ส่ง “สนธิ ลิ้ม” นอนคุกคดีผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ - ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพพร้อมดูแล

ส่ง “สนธิ ลิ้ม” นอนคุกคดีผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ - ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพพร้อมดูแล

ส่ง “สนธิ ลิ้ม” นอนคุกคดีผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ - ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพพร้อมดูแล

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 สิงหาคม ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า ที่ห้องพิจารณาคดี 914 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก
 
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อ.1036/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ และอดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย , นายสุรเดช มุขยางกูร อดีตกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  ,น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ อดีตผู้บริหารแผนฟื้นฟู บมจ. แมเนเจอร์ฯ และ น.ส.ยุพิน จันทนา อดีตกรรมการ บมจ. แมเนเจอร์ฯ เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307, 311, 312 (1) (2) (3) , 313

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2539 - วันที่ 31 มีนาคม 2540 จำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
 
ได้ร่วมทำสำเนารายงานการประชุมของกรรมการบริษัทที่เป็นเท็จว่ามีมติให้บริษัทแมเนเจอร์เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัทเดอะเอ็มกรุ๊ปจำกัด(มหาชน) ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้น กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รวม 6 ครั้ง เป็นเงินจำนวน 1,078 ล้านบาท โดยจำเลยที่ 1 และ 3 ไม่ได้ขออนุมัติจากมติที่ประชุมกรรมการบริษัท และเมื่อวันที่ 30  เมษายน 2539 – 18 พฤศจิกายน 2541 จำเลยทั้งสี่ยังร่วมกันยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงตัดทอนทำบัญชีไม่ตรงกับความเป็นจริง และยังไม่ได้นำภาระการค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นรายการที่ทำให้รายได้ของบมจ.แมเนเจอร์ฯ เปลี่ยนแปลงผิดปกติ ซึ่งต้องแสดงรายการไว้ในงบการเงินประจำปี 2539-2541 และจะต้องนำส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ ขาดประโยชน์ที่ควรจะได้รับ รวมทั้งเป็นการลวงให้นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ได้รับรู้ถึงการค้ำประกันหนี้ดังกล่าว เหตุเกิดที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา และแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กทม. เกี่ยวพันกัน ในชั้นพิจารณาจำเลยทั้ง 4 ให้การรับสารภาพ

ส่ง “สนธิ ลิ้ม” นอนคุกคดีผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ - ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพพร้อมดูแล

คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ว่า จำเลยที่ 1, 3 และ 4 ยังลงข้อความในเอกสารของบริษัททำบัญชีไม่ครบถ้วน ไม่ตรงต่อความเป็นจริง

ด้วยการไม่นำภาระการค้ำประกันหนี้ลงในรายการภาระหรือรายได้ของ บมจ.แมเนเจอร์ฯ เพื่อจัดส่งให้ตลาดหลักทรัพย์ และกลต. เพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์ที่ควรได้เป็นการกระทำโดยทุจริต เพื่อประโยชน์ของ บมจ.เดอะเอ็มกรุ๊ปฯ ทำให้เกิดความเสียหายพิพากษาจำคุกว่าจำเลยที่ 1 และ 3 ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ และประมวลกฎหมายอาญา 83,91 รวมจำคุกรวม 17 กระทงๆละ 5 ปี รวมเป็นเวลา 85 ปี  ส่วนจำเลยที่ 2 ลงโทษจำคุก 5  ปี  และจำเลยที่ 4  จำคุกรวม 13 กระทงๆละ 5 ปี รวมเป็นเวลา 65 ปี  แต่จำเลยทั้งหมดให้การรับสารภาพเป็นโยชน์แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง  คงเหลือจำคุกจำเลยที่ 1 และ 3 เป็นเวลา 42 ปี 6 เดือน ,จำเลยที่ 2 เหลือจำคุก 2 ปี 6 เดือน และจำเลยที่ 4 เหลือจำคุก 32 ปี 6 เดือน  แต่โทษสูงสุดในความผิดฐานดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้ลงโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 20 ปี จึงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 , 3 และ 4 คนละ 20 ปี  ต่อมาจำเลยที่ 1, 3 และ 4 ยื่นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า  แม้โจทก์ไม่นำสืบว่าจำเลยที่ 1 , 3 และ 4
 
