พลิกร่างกม.ประชามติ ขัดขวาง-จูงใจโทษหนัก

ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

บางคนออกมาระบุหากมีผลบังคับใช้แล้ว ผู้ที่รณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญอาจเข้าข่ายกระทำการขัดต่อกฎหมายฉบับนี้ ได้รับการบรรจุเป็นวาระพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันที่ 4 กรกฎาคม เพื่อเร่งให้ทันการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 19 สิงหาคม

ร่างกฎหมายฉบับนี้มีทั้งหมด 13 มาตรา ส่วนใหญ่เป็นการกำหนดลักษณะการกระทำความผิดและบทลงโทษ

อาทิ มาตรา 6 ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติงานของ กกต.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการดูแลการออกเสียงประชามติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 7 ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างขัดขวางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ความสะดวกของผู้ใต้บังคับบัญชาในการไปออกเสียงประชามติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 8 ผู้ใดทำลายบัตร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท มาตรา 9 เรื่องการกระทำการที่เป็นความผิดระหว่างการออกเสียง เช่น ขัดขวางหน่วงเหนี่ยวมิให้ผู้มีสิทธิไปออกเสียง การทำให้บัตรออกเสียงเพิ่มขึ้นจากความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

มาตรา 10 กระทำการใดอันก่อความวุ่นวาย ขัดขวาง อันส่งผลให้การออกเสียงเป็นไปไม่เรียบร้อย

การเสนอหรือสัญญาว่าจะให้เพื่อจูงใจให้ออกเสียงอย่างหนึ่งอย่างใด การหลอกลวงบังคับขู่เข็ญหรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 2 หมื่น-2 แสนบาท หากเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-10 ปี ปรับตั้งแต่ 4 หมื่น-2 แสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 5 ปี

มาตรา 11 ผู้ใดเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการออกเสียง

ในระหว่างเวลา 7 วัน ก่อนวันออกเสียง จนถึงเวลาสิ้นสุดการออกเสียง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เผยแพร่ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว

ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 ได้พิจารณาไปก่อนหน้านี้ก่อนที่ร่างฯจะเข้าสู่สภา ปรากฏว่ามีการเสนอให้ใช้ชื่อร่างว่า "ร่าง พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ พ.ศ...." เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดบทบัญญัติรองรับอำนาจหน้าที่ของ กกต.ในการจัดและควบคุมการออกเสียงประชามติและลักษณะความผิดและบทกำหนดโทษ ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติ

นอกจากนี้ ยังเสนอให้แก้ไขความผิดและบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.มีส่วนที่สำคัญ ได้แก่

กรณีห้ามหลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียง ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง โดยมีการเสนอให้เพิ่มกรณี "จงใจทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ" เข้ามาด้วย นอกจากนี้ เสนอให้เพิ่มเรื่องห้ามเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการออกเสียงเข้ามาด้วย แต่ไม่ได้กำหนดช่วงเวลา อย่างไรก็ดี ร่างฯที่เข้าสู่สภาไม่ได้มีการปรับตามข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจาก กกต.เห็นว่ากรณีนี้ตีความลำบากว่าการกระทำแบบใดเข้าข่าย และอาจเป็นการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นโดยเสรี ขัดต่อหลักการสำคัญของการประชามติ


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์