ยุทธการโอเลี้ยงข้าวผัด ความผิดพลาดของ นปก.

ยุทธการโอเลี้ยงข้าวผัด ความผิดพลาดของ นปก.

โฉมหน้าแกนนำที่ยั่วยุผู้ชุมนุม

น่าจะเป็นความผิดพลาดทางด้านยุทธศาสตร์อย่างแรง กรณีกลุ่มกนปก.กจัดชุมนุมประท้วงหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพื่อยั่วยุให้ทหารในกองทัพโกรธและใช้ความรุนแรง เพราะพอถึงเวลาลงมือจริง ผลลัพธ์ กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น

   แกนนำกลุ่ม นปก. อาจมีความเชื่อว่า เมื่อเกิดการปะทะเสียเลือดเนื้อแล้ว ภาพที่ปรากฏทางสื่อมวลชนจะกระตุ้นให้ชนชั้นกลางเกิดความเห็นใจและเข้าร่วมต่อต้าน คมช. และรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์   จุลานนท์ ลุกลามบานปลายคล้าย ๆ กับเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ พฤษภาทมิฬ 2535 แต่ปรากฏว่า หลังจากตำรวจจับกุม 9 แกนนำ นปก. ที่ศาลอาญาพร้อมกับขอฝากขัง ก็ไม่ได้มีปฏิกิริยาต่อต้านใด ๆ มีเพียงคำเรียกร้องของแกนนำ นปก. อื่น ๆ ขอให้ปล่อยตัวเท่านั้น

 หากพิจารณาย้อนหลังกลับไป การจัดชุมนุมประท้วงเพื่อให้ประชาชนจำนวนมากเข้าร่วมไม่ใช่เรื่องที่กระทำได้ง่าย นายพิรุณ ฉัตรวณิชกุล อดีตผู้นำนักศึกษายุค 14 ตุลา 2516 เคยสรุปบทเรียนเอาไว้ว่า การจะดึงประชาชนออกมาจากบ้านเพื่อร่วมชุมนุมนั้น ประเด็นที่นำมาเคลื่อนไหวจะต้องเป็นเรื่องของประโยชน์ส่วนรวม และใหญ่จริง ๆ หรือใหญ่ขนาดที่ว่า พอฟังแล้วก็ไม่สามารถทนอยู่ในบ้านได้ จะต้องออกมาร่วมกับกลุ่มนักศึกษา


ในยุค 14 ตุลา 2516 นักศึกษาเลือกประเด็นที่นำมาเคลื่อนไหวชุมนุมล้วนแต่มีผลกระทบกับประชาชนทั้งสิ้น

ชนตร.ขาหัก

เช่น การคัดค้านการขึ้นค่ารถเมล์ การต่อต้านภัยขาว หรือไล่ฐานทัพสหรัฐ การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และท้ายสุดก็มาถึงเรื่องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

 ขณะที่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 มีชนวนเหตุมาจากการผิดคำพูดของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ประกาศในช่วงที่เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ ว่า จะไม่สืบทอดอำนาจ แต่พอถึงเวลาจริงก็วางแผน สืบทอดอำนาจโดยไปต้อน ส.ส.จากพรรคอื่น ๆ เข้ามารวมอยู่ในพรรคสามัคคีธรรมจนมีจำนวนมาก สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎร

 จนกระทั่งถึงขั้นตอนการสรรหาตัวนายกรัฐมนตรี นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ถูกเจาะยางด้วยการปล่อยข่าวเรื่องบัญชีดำของสหรัฐ อันเป็นข้ออ้างของ รสช. ที่จะส่ง พล.อ.สุจินดา ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี

 ประชาชนจึงเกิดความไม่พอใจอย่างแรงและลุกฮือขึ้นต่อต้านจนกลายเป็นเหตุจลาจลกลางเมือง


เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงจากทั้ง 2 เหตุการณ์ข้างต้นแล้ว เงื่อนไขการนัดชุมนุมของ นปก. ยังห่างไกลอยู่มาก ด้วยเหตุผลดังนี้

ทำลายกระจกร้านสโมสรแม่บ้าน ทบ. จนแตกละเอียด

ประการที่ 1 การเคลื่อนไหวของกลุ่ม นปก. แม้จะประกาศเจตนารมณ์เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร แต่ประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นกลางซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองสูงในพื้นที่ กทม. ก็รู้เท่าทันว่า นปก. มีวาระซ่อนเร้น เนื่องจากเป็นการต่อสู้เพื่อที่จะเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง อีกทั้งการเคลื่อนไหวไม่แนบเนียนจนผู้คนรู้ว่า การจัดตั้งพีทีวีด้วยเงินทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อทำธุรกิจสื่อมวลชนจริงจัง แต่ต้องการยั่วยุเพื่อให้ถูกปิด จะได้นำไปเป็นเงื่อนไขโจมตีว่า รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ คุกคามสื่อมวลชน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สูญเสียความชอบธรรม

 เมื่อการเคลื่อนไหวของพีทีวี ไม่มีความก้าวหน้า จึงเปลี่ยนสภาพมาเป็นกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) แต่การไปจับมือกับกลุ่มคนรักทักษิณจัดชุมนุมที่ท้องสนามหลวง หรือการนำวีซีดีการปราศรัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาเปิดให้ประชาชนชม ก็ทำให้หนีภาพของการเคลื่อนไหวเพื่อรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปไม่พ้นอยู่ดี


ทุบกระจกรถตำรวจ

ประการที่ 2 เมื่อการเคลื่อนไหวของ นปก. เป็นไปเพื่อรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยลืมนึกไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นปฏิปักษ์กับชนชั้นกลาง ซึ่งไม่พอใจนโยบายประชานิยมที่เอาภาษีของชนชั้นกลางไปโปรย ให้กับรากหญ้าหวังสร้างคะแนนนิยม ดังนั้นชนชั้นกลางซึ่งเป็นมวลชนสำคัญในพื้นที่ กทม. จึงไม่ออกมาร่วมชุมนุมกับ นปก. ตั้งแต่ต้น และรู้สึกไม่พอใจ นปก.ด้วยซ้ำ เนื่องจากชนชั้นกลางต้องการให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด แต่การชุมนุมของ นปก. อาจทำให้เกิดเหตุแทรกซ้อนและทำให้การเลือกตั้งต้องล่าช้าออกไป

ทุบกระจกหน้าป้อมยามบ้านสี่เสาเทเวศร์

ประการที่ 3 การมุ่งโจมตี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า อยู่เบื้องหลังการยึดอำนาจนั้น ไม่ได้ทำให้ นปก. เป็นฝ่าย ที่มีความชอบธรรม เพราะไม่มีหลักฐานใด ๆ ยืนยันได้ว่า พล.อ.เปรม ไปยุ่งเกี่ยวกับการรัฐประหาร ในขณะที่ พล.อ.เปรม เป็นผู้ที่มีคนเคารพรักเป็นจำนวนมาก หรืออย่างน้อยก็เป็นประชาชนที่สมควรได้รับการคุ้มครองจากรัฐ เมื่อมีกลุ่มคนไปคุกคามด่าทอถึงหน้าบ้าน ตำรวจจะต้องเข้าไปดูแลรักษาความสงบ

 ดังนั้นแผนการโจมตี พล.อ.เปรม ไม่สามารถสร้างผลสะเทือนไปถึง คมช. และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ความชอบธรรมของกลุ่ม นปก. ลดลงไปเรื่อย ๆ จนมีผู้คนเอาไปล้อเลียนว่า เป็น “หน่วยปฏิบัติการปั่นป่วนและก่อกวน”


รุมทำร้ายคนขับรถขยะ

ประการที่ 4 คมช. และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เรียนรู้บทเรียนจากรัฐบาลทหารในอดีต จึงใช้ความอดทนต่อสู้กับ นปก. เพื่อเอาชนะทางการเมือง นั่นคือ ประชาชนเกิดความเห็นใจและอยากให้รัฐบาลประคองบ้านเมืองไปสู่การเลือกตั้งด้วยความเรียบร้อย เว้นเสียแต่ว่า รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ คมช. แสดงท่าทีเหลิงอำนาจ แสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถาง หรือรังแก นปก. ด้วยอำนาจที่ไม่ชอบธรรม ก็จะทำให้มวลชนส่วนหนึ่งเกิดความเห็นใจและเข้าร่วมชุมนุมในที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลและ คมช. ใช้อำนาจด้วยความระมัดระวัง อีกทั้งการดำเนินการกับ นปก. ก็อยู่บนฐานของกระบวนการยุติธรรม

ปาก้อนอิฐโดนกันเองจนบาดเจ็บ

ประการที่ 5 ขาดการสร้างแนวร่วมด้วยข้อจำกัดของเงื่อนไขการเคลื่อนไหว ที่เป็นเรื่องของการรับใช้ตัวบุคคล ไม่ใช่ประเด็นสาธารณะที่เป็นปัญหาของบ้านเมือง ดังนั้น นปก. จึงขยายแนวร่วมได้ยาก ยกเว้นแต่ผู้ที่เคยได้รับประโยชน์หรือเป็นหนี้บุญคุณกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เท่านั้น

ด้วยเหตุปัจจัยทั้ง 5 ประการนี้ ทำให้การจับกุมแกนนำ นปก. 9 คนไปดำเนินคดี และถูกคุมขังอยู่นั้น

ปาก้อนอิฐใส่ตํารวจ

 ไม่สามารถนำไปใช้เป็นชนวนเหตุเพื่อก่อการชุมนุมครั้งใหญ่ ดั่งเช่นเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร สั่งจับผู้นำนักศึกษาและอาจารย์ 13 คนที่แจกแผ่นปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังแตกต่างจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เพราะ คมช. และรัฐบาลยังไม่เคยแสดงท่าทีตระบัดสัตย์ โดยเฉพาะ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ประกาศจะใช้เวลาปฏิรูประบบการเมือง 1 ปี เมื่อรัฐบาลประกาศชัดแล้วว่า จะจัดการเลือกตั้งได้ทันในช่วงปลายเดือน พ.ย. หรือต้นเดือน ธ.ค. ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเงื่อนไขปลุกระดมให้ผู้คนเข้าร่วมชุมนุม

โยนรั้วใส่ตำรวจที่เข้าไปตั้งหลักในสโมสร ทบ

 ประการสำคัญที่ นปก. ลืมนึกถึงนั่นก็คือ เมื่อแกนนำรุ่นแรกถูกจับกุมแล้ว ก็มีการแต่งตั้งแกนนำรุ่นที่ 2 อีก 9 คนมาดำเนินการแทน โดยไม่ได้พิจารณาว่า แกนนำใหม่ทั้ง 9 คน เคยทำงานรับใช้อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดก่อนในการต่อต้านการชุมนุมของกลุ่มพันธ มิตร และไปล้อมตึกหนังสือพิมพ์เนชั่นหรือไม่
 เพราะความเชื่อมโยงเหล่านี้ เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า การชุมนุมของ นปก. ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างประชาธิปไตย แต่เพื่อรับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียว

 ความผิดพลาดทั้งยุทธศาสตร์ ทำให้การเคลื่อนไหวทางยุทธวิธีประสบความล้มเหลว จนต้องจบลงด้วยการไปนั่งรับประทาน โอเลี้ยง-ข้าวผัดในมุ้งสายบัว.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์