‘บิ๊กตู่’ ฉุนสื่อ...อยากชกหน้า !!

‘บิ๊กตู่’ ฉุนสื่อ...อยากชกหน้า !!



‘บิ๊กตู่’ฉุนสื่อซักผลงาน อยากชกหน้า

กมธ.คว่ำ‘เว้นวรรค’2ปี ต่ออายุตัวเองอยู่อีก7เดือน
ผดสภาเคลื่อนปฏิรูปปท. ตง‘สปช.-สนช.’นงเก้าอี้อ้างไม่ได้สืบทอดอำนาจ


เมื่อวันที่ 6 มีนาคม นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญในส่วนบทเฉพาะกาลและเรื่องค้างพิจารณาว่า กมธ.ยกร่างฯได้บัญญัติให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปแห่งชาติ โดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจำนวนไม่เกิน 120 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมาจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)จำนวน 60 คน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) 30 คนและผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการปฏิรูปด้านต่างๆ จำนวน 30 คน



ส่วนคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปแห่งชาติ ประกอบด้วย กรรมการซึ่งปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาและมาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเชี่ยวชาญการปฏิรูปด้านต่างๆไม่เกิน 15คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติสภาขับเคลื่อนฯ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ

ให้อำนาจขับเคลื่อน-ลดเหลื่อมล้ำ


นายคำนูณกล่าวว่า ทั้ง 2 องค์กร มีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญคือ 1.ขับเคลื่อนการปฏิรูป โดยการเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอการปฏิรูปต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี(ครม.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในด้านต่างๆ 2.นำแผนและขั้นตอนการออกกฎหมายและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการปฏิรูปของสภาปฏิรูปแห่งชาติและแผนงานและยุทธศาสตร์การปฏิรูปของทุกภาคส่วน มาบูรณาการเพื่อให้ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมได้อย่างแท้จริงและต่อเนื่อง 3.ส่งเสริมการศึกษา การวิจัยและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูป 4.เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของประชาชนเพื่อความเป็นพลเมืองที่ดี รวมทั้งสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วยกระบวนการสมัชชาเพื่อการปฏิรูป 5.ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปฏิรูปที่สอดคล้องและเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และ6.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายกำหนด


มีหน้าที่ออกกม.ปฏิรูปทุกด้าน

ทั้งนี้ หากครม.ไม่สามารถดำเนินการตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ให้ชี้แจงเหตุผลต่อรัฐสภาและสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเพื่อทราบ ในกรณีที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเห็นว่าการปฏิรูปที่ ครม.ไม่ดำเนินการนั้น เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งและมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ให้มีการออกเสียงประชามติว่า จะต้องดำเนินการตามเรื่องนั้นหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติว่าดังกล่าวให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีและสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้ต้องปฏิบัติตาม

สำหรับการตรากฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ ให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ จัดทำร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเสนอต่อรัฐสภา โดยเสนอต่อวุฒิสภาก่อน หากไม่ผ่านความเห็นชอบให้ร่างดังกล่าวตกไป แต่ถ้าเห็นชอบให้เสนอร่างไปยังสภาผู้แทนราษฎร หากสภาฯไม่เห็นชอบให้ส่งร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวกลับมายังวุฒิสภาเพื่อยืนยันด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา ในกรณีที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองจากนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วัน หากเกินกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่า นายกฯให้คำรับรองแล้ว



ต่ออายุกมธ.-สปช.อีก210วัน

นายคำนูณกล่าวต่อว่า เรื่องสถานะของกมธ.ยกร่างฯหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้นั้น เราจะบัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์ในการจัดให้มีพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่จำเป็นให้ สปช.และกมธ.ยกร่างฯ สิ้นสุดลงในวันประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก” ซึ่งตรงนี้ทั้งสปช.และกมธ.ยกร่างฯยังมีภารกิจต่อเนื่องหลังยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ จึงให้ทั้ง 2 องค์กรปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เพื่อจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่จำเป็นจนถึงวันเปิดประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ดังนั้น หากจะนับตารางเวลา คือ จะอยู่ต่อไปอีก 210 วัน เนื่องจากระยะเวลาพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 60 วัน ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ 30 วัน รวมถึงเวลาเลือกตั้งสส.ภายใน 90 วัน จากนั้นการเปิดประชุมสภาจะมีขึ้นภายใน 30 วัน ซึ่งทั้ง 2 องค์กรจะพ้นตำแหน่งก่อนสนช.เนื่องจาก สนช.ต้องอยู่ไปจนกว่าจะมี สว.ชุดแรก คือ 240 วัน หรือประมาณ 8 เดือน

