จาตุรนต์ ร่ายยาว รัฐธรรมนูญชั่วคราว′57 ห่วงรธน.ใหม่ ห้ามแก้ไขเด็ดขาด

จาตุรนต์ ร่ายยาว รัฐธรรมนูญชั่วคราว′57 ห่วงรธน.ใหม่ ห้ามแก้ไขเด็ดขาด

 วันนี้ 23 กรกฎาคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เผยแพร่เอกสารต่อสื่อมวลชน

 โดยกล่าวถึงธรรมนูญการปกครองชั่วคราว พ.ศ.2557 ว่า ในความเห็นของผม ประเด็นที่นาสนใจติดตามสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมีอยู่ 3-4 ประเด็นด้วยกันคือ 1.การจัดความสัมพันธ์ระหว่างคสช.กับครม.ใหม่และองค์กรอื่นๆ 2.ความเป็นไปได้ในการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ 3.การสร้างความปรองดอง และ 4.การสร้างกฎกติกาทางการเมืองที่จะทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ไม่ต้องเผชิญกับวิกฤตความขัดแย้งและการรัฐประหารอีกในอนาคต ขอขยายความดังนี้

1.สำหรับการจัดความสัมพันธ์ระหว่างคสช.กับองค์กรต่างๆนั้น เข้าใจว่าคสช.คงศึกษาบทเรียนจากการรัฐประหารครั้งที่แล้วและบทเรียนเมื่อหลายสิบปีก่อนด้วย ทำให้คสช.ตัดสินใจที่ยังคงอำนาจไว้มาก โดยเฉพาะการมีมาตรา 44 ที่ให้คสช.สามารถใช้อำนาจอธิปไตยทั้งสามได้อย่างเบ็ดเสร็จและเป็นที่สุด แม้จะไม่ครบทุกเรื่องก็ตาม คสช.อาจสรุปบทเรียนมาว่ามีความจำเป็น แต่ขณะเดียวกันก็จะเกิดความลักลั่นกับองค์กรอธิปไตยทั้งสามได้ และยังมีปัญหาความขัดแย้งกันเองของรัฐธรรมนูญและการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจด้วย หวังว่าคสช.คงไม่ใช้อำนาจตามมาตรานี้เกินความจำเป็นและเหมาะสม

2.คสช.คงจะรวบรวมความเห็นมาจากหลายฝ่ายที่ต้องการให้มีการปฏิรูป แต่การปฏิรูปเรื่องจำนวนมากในเวลาสั้นๆและในสภาพที่สังคมยังมีความเห็นต่างกันมาก ย่อมไม่ใช่เรื่องง่าย การเปิดโอกาสให้หลายๆฝ่ายได้เข้าร่วมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรจะพิจารณาคัดเลือกเรื่องที่จำเป็นก่อนหลังให้ชัดเจนมากขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังควรพิจารณาด้วยว่าต้องการให้การปฏิรูปนั้นมีผลถาวรแค่ไหน เมื่อมีรัฐบาลจาการเลือกตั้งแล้วจะแก้ไขได้อีกหรือไม่ เพียงใด

3.กระบวนการปรองดองที่กำลังทำอยู่ควรจะต้องเพิ่มการพูดจาหารือกันในเนื้อหาสำคัญๆโดยเฉพาะการมีความเห็นที่แตกต่างกันมานานการ เปิดโอกาสให้ผู้คนที่หลากหลายเข้าร่วมในองค์กรต่างๆและกระบวนการปฏิรูปก็ดี การปรองดองก็ดีรวมทั้งการร่างรัฐธรรมนูญย่อมเป็นประโยชน์มากกว่าการที่จะปิด กั้นบุคคลบางกลุ่มบางประเภทออกจากกระบวนการเหล่านี้การปิดกั้นหรือกีดกันคน บางกลุ่มออกจากวงจรตั้งแต่ต้นย่อมไม่เป็นผลดีต่อการปรองดองนอกจากนั้นเมื่อ มีรัฐบาลและสภาฯขึ้นแล้วหากจะให้เกิดความสมานฉันท์ได้ดีขึ้นควรลดการใช้ มาตรการเข้มข้นในทางความมั่นคงเป็นการทั่วไป โดยเฉพาะไม่ควรเน้นการเข้มงวดกับบางพวกบางฝ่ายