ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ‘มีชัย’ เสร็จเรียบร้อย มี 261 มาตรา ยังเหลือในส่วนของบทเฉพาะกาล

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ‘มีชัย’ เสร็จเรียบร้อย มี 261 มาตรา ยังเหลือในส่วนของบทเฉพาะกาล

การประชุมนอกสถานที่เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราของ กรธ.เสร็จสิ้นลงแล้วเมื่อวานนี้ โดยมีทั้งสิ้น 13 หมวด 261 มาตรา และยังเหลือในส่วนของบทเฉพาะกาลที่จะนำมาพิจารณาต่อที่รัฐสภา ขณะที่จาตุรนต์ ฉายแสง วิพากษ์ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทำรัฐบาลอ่อนแอ บริหารไม่ได้ เปิดช่องผู้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งใช้อำนาจแทน
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนที่ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ คือ การให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชน และป้องกันการออกกฎหมายและการจำกัดสิทธิต้องไม่กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยต้องคำนึงถึงความจำเป็นและประโยชน์ส่วนรวมของรัฐ และไม่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ และย้ำว่า การใช้สิทธิของบุคคลต้องคำนึงถึงหน้าที่และผลกระทบต่อผู้อื่น รวมทั้งศีลธรรมอันดี และความมั่นคงของชาติ
ส่วนของการเลือกตั้ง นายมีชัยกล่าวว่า ได้กำหนดให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย เพื่อให้เสียงข้างน้อยได้รับการเคารพและดูแล เนื่องจากที่ผ่านมา เสียงของผู้แพ้ไม่ได้ถูกเอาไปใช้ทำให้เกิดแนวคิดต้องรอไปอีก 4 ปี ซึ่งคนส่วนใหญ่รอไม่ได้ ทำให้เกิดการทะเลาะกัน ส่วนแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมากมีสิทธิทำได้แต่ต้องยอมรับและรับฟังเสียงข้างน้อย ส่วนการทุจริตการเลือกตั้งและการใช้งบประมาณ มีการกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง ผู้ที่ทุจริตต้องพ้นจากหน้าที่ หากกรณีที่รัฐมนตรีมีการทุจริต คณะรัฐมนตรีก็จะต้องพ้นจากหน้าที่ทั้งคณะ ส่วนของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจาก 20 กลุ่มนั้น เป็นเพราะ กรธ.ต้องการให้ ส.ว.พ้นจากอำนาจพรรคการเมือง จึงกำหนดให้ ส.ว.ไม่ต้องอยู่ภายใต้พรรคการเมือง ซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง
ในเรื่องของกลไกการตรวจสอบการทุจริต นายมีชัยกล่าวว่า ได้กำหนดให้องค์กรอิสระมีมาตรฐานสูงขึ้น และมีกลไกวิธีการทำงานที่คล่องตัวมากขึ้น สามารถตรวจสอบทุจริตได้เองโดยไม่ต้องรอให้มีคนมาร้องเรียน มีการเปิดช่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สามารถตรวจสอบการทุจริตขนาดเล็กในหน่วยงานรัฐได้ โดยไม่ต้องส่งเรื่องมายัง ป.ป.ช. และการทุจริตบางเรื่องได้กำหนดระยะเวลาไว้เพื่อให้การทำงานเดินหน้าและเห็นผลทันตา รวมทั้งยังได้วางกลไกให้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างองค์กรอิสระทั้งหมด
เรื่องของการปรองดอง นายมีชัยกล่าวว่า ได้สอดแทรกเข้าไปในหมวดต่างๆ แล้ว เช่น หมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชน หมวดรัฐสภา และในกลไกการเลือกตั้ง ส่วนในเรื่องการปฏิรูป กำลังรอผลสรุปจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
และในส่วนของบทเฉพาะกาลนั้น จะให้ กรธ.ทุกคนกลับไปอ่านร่างทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะกลับมาร่างในบทเฉพาะกาล นอกจากนี้ ยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น การใช้ทรัพยากรต่างๆ กำหนดให้รัฐต้องคำนึงถึงผลกระทบของประชาชนในพื้นที่ โดยบังคับให้รัฐจัดสรรการใช้ทรัพยากรอย่างทั่วถึง รวมถึงกรณีของคลื่นความถี่ด้วย
ส่วนการไม่บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นายมีชัยกล่าวว่า มีการเขียนบัญญัติให้รัฐมีหน้าที่คุ้มครองพุทธศาสนาไม่ให้มีใครมาบ่อนทำลายอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องบัญญัติลงในรัฐธรรมนูญ
อีกด้านหนึ่ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย มีความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มุ่งเน้นการจำกัดบทบาทรัฐบาล และนำไปสู่เงื่อนไขที่รัฐบาลถูกล้มได้ง่าย และการเลือกตั้งจะถูกขัดขวางได้ง่าย เนื่องจากการกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องได้เสียงมากกว่าผู้ที่ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใด ซึ่งหากการรณรงค์จนผู้รับสมัครได้รับคะแนนเสียงต่ำกว่าคะแนนไม่เลือกผู้ใด ก็จะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้อีก
ส่วนการกำหนดให้รัฐมนตรีทั้งการประชุมนอกสถานที่เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราของ กรธ.เสร็จสิ้นลงแล้วเมื่อวานนี้ โดยมีทั้งสิ้น 13 หมวด 261 มาตรา และยังเหลือในส่วนของบทเฉพาะกาลที่จะนำมาพิจารณาต่อที่รัฐสภา ขณะที่จาตุรนต์ ฉายแสง วิพากษ์ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทำรัฐบาลอ่อนแอ บริหารไม่ได้ เปิดช่องผู้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งใช้อำนาจแทน
