อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผย เด็จพี่-เกียรติอุดม สามารถใช้สิทธิ์ขออภัยโทษได้ !!

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผย เด็จพี่-เกียรติอุดม สามารถใช้สิทธิ์ขออภัยโทษได้ !!

"อธิบดีกรมราชทัณฑ์" เผย "พร้อมพงศ์-เกียรติอุดม" มีสิทธิ์ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ในฐานะผู้ต้องขัง  -ย้ำ สุขภาพทั้งคู่ยังแข็งแรงดี

วันนี้ ( 28 ก.ค.)  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์  กล่าวถึงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย  ขอใช้สิทธิ์ยื่นพระราชทานอภัยโทษจำคุก 1 ปี ฐานหมิ่นประมาท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ    ชี้ว่า "การขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายบุคคลถือเป็นสิทธิของผู้ต้องขังเด็ดขาดทุกราย ที่ผ่านมาไม่มีรูปแบบในการเขียนขอพระราชทานอภัยโทษที่ชัดเจน ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังมักจะระบุว่ารู้สึกสำนึกในความผิด ไม่เคยกระทำความผิดในคดีอื่นมาก่อน หรือเคยประกอบคุณงามความดีอะไรมาบ้าง รวมถึงการขอพระราชทานอภัยโทษกรณีเจ็บป่วย ชรา หรือทุพลภาพ โดยขั้นตอนเมื่อผู้ต้องขังเด็ดขาดเขียนคำร้องขอพระราชทานอภัยโทษเสร็จแล้วจะส่งให้เรือนจำ เพื่อส่งต่อมายังกรมราชทัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายกรัฐมนตรี และสำนักราชเลขาธิการ โดยการพระราชทานอภัยโทษถือเป็นพระราชอำนาจไม่สามารถก้าวล่วงได้ ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังที่ขอพระราชทานอภัยโทษมักเป็นผู้ต้องโทษหนักถึงขั้นประหารชีวิต

ด้านนายอายุตม์ สินธพพันธ์ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ต้องขังทั้ง 2 ถูกคุมขังอยู่ในแดนแรกรับ และแม้เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาด แต่เนื่องจากมีโทษจำคุกแค่ 1 ปี เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯจึงจัดให้อยู่ในแดนแรกรับจนครบกำหนดโทษ เบื้องต้นผู้ต้องขังทั้ง 2 คนสามารถปรับตัวได้ สุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ แต่มีโรคประจำตัวที่ต้องเฝ้าระวัง โดยนายพร้อมพงศ์ มีโรคภูมิแพ้และเก๊าท์ ส่วนนายเกียรติอุดม เป็นโรคความดัน และมีอาการปวดหลัง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ต้องขังเป็นนักการเมืองอาจตกเป็นเป้าของผู้ต้องขังรายอื่น ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่จับตาการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนผู้ต้องขังรายอื่นพร้อมแนะนำให้นายพร้อมพงศ์และนายเกียรติอุดมทำตามระเบียบเรือนจำ ซึ่งทั้งคู่รับทราบถึงการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมแล้ว"
สำหรับกรณีที่จะมีการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ กล่าวว่า เรือนจำยังไม่ได้รับคำขอพระราชทานอภัยโทษจากนายพร้อมพงศ์กับนายเกียรติอุดม คาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างการจัดทำคำขอ อย่างไรก็ตาม โดยปกติการขอพระราชทานอภัยโทษมี 2 รูปแบบคือ การอภัยโทษเป็นการทั่วไปซึ่งผู้ต้องขังประพฤติดีจะได้รับตามสัดส่วน กรณีเหลือโทษน้อยอาจได้รับการปล่อยตัวพ้นโทษทันที ส่วนการอภัยโทษเฉพาะรายบุคคลถือเป็นสิทธิผู้ต้องขังหรือญาติสายตรง ซึ่งต้องยื่นคำขอตามระเบียบเรือนจำ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์