นอกจากนี้ กมธ.ยังบัญญัติว่า“เพื่อประโยชน์แห่งการขจัดส่วนได้เสีย ห้ามมิให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่ง สส. สว. ข้าราชการการเมืองสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองภายใน 2 ปี นับแต่พ้นจากตำแหน่ง”


สืบทอดเจตนารมณ์-ไม่ใช่อำนาจ

ผู้สื่อข่าวถามว่า การกำหนดที่มาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจาก สปช.และสนช.จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะบุคลากรในส่วนนี้ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมกรณีตั้งเครือญาติมาทำงาน จะทำให้ไม่ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนจนการทำงานไม่ราบรื่นหรือไม่ นายคำนูณกล่าวว่า หลักการที่กำหนดให้ สปช.กับสนช.เป็นสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เพราะต้องการให้มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สปช.ซึ่งเป็นผู้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปจะมีความเข้าใจเป็นอย่างดี จึงไม่ถือว่าเป็นการสืบทอดอำนาจแต่เป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ให้การปฏิรูปประเทศประสบความสำเร็จมากกว่า ส่วนเรื่องความเชื่อมั่นศรัทธาเป็นความรู้สึกของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกคนที่จะมาทำหน้าที่ย่อมต้องคำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรมอยู่แล้ว แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่ทราบว่า ใครจะเป็นผู้คัดเลือกก็ตาม

เมื่อถามว่า กมธ.ยกร่างฯที่ห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2 ปี สามารถดำรงตำแหน่งในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามภาค4 การปฏิรูปประเทศและการสร้างความปรองดองได้หรือไม่ นายคำนูณกล่าวว่า ขึ้นอยู่ว่า จะตีความคำว่า “ตำแหน่งทางการเมือง” อย่างไรก็ตาม ถ้าจะมองว่า เป็นการเปิดช่องให้ กมธ.ยกร่างฯมาดำรงตำแหน่งเหล่านี้ก็ได้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิรูป ไม่ใช่เรื่องการเมือง


คว่ำตัดสิทธิ์แม่น้ำ5สาย2ปี

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในที่ประชุมมีการหารือถึงข้อเสนอของนายเจษฏ์ โทณะวณิก กมธ.ยกร่างฯ เสนอให้แม่น้ำ 5 สายเว้นวรรคทางการเมือง 2 ปี หลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้นายคำนูณ ชี้แจงว่า ที่ประชุมได้มีการหารือ แต่เสียงส่วนใหญ่เห็นว่า ควรบังคับแต่กมธ.ยกร่างฯ เพราะรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี’57 ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าทำให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นกมธ.ยกร่างฯได้วางแผนตั้งแต่แรก ก่อนที่จะอาสาเข้ามาทำงานในขณะที่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นไม่ว่าเป็น สปช. สนช.ก็ไม่ได้รับรู้มาก่อนว่า เมื่อมาดำรงตำแหน่งจะต้องถูกห้ามดำรงตำแหน่งต่อไปหลังจากที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ อีกทั้งรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีการห้ามดำรงตำแหน่งทุกภาคส่วนขณะนั้น ส่วนใหญ่จะห้ามดำรงตำแหน่งกมธ.ยกร่างฯเท่านั้น ซึ่งที่ประชุมไม่ได้มีการหารือถึงกรณีการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และ ครม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการแถลงข่าวครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวพยายามซักถามในหลายประเด็นที่ไม่มีความชัดเจนในร่างรัฐธรรมนูญ แต่จะไปปรากฏในกฎหมายลูกที่จะออกมาในภายหลัง ซึ่ง นายคำนูณ ไม่สามารถให้คำตอบได้ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะออกตามมา เพียงแต่อธิบายว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่เชื่อว่า การพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องเปิดเผยที่ประชาชนสามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว


