางมาร่วมชมงานมหกรรมประชาธิปไตยฯ  


ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำงานได้เข้ามาพูดคุยกับผู้แทนกลุ่มดังกล่าว

เพื่อขอร้องให้ออกไปนอกสถานที่ จึงมีการถกเถียงกันเล็กน้อย โดยทางกลุ่มระบุว่า การกระทำของตนเองเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้เชิญให้ออกไปข้างนอก ซึ่งแกนนำยังคงกล่าวปราศรัยและแจกเอกสารต่อไป โดยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลความสงบเรียบร้อยอย่างใกล้ชิด 

ขณะที่เมื่อเวลา 13.00 น. ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ กลุ่มนักวิชาการอิสระ ภายใต้กลุ่มคณะนักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี หรือ ค.ป.ส. จัดงานเสวนาเรื่อง “สิทธิมนุษยชนกับวิกฤติกระบวนการยุติธรรมในระบอบรัฐประหาร คมช.” 

จากการติดตามและประเมินความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน

โดยนายพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (มธ.) นายวรพล  พรหมิกบุตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาฯ มธ. และนายวสันต์ ลิมป์เฉลิม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.ราชภัฏธนบุรี 3 แกนนำ ค.ป.ส. ออกแถลงการณ์ว่า จากการติดตามและประเมินความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน ขณะนี้ ค.ป.ส.มีความมั่นใจว่า ประชาชนทั่วประเทศพร้อมจะแสดงพลังไปลงประชามติไม่รับรัฐธรรมนูญ 2550 ในวันที่ 19 ส.ค.นี้ เนื่องจากทุกคนได้รับรู้แล้วว่ารัฐธรรมนูญ 2550 นั้นจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากขนาดไหน โดยการตัดสิทธิไม่ให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกตั้ง ส.ว.อีก 74 คน เว้นแต่ว่า คมช. และรัฐบาลจะเอาชนะด้วยวิธีการโกง โดยการขนไปลงประชามติ เป็นการนำปืนไปบีบบังคับประชาชนให้เลือกรับรัฐธรรมนูญ ซึ่ง ค.ป.ส.ไม่มีทางยอมรับประชามติดังกล่าวและจะร่วมกับประชาชนต่อสู้ให้ถึงที่สุด 


เรียกร้องให้ทุกฝ่ายจะต้องไม่ชี้นำการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
 
ทางด้านนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ก็เปิดแถลงข่าวเรียกร้องให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะรัฐบาลและ คมช.จะต้องไม่ชี้ นำการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่ควรสนับสนุนให้สื่อ มวลชนของรัฐเปิดเวทีให้มีการดีเบตของทั้ง 2 ฝ่าย อย่างต่อเนื่อง สำหรับจุดยืนของ ครป.ได้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 แบบมีเงื่อนไข

โดยหากร่างรัฐธรรมนูญผ่านจะมีการผลักดันให้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ทั้งนี้หากร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านอาจเกิดโรคแทรกซ้อนทางการเมืองได้ โดยเฉพาะขบวนการฉวยโอกาสของขั้วอำนาจเก่าที่จะยกเป็นข้ออ้างในการปลุกระดมมวลชน เพื่อทวงคืนอำนาจให้กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง กรณีกระแสข่าวมีการจ่ายเงินให้ประชาชนลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วย 


เผยผลสำรวจในกรุงเทพฯ กว่า 60% ยังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ


นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน ศูนย์ทำโพลสองสถาบันการศึกษาชื่อดัง ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงและปริมณฑล เกี่ยวกับการรับรู้เรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยศูนย์วิจัยกรุงเทพโพล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ จำนวน 1,095 คน เกี่ยวกับเรื่อง “ประชามติรัฐธรรมนูญปี 50” ผลปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.6 ระบุว่า ยังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ

ในส่วนของประชาชนที่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้ว

มี อยู่ร้อยละ 37.4 ปรากฏว่ามีร้อยละ 19.3 ระบุว่าไม่เข้าใจในเนื้อหาและสาระของร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนที่บอกว่าเข้าใจมีเพียงร้อยละ 18.1 และเมื่อถามว่า มีประเด็นไหนที่เห็นด้วยมากที่สุด ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 32.8 ระบุว่าไม่ทราบ ร้อยละ 26.2 ไม่ได้ระบุไว้ และร้อยละ 11.9 ระบุว่า ประเด็นสิทธิเสรีภาพ และเมื่อถามว่า มีประเด็นไหนที่ไม่เห็นด้วย ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ทราบเช่นกัน สำหรับความเห็นถึงการได้รับ ทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงประชามติว่าเพียงพอหรือไม่ ปรากฏว่าร้อยละ 58.8 ระบุว่าไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างมากถึงร้อยละ 60.4 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิลงประชามติ

และมีอีกร้อยละ 31.2 ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ

เมื่อถามว่าจะลงประชามติ “เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ พบว่าร้อยละ 34.8 ระบุว่าจะเห็นชอบ ร้อยละ 10.0 ระบุว่าไม่เห็นชอบ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.2 ยังไม่ได้ตัดสินใจ  ส่วนศูนย์วิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 2,135 คน เกี่ยวกับการดีเบตร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าคนกรุง ร้อยละ 68.5 ไม่ได้ติดตามเลย


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์