ได้รับผลประโยชน์ส่วนตัวในการค้ำประกันของบมจ.แมเนเจอร์ฯ อย่างไร  แต่การค้ำประกันเงินกู้ของบมจ.แมเนเจอร์ฯ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกรุงไทยอนุมัติเงิน การกระทำของจำเลยจึงถือว่าครบองค์ประกอบทำให้บมจ.เดอะ เอ็มกรุ๊ปฯ ได้รับผลประโยชน์จึงเป็นความผิดโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307, 311  ส่วนที่จำเลยอ้างว่ามีเจตนาเดียวคือค้ำประกันเงินต่อเนื่องเพียงโครงการเดียว  จึงเป็นความผิดเพียงกระทงเดียวนั้นเห็นว่า จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการค้ำประกันเงินกู้ในโครงการเดียวอย่างไร ดังนั้นการที่จำเลยค้ำประกันเงินกู้แต่ละครั้งย่อมเป็นการกระทำผิดแยกกรรมต่างกัน 

ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้นำภาระการค้ำประกันหนี้ลงในรายการหรือรายได้เพื่อจัดส่งให้ตลาดหลักทรัพย์นั้น

เนื่องจากไม่ถือเป็นภาระผูกพันจึงไม่เป็นความผิดนั้นเห็นว่าบมจ.แมเนเจอร์ฯ เป็นบริษัทมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และดำเนินงานอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์เรื่องหลักเกณฑ์การจัดทำงบการเงินฯ โดยจะต้องรายงานผลการจดทะเบียนและจัดทำงบไตรมาสทุกๆ 6 เดือนหรือ 1 ปี โดยระบุในรายการหนี้สินหมุนเวียนและเปิดเผยในรายละเอียดประกอบงบการเงิน ซึ่งโจทก์มีเจ้าหน้าที่อาวุโสตลาดหลักทรัพย์เบิกความยืนยันว่า งบการเงินเป็นข้อมูลที่สำคัญ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจร่วมลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และรับรู้ถึงสถานะทางการเงินของบมจ.แมเนเจอร์ฯ ซึ่งทางบมจ.แมเนเจอร์ฯ ต้องเปิดเผยฐานะทางการเงินที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

จำเลยที่ 1,3 และ 4 ไม่มีพยานหลักฐานหักล้างพยานโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นกรรมการบมจ.แมเนเจอร์ฯ
 
มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำงบไตรมาสและงบประมาณรายปี แต่จำเลยไม่ลงภาระการค้ำประกันหนี้จัดทำรายการงบไม่ถูกต้อง ไม่ตรงความจริง โดยไม่คำนึงว่าจะมีใครเสียหายหรือไม่ อุทธรณ์จำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษเนื่องจากจำเลยไม่ได้มีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเองและบมจ.แมเนเจอร์ฯไม่ได้ทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายร้ายแรงเห็นว่า พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มีเจตนาคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้เป็นสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดความเข้มแข็ง การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมและเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ที่ศาลชั้นต้นลงโทษมานั้นเป็นโทษขั้นต่ำสุดแล้ว จึงไม่มีเหตุลดโทษได้อีก และพฤติการณ์ของจำเลยร้ายแรง ไม่อาจรอการลงโทษได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน   

ต่อมานายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ ได้เตรียมหลักทรัพย์เดิม ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ มูลค่า 10 ล้านบาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกา โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล

ต่อมาเมื่อเวลา 15.30 น. ที่ศาลอาญา ศาลได้มีคำสั่งขอปล่อยชั่วคราว ที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ

และอดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ อดีตผู้บริหารแผนฟื้นฟู บมจ. แมเนเจอร์ฯ และ น.ส.ยุพิน จันทนา อดีตกรรมการ บมจ. แมเนเจอร์ฯ จำเลยที่ 1,3 และ4 ฐานกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307, 311, 312 (1) (2) (3) , 313  ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำคุกคนละ 20  ปี  และทั้งสามได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นกรมธรรม์ประกันอิสรภาพ มูลค่าคนละ 10 ล้านบาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกา
โดยศาลอาญาพิเคราะห์คำร้อง และหลักทรัพย์แล้วเห็นควรส่งเรื่องให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณา เพื่อมีคำสั่งประกันต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   เจ้าหน้าที่จะส่งเรื่องทั้งหมดให้ศาลฎีกาพิจารณาในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ โดยศาลฎีกาจะใช้เวลาพิจารณาราว 3 – 5 วัน ประกอบกับเป็นช่วงวันหยุดยาวติดต่อกัน 4  วัน  คาดว่าศาลฎีกา น่าจะมีคำสั่งได้ราววันที่  14 - 15 สิงหาคมนี้
จากนั้นเวลา 17.00 น. ต่อมาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์นำรถตู้จำนวน  2 คัน มารับตัวจำเลยทั้งสาม โดยนำตัวนายสนธิแยกขึ้นรถเพียงคนเดียว 

 ซึ่งนายสนธิได้เปลี่ยนชุดเป็นใส่เสื้อยืดสีฟ้า กางเกงขาสั้นสีเทา โดยมีสีหน้ายิ้มแย้มพร้อมโบกมือให้ผู้ที่มาให้กำลังใจ  โดยกล่าวเพียงสั้นๆว่า “สบายดี”  จากนั้นได้ขึ้นรถเพื่อไปควบคุมไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพต่อไป  ส่วนลูกน้องคนสนิทอีก 2  คน ซึ่งเป็นหญิง ถูกนำตัวขึ้นรถตู้อีกคัน ไปควบคุมไว้ที่ทัณฑสถานหญิงกลางบางเขน เพื่อรอคำสั่งประกันจากศาลฎีกาต่อไป

เย็นวันเดียวกัน ผู้สื่อ "ข่าวสด" รายงานว่า นายสรสิทธิ์ จงเจริญ  ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพ  กล่าวถึงการรับตัวนายสนธิ  ลิ้มทองกุล 

 เข้าควบคุมในเรือนจำหลังศาลอุทธณ์มีคำพิพากษาจำคุกในความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯว่า นายสนธิจะถูกส่งตัวเข้าแดนแรกรับซึ่งเป็นขั้นตอนปกติของผู้ต้องขังทั่วไปจากนั้นจะต้องทำประวัติ  พิมพ์ลายนิ้วมือ และตรวจสุขภาพ พร้อมแจกคู่มือการอยู่ในเรือนจำ และอุปกรณ์ยังชีพ อย่างไรก็ตาม เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯจะควบคุมตัวนายสนธิเพียง 1 คืน ก่อนส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำกลางคลองเปรม เนื่องจากโทษจำคุกของนายสนธิเกิน 15 ปี อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  อย่างไรก็ตาม ระหว่างถูกคุมตัวในแดนแรกรับซึ่งมีผู้ต้องขังเสื้อแดงถูกคุมขังอยู่ด้วยคาดว่าจะไม่มีปัญหา  หรือข้อกังวลในการอยู่ร่วมกัน เพราะในห้องควบคุมมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดสำรวจเคลื่อนไหวผู้ต้องขังได้ทั่วถึง อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่ผู้คุมคอยดูแลป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างอยู่ร่วมกันได้แน่นอน

ส่ง “สนธิ ลิ้ม” นอนคุกคดีผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ - ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพพร้อมดูแล


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์