‘บิ๊กตู่’ทำยัวะนักข่าวอยากชกหน้า

วันเดียวกัน ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ถนนลาดพร้าว พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ โดยช่วงหนึ่งนายกฯกล่าวถึงข้อเสนอให้แม่น้ำ 5 สาย เว้นวรรค 2 ปี ว่า อย่าไปกังวล ใครจะอยู่จะไปตนยึดตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว และเดี๋ยวตนจะเป็นคนตัดสินเอง ขอวันนี้อย่านำทุกอย่างมาตีกัน ไม่เช่นนั้นประเทศก็ไม่ต้องไปไหน

“วันก่อนเจอนักข่าวถามว่ารัฐบาลมีผลงานอะไรผมแทบจะชกหน้าคนถามทำมาตั้งเยอะแยะไม่เห็นหรืออย่างไร วันนี้ผมจะพูดไปเรื่อยๆ ยอมเหนื่อยยอมเจ็บคอ ต่อไปนี้ทุกคืนวันศุกร์ ข้าราชการทุกกระทรวงต้องจดบันทึกให้รัฐมนตรีทราบว่า ผมพูดอะไรบ้าง นักข่าวเองก็ต้องฟังเหมือนกัน เวลามาถามจะได้รู้เรื่องและมีแนวคิดจะเปิดเวทีแล้วถามนักข่าวเหมือนการสอบ แล้วส่งให้บรรณาธิการดีไหม วันนี้ผมคิดเยอะอยู่ในหัว รับข้อมูลมาทุกเรื่อง” นายกฯกล่าว

ผบ.ทบ.ยันไม่มีสืบทอดอำนาจ

พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงข้อเสนอให้แม่น้ำ 5 สาย เว้นวรรคการเมือง 2 ปี ว่า เร็วเกินที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ เพราะทุกเรื่องยังไม่ได้ข้อยุติ เป็นเพียงการเสนอแนวคิดกันทั้งนั้น ที่สำคัญนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงไปแล้ว ซึ่งการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว เราเพียงติดตามข้อคิดเห็นต่างๆ ต่อไป แม่น้ำ 5 สายไม่มีเจตนาสืบทอดอำนาจ เพียงแต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ต้องคิดรอบด้าน โดยพื้นฐานไม่มีใครต้องการแสวงหาอำนาจ แต่บางอย่างมีกรอบความจำเป็นในเรื่องสถานการณ์ชาติบ้านเมือง ที่ต้องมาคิดกัน


‘บิ๊กป้อม’ปัดหวังสกัดสมาชิกพท.

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้า คสช.กล่าวถึงข้อเสนอให้แม่น้ำ 5 สาย เว้นวรรคการเมือง 2 ปีว่า นายกฯพูดไปหมดแล้ว ยืนยันไม่มีสืบทอดอำนาจ ถ้าไปทำเช่นนั้นต่อไปจะไม่มีคนมาทำงาน พอหมดหน้าที่ก็หมดเลย 2 ปี ก็ไม่มีใครแล้ว

เมื่อถามว่า มีความกังวลกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างอยู่ไม่เป็นประชาธิปไตย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เรื่องร่างรัฐธรรมนูญยังไม่จบ เพราะเมื่อร่างเสร็จแล้วต้องเข้าสู่การพิจารณาของ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) จากนั้นก็ คสช.สุดท้ายก็จะเข้าสู่ ครม. ทั้งนี้ รัฐบาลและคสช.รับฟังข้อท้วงติงทั้งหมดเพราะเป็นภาพใหญ่ ซึ่งเราต้องมาดูกัน ส่วนกรณีพรรคเพื่อไทย(พท.) ตั้งข้อสังเกตว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้สกัดกั้นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มนั้น ไม่มี เพราะคณะกรรมธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก็มีบุคคลทั่วไป ก็จะพิจารณาดูว่า ในอดีตที่ผ่านมา รัฐธรรมนูญใช้แล้วมีปัญหาอะไร เพื่อมาแก้ไขไม่ให้ติดขัดเหมือนกับที่ผ่านมา