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนที่ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ คือ การให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชน และป้องกันการออกกฎหมายและการจำกัดสิทธิต้องไม่กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยต้องคำนึงถึงความจำเป็นและประโยชน์ส่วนรวมของรัฐ และไม่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ และย้ำว่า การใช้สิทธิของบุคคลต้องคำนึงถึงหน้าที่และผลกระทบต่อผู้อื่น รวมทั้งศีลธรรมอันดี และความมั่นคงของชาติ
ส่วนของการเลือกตั้ง นายมีชัยกล่าวว่า ได้กำหนดให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย เพื่อให้เสียงข้างน้อยได้รับการเคารพและดูแล เนื่องจากที่ผ่านมา เสียงของผู้แพ้ไม่ได้ถูกเอาไปใช้ทำให้เกิดแนวคิดต้องรอไปอีก 4 ปี ซึ่งคนส่วนใหญ่รอไม่ได้ ทำให้เกิดการทะเลาะกัน ส่วนแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมากมีสิทธิทำได้แต่ต้องยอมรับและรับฟังเสียงข้างน้อย ส่วนการทุจริตการเลือกตั้งและการใช้งบประมาณ มีการกำหนดบทลงโทษที่รุนแรง ผู้ที่ทุจริตต้องพ้นจากหน้าที่ หากกรณีที่รัฐมนตรีมีการทุจริต คณะรัฐมนตรีก็จะต้องพ้นจากหน้าที่ทั้งคณะ ส่วนของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจาก 20 กลุ่มนั้น เป็นเพราะ กรธ.ต้องการให้ ส.ว.พ้นจากอำนาจพรรคการเมือง จึงกำหนดให้ ส.ว.ไม่ต้องอยู่ภายใต้พรรคการเมือง ซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง
ในเรื่องของกลไกการตรวจสอบการทุจริต นายมีชัยกล่าวว่า ได้กำหนดให้องค์กรอิสระมีมาตรฐานสูงขึ้น และมีกลไกวิธีการทำงานที่คล่องตัวมากขึ้น สามารถตรวจสอบทุจริตได้เองโดยไม่ต้องรอให้มีคนมาร้องเรียน มีการเปิดช่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สามารถตรวจสอบการทุจริตขนาดเล็กในหน่วยงานรัฐได้ โดยไม่ต้องส่งเรื่องมายัง ป.ป.ช. และการทุจริตบางเรื่องได้กำหนดระยะเวลาไว้เพื่อให้การทำงานเดินหน้าและเห็นผลทันตา รวมทั้งยังได้วางกลไกให้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างองค์กรอิสระทั้งหมด
เรื่องของการปรองดอง นายมีชัยกล่าวว่า ได้สอดแทรกเข้าไปในหมวดต่างๆ แล้ว เช่น หมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชน หมวดรัฐสภา และในกลไกการเลือกตั้ง ส่วนในเรื่องการปฏิรูป กำลังรอผลสรุปจากสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
และในส่วนของบทเฉพาะกาลนั้น จะให้ กรธ.ทุกคนกลับไปอ่านร่างทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ก่อนจะกลับมาร่างในบทเฉพาะกาล นอกจากนี้ ยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น การใช้ทรัพยากรต่างๆ กำหนดให้รัฐต้องคำนึงถึงผลกระทบของประชาชนในพื้นที่ โดยบังคับให้รัฐจัดสรรการใช้ทรัพยากรอย่างทั่วถึง รวมถึงกรณีของคลื่นความถี่ด้วย
ส่วนการไม่บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นายมีชัยกล่าวว่า มีการเขียนบัญญัติให้รัฐมีหน้าที่คุ้มครองพุทธศาสนาไม่ให้มีใครมาบ่อนทำลายอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องบัญญัติลงในรัฐธรรมนูญ
อีกด้านหนึ่ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย มีความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มุ่งเน้นการจำกัดบทบาทรัฐบาล และนำไปสู่เงื่อนไขที่รัฐบาลถูกล้มได้ง่าย และการเลือกตั้งจะถูกขัดขวางได้ง่าย เนื่องจากการกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องได้เสียงมากกว่าผู้ที่ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใด ซึ่งหากการรณรงค์จนผู้รับสมัครได้รับคะแนนเสียงต่ำกว่าคะแนนไม่เลือกผู้ใด ก็จะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้อีก
ส่วนการกำหนดให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากหน้าที่ในกรณีพบการทุจริต นายจาตุรนต์กล่าวว่า เป็นการลงโทษทั้งองค์กรขณะที่คนทำผิดมีเพียงหนึ่งคน สุดท้ายจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศได้และถูกล้มได้ง่าย หากมีความพยายามจับผิดรัฐมนตรีได้คนหนึ่ง ก็จะทำให้ล้มไปทั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ บริหารไม่ได้ และอยู่ได้ไม่นาน และจะนำไปสู่การที่ผู้ที่ไม่มาจากการเลือกตั้งมาใช้อำนาจแทน
‪#‎ThaiConstitutionDraft‬คณะพ้นจากหน้าที่ในกรณีพบการทุจริต นายจาตุรนต์กล่าวว่า เป็นการลงโทษทั้งองค์กรขณะที่คนทำผิดมีเพียงหนึ่งคน สุดท้ายจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถบริหารประเทศได้และถูกล้มได้ง่าย หากมีความพยายามจับผิดรัฐมนตรีได้คนหนึ่ง ก็จะทำให้ล้มไปทั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ บริหารไม่ได้ และอยู่ได้ไม่นาน และจะนำไปสู่การที่ผู้ที่ไม่มาจากการเลือกตั้งมาใช้อำนาจแทน
‪#‎ThaiConstitutionDraft‬

ขอขอบคุณ บีบีซีไทย - BBC Thai

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์