พุทธะอิสระแฉ เงื่อนงำคดีธรรมกายถูกถอนฟ้อง

พุทธะอิสระแฉ เงื่อนงำคดีธรรมกายถูกถอนฟ้อง

"พุทธะอิสระ"แฉ เงื่อนงำคดี"ธรรมกาย"ถูกถอนฟ้อง เผย"พระสังฆราช"ยังไม่ร่วมสังฆกรรม

วันที่ 14 เม.ย. พระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara) ถึงกรณีคดีพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ตกเป็นจำเลยฐานยักยอกทรัพย์ และอัยการฝ่ายคดีอาญาได้ขอถอนฟ้องคดีต่อศาลอาญา เมื่อปี 2549 โดยพระพุทธะอิสระได้อ้างว่าเงื่อนงำคดีกรณีวัดพระธรรมกาย ที่ถูกถอนฟ้องนั้นมีดังนี้


คดีความของวัดพระธรรมกายมิใช่เพิ่งจะเกิด เพิ่งจะมีโดยเฉพาะคดียักยอกเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน แม้ในอดีตก็มีคดียักยอกทรัพย์ของวัดธรรมกายโดยธัมมชโยก็เคยกระทำมาแล้ว

ที่หลายคนอาจลืมไปแล้วก็คือคดีความที่เกิดขึ้นกับ“พระเทพญาณมหามุนี(ไชยบูลย์ธมฺมชโย)” นั่นคือคดียักยอกทรัพย์สินของวัดพระธรรมกายไปเป็นสมบัติส่วนตัว ซึ่งก็มีทั้งเงินและที่ดิน ต้นตอของคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๑ โดยพระอดิศักดิ์ วิริสโก อดีตพระลูกวัดพระธรรมกาย ออกมากล่าวหาพระธมฺมชโยว่า ยักยอกเงินและที่ดินที่บรรดาญาติโยมบริจาคให้วัด และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น มั่วสีกา และอวดอุตริมนุสธรรม ต่อมา กรมที่ดินได้สำรวจพบธัมมชโยมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดที่ดินและเจ้าของบริษัทที่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกายกว่า ๔๐๐ แปลง เนื้อที่กว่า ๒ พันไร่ ใน จังหวัดพิจิตร และ เชียงใหม่

สมเด็จพระสังฆราชฯ สกลมหาสังฆปรินายก ได้มีพระลิขิตให้คืนที่ดินและทรัพย์สินของวัดขณะเป็นพระคืนให้วัดพระธรรมกาย แต่ พระธัมมชโย ไม่ยอม พระองค์ถึงขนาดทรงมีพระลิขิตถึง ๖ ฉบับ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้


เรื่องความผิดของ ธัมมชโย สองเรื่องได้แก่ บิดเบือนพระพุทธธรรมคำสอน และโกงสมบัติผู้อื่น

โดยในพระลิขิตฉบับที่ ๒ ลว. ๕ เมษายน ๒๕๔๒ มีใจความสำคัญว่า ให้มอบสมบัติคืนให้แก่วัดทันที

จนกระทั่งต้องมีพระลิขิตฉบับที่ ๓ ลว. ๒๖ เมษายน ๒๕๔๒ ความว่าก็ยังไม่ยอมมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระ คืนให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่า ต้องอาบัติปาราชิก

แม้กระทั่งต้องทรงมีพระลิขิต ฉบับที่ ๔ เพื่อทรงย้ำชัดเจนอีกครั้งว่า การโกงสมบัติผู้อื่น ตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป อันมีมูลค่าประมาณไม่ถึง ๓๐๐ บาทในปัจจุบัน ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ฐานผิดพระธรรมวินัย พ้นจากความเป็นพระทันที ในกรณีนี้ ไม่ว่าจะมีผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ

ที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น ไม่ใช่พระในพระพุทธศาสนา

เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง เป็นพระปลอม ต่อจากนั้นย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้รักษากฎหมายหรือของผู้มีหน้าที่ในการพระพุทธศาสนา จะต้องรักษาพระพุทธศาสนา มิให้มีพระปลอมทำลาย มาทำให้เสื่อมเสีย เช่นผู้ที่รักษากฎหมายเคยทำมาแล้ว เคยบังคับให้ผู้ปลอมเป็นพระถอดผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากตัวแล้ว การปฏิบัติต่อพระปลอมต้องไม่มีแตกต่างกัน ต้องไม่มียกเว้นว่าคนนั้นปลอมได้ คนนี้ปลอมไม่ได้ เป็นพระปลอมมีอยู่ในพระพุทธศาสนาไม่ได้ทั้งนั้น

ในพระลิขิตฉบับที่ ๔ ทรงย้ำและยืนยันว่า ธัมมชโยเป็นอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระไปแล้ว แต่ยังแต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์อยู่ ให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายตาม พรบ.ปกครองคณะสงฆ์ ความว่า


ฉบับที่ ๕ ลว. ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ สมเด็จพระสังฆราช ได้มีพระลิขิตอีกครั้ง ความว่า
“เราได้ทำหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชสมบูรณ์ตามอำนาจแล้ว จึงไม่มีอะไรจะพูดอีก”

ฉบับที่ ๖ ลว. ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ใจความว่า “ในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นจากการถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุดแล้วตามอำนาจหน้าที่ที่มี

ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลายจะทำอะไรต่อไปก็แล้วแต่ตามความต้องการจะไม่มานั่งรับรู้รับฟังในที่ประชุมวันนี้ที่๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๒

ถามว่าทำไมพระสังฆราชจึงทรงมีพระลิขิตปฏิเสธที่จะเข้าร่วม ประชุมในกรรมการมหาเถรสมาคมอีกแล้วก็เพราะพระองค์ทรงละอายที่จะต้องมานั่ง ประชุมกับภิกษุที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมที่ช่วยปกป้องปกปิดอาบัติปาราชิ กของธัมมชโย โดยพระวินัยถือว่าผู้ช่วยปกป้อง ปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นโดยเจตนา ถือว่าเป็นผู้เก้อยาก ไม่มีความละอาย ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย จึงไม่ควรจะคบหาสมาคมด้วย

 


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์