‘เจษฎ์’ยันชงกันครหาสืบอำนาจ

ด้าน นายเจษฎ์ โทณะวณิก กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงความไม่ด้วยต่อข้อเสนอของตน โดยเห็นว่าต้องการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดย คสช. ซึ่งไม่แปลกที่ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องการให้เป็นไปตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้และความเห็นของ พล.อ.ประยุทธ์ ก็เป็นไปตามปกติ ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะสืบทอดอำนาจ อย่างไรก็ดี ยังยืนยันเสนอข้อเสนอต่อที่ประชุมกมธ.ยกร่างฯโดยย้ำถึงเจตนาที่ไม่ต้องการให้มีครหาเกี่ยวกับการสืบทอดอำนาจ รวมถึงเพื่อความเป็นธรรมที่แม่น้ำ 5 สาย จะไม่เข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐสภาชุดใหม่ในสมัยหน้า ข้อเสนอนี้จะกระทบต่อการเข้าดำรงตำแหน่ง สส.และสว.ในช่วงแรก แต่ทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อเวลาเว้นวรรคพ้นไปแล้ว


ประธานสพม.ชี้เว้น2ปีทำได้ยาก

นายธรีภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการเมือง(สพม.) กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวคงไม่เห็นด้วย เพราะกระทบต่อสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ อีกทั้งการเว้นวรรคทางการเมือง 2 ปี ไม่ได้ระบุในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพียงแค่เป็นข้อเสนอของบุคคลในฐานะกมธ.ยกร่างฯเท่านั้น จึงมองว่า เป็นไปไม่ได้ที่หน่วยงานต่างๆ จะยอมรับในแนวคิดนี้ ซึ่งตนเห็นว่า เป็นเรื่องยาก


‘บิ๊กสงค์’เตือนอย่าเดินตามฝรั่ง

ขณะที่น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตกมธ.ยกร่างฯปี2550 ให้สัมภาษณ์ถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ว่า นี้ตนไม่อยากแสดงความเห็น เนื่องจากการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังดำเนินการอยู่ เอาไว้ให้เป็นรูปเป็นร่างออกมาเสียก่อนตนจึงจะพูดในภาพรวมทีเดียว เพียงขออย่างเดียวว่า รัฐธรรมนูญไม่ใช่ยาวิเศษใดๆ แต่เป็นเครื่องมือสำหรับป้องกันรักษา แต่ขณะนี้สถานการณ์ทุกอย่างรากเหง้าของปัญหายังไม่ได้ขุดขึ้นมาจัดการ เหมือนปลูกบ้านยังไม่ปรับพื้นที่ ยังมีปลวก มีหนอน ถ้าปลูกบ้านลงไปถึงแม้ป้องกันรักษาดีมันก็กินบ้านเหมือนกัน จึงอยากฝากบอกว่าคนมีอำนาจรัฐต้องจัดการปรับ ขุดรากถอนโคนสิ่งไม่ดีทั้งหลายที่เป็นสาเหตุของการที่ต้องเข้ามายึดอำนาจนั้นให้เสร็จสิ้นไปเสียก่อน และรัฐธรรมนูญก็ร่างไป สำหรับการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ต้องร่างโดยคำนึงถึงประเทศไทย ประชาชนคนไทย ที่ต้องเป็นผู้ใช้ ไม่ใช่ไปเอาประเทศฝรั่งมังค่า เยอรมนี อังกฤษ ที่ไหนมา ต้องร่างสำหรับคนไทยและประเทศไทย



‘บิ๊กตู่’วอนอดทนรอวันเลือกตั้ง

เวลา 20.20 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ตอนหนึ่งว่า เรื่องการเลือกตั้ง เรื่องประชาธิปไตย หากพูดว่า ประชาชนเป็นใหญ่ เป็นเจ้าของประเทศอย่างเดียวบางครั้งมันก็โอเค “ใช่” ข้อเท็จจริงนั้นแน่นอน แต่มันอาจจะไม่เหมาะสมในช่วงเวลานี้ เพราะงั้นต้องมีเวลาให้ทุกคนเรียนรู้ แล้วรู้ว่าการมีส่วนร่วมกันอย่างไร มีจิตสำนึก มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบ แล้วจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร ตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วย ทางฝ่ายการเมืองต้องเป็นคนทำให้มันเกิดขึ้น ไม่ใช่ทำให้มันมีปัญหา มิฉะนั้นความขัดแย้งมันจะเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ


สมาคมสื่อติงบิ๊กตู่พูดไม่เหมาะสม

ขณะเดียวกันนายมานพ ทิพย์โอสถอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ และโฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ แม้ไม่ได้พูดกับผู้สื่อข่าวโดยตรง แสดงความอืดอัดใจต่อการทำหน้าที่นายกฯที่ต้องตอบคำถามของสื่อมวลชน ก็ถือว่าเป็นท่าทีที่ไม่เหมาะสมของผู้นำฯ เพราะการบอกว่าอยากชกปากนักข่าวที่ถามคำถามเรื่องผลงานของรัฐบาล สะท้อนทัศนคติที่เป็นลบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนของ พล.อ.ประยุทธ์แม้จะไม่พอใจพล.อ.ประยุทธ์ ก็หลีกเลี่ยงถ้อยคำที่ไม่เอื้อต่อบรรยากาศทางการเมืองได้ด้วย
คำอื่นๆ


ชี้เป็นคำพูดทำให้เกิดรอยด่าง

นายมานพกล่าวอีกว่า การทำหน้าที่ซักถามของผู้สื่อข่าวที่ติดตามการทำงานของนายกฯและครม.เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่ารัฐบาลนั้นๆ จะมีที่มาที่ไปอย่างไร สื่อมวลชนเคารพการตัดสินใจในนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลเหล่านั้น แต่เหนืออื่นใด หน้าที่ของสื่อคือการตรวจสอบรัฐบาลทุกรัฐบาล “คำพูดของท่านายกฯได้สร้างสิ่งที่เป็นรอยด่างของผู้นำประเทศ แม้แค่จะคิด ก็สะท้อนวิธีคิดและวิธีทำงาน ผมเข้าใจเจตนาดีของท่านนายกฯ แต่สิ่งที่สื่อสารต่อสังคมแบบนี้ ท่านต้องทบทวน” นายมานพกล่าว

พร้อมคณะทำงานประกอบด้วย พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 3 พ.ต.ท.ปกรณ์ สุชีวกุล ผอ.ส่วนตรวจ 2 หัวหน้าชุดตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และวัดพระธรรมกาย และ พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.ศูนย์บริหารคดีพิเศษ

พ.ต.ท.ปกรณ์กล่าวภายหลังการประชุมว่า จากการตรวจสอบเช็คสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำนวน 878 ฉบับ เป็นเงิน 11,367 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 วัดพระธรรมกาย พระธัมมชโย พระครูปลัดวิจารณ์ มูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ ฯลฯ จำนวน 43 ฉบับ 932 ล้านบาท กลุ่มที่ 2 ญาติธรรมและบุคคลใกล้ชิด นายศุภชัย ศรีศุภอักษร 27 ฉบับ 348 ล้านบาท กลุ่มที่ 3 บริษัท เอส ดับบลิว โฮลดิ้ง และนายสถาพร วัฒนาศิริกุล 12 ฉบับ 272 ล้านบาท กลุ่มที่ 4 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี 3 ฉบับ 46 ล้านบาท กลุ่มที่ 5 นายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ นายจิรเดช วรเพียรกุล และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรัฐประชา 135 ฉบับ 2,566 ล้านบาท และกลุ่มที่ 6 นิติบุคคล,เงินโอนภายในประเทศและต่างประเทศ,ถอนเงินสด,แคชเชียร์เช็ค,โอนผ่านเน็ต,ถอน ECS,โอนทางอินเตอร์เนต ฯลฯ 658 ฉบับ
7,203 ล้านบาท


ประสานปปง.ลุยยึดทรัพย์ต่อ

พ.ต.ท.สมบูรณ์กล่าวว่า หลังจากนี้ทางดีเอสไอจะประสานการทำงานกับ ปปง. อย่างใกล้ชิดเพื่อเป็นการสนับสนุนข้อมูลการฟอกเงินให้มีการดำเนินคดีอาญาได้ ซึ่งจะมีการยึดอายัดทรัพย์สินเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้ ส่วนกรณีที่ นายศุภชัย ออกมาแถลงข่าวว่าได้คืนเงินที่ยืมจากสหกรณ์ฯในช่วงปี 2552-2553 จำนวน 634 ล้านบาท หมดแล้วนั้น พ.ต.ท.ปกรณ์กล่าวว่า จากการตรวจสอบยังไม่พบว่านายศุภชัย คืนเงินมาแล้ว โดยทางดีเอสไอจะนำมาประกอบการพิจารณาเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะมีการเรียกนายศุภชัย มาให้ปากคำเพิ่มเติม


คิว‘ธัมมชโย’ให้ปากคำ10มีค.

ทั้งนี้ ยังพบความผิดปกติสัญญากู้ 27 ฉบับ ซึ่งผู้กู้ไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ส่วนสัปดาห์หน้าที่จะมีการเรียกผู้รับเช็คจำนวน 878 ฉบับ มาสอบปากคำด้วยทั้งหมด โดยจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มผู้รับเช็ค โดยกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มพระและวัดจำนวน 4 ราย 1.พระครูปลัดวิจารณ์ วันที่ 9 มีนาคม เวลา 10.00 น. 2.พระธัมมชโย วันที่ 10 มีนาคม เวลา 10.00 น. พระมนตรี
สุตาภาโส วันที่ 11 มีนาคม เวลา 10.00 น.และนายสถาพร วัฒนาศิริกุล วันที่ 13 มีนาคม เวลา 14.00 น. ส่วนกลุ่มนิติบุคคลซึ่งมีจำนวนหลายรายที่นายศุภชัยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 200 ฉบับ จะเรียกสอบปากคำเช่นกัน โดยทางกลุ่มพระและวัดพระธรรมกายยังไม่มีการตอบรับเข้าให้ปากคำ


จี้คกก.ฟื้นฟูฯลาออกยกชุด

ต่อมา นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงดีเอสไอ เพื่อให้ตรวจสอบคณะผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นชุดปัจจุบัน เนื่องจากไม่มั่นใจในการบริหารที่อาจไม่โปร่งใส เพราะในแผนฟื้นฟูกิจการสหกรณ์นั้น กลับมีรายชื่อสหกรณ์ 2 แห่ง ประกอบด้วย สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ จะได้รับเงินเป็นอันดับแรกๆ หลังจากนั้นผู้ที่ฝากเงินกับสหกรณ์ฯ คลองจั่นจึงจะได้เงินในระยะเวลา 5 ปี โดยมีผลตอบแทนให้ร้อยละ 15 จึงเรียกร้องให้คณะกรรมการฟื้นฟูกิจการสหกรณ์ฯ คลองจั่น ลาออกทั้งชุดภายในสัปดาห์หน้า


มหาโชว์ร้องเอาผิดหลวงปู่

เมื่อเวลา 10.00 น. วันเดียวกัน ที่กองบังคับการปราบปราม (ก.ป.) พระมหาโชว์ ทัสสนีโย ที่ปรึกษาสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา(สนพ.) และ นายเสถียร วิพรมหา รักษาการนายก สนพ. เดินทางเข้าพบ ร.ต.ท.วีรยุทธ ไชยสุระ พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ พระสุวิทย์ ธีรธัมโม หรือ พระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม กรณีนำมวลชนไปบุกรุกวัดปากน้ำภาษีเจริญ ซึ่งเป็นที่พำนักของผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา โดยนำพยานหลักฐานเป็นเอกสาร ภาพประกอบการกระทำความผิดและข้อความที่โพสลงในเฟซบุ๊ค มามอบให้กับพนักงานสอบสวนไว้เพื่อตรวจสอบ


ชี้ทำเรื่องไม่เหมาะสม

พระมหาโชว์กล่าวว่า พฤติกรรมของพระสุวิทย์ ทำเรื่องที่ไม่เหมาะสมหลายๆ เรื่อง เช่น การปลุกระดมมวลชนเข้าไปข่มขู่คุกคามผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ใช้คำพูดข่มขู่คุกคามกล่าวร้าย ใช้ถ้อยคำรุนแรง ก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงในสังฆมณฑลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนี้ยังนำสิ่งของสกปรกที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นกางเกงใน ผ้าอนามัย หรือ ดอกไม้จันทน์ ซึ่งอ้างว่าเป็นของสังฆทานไปถวาย ถือเป็นการลบหลู่ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชอย่างร้ายแรง ซึ่งน่าจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 44 ทวิ และ มาตรา 44 ตรี จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสอบสวน และดำเนินคดีตามกฎหมาย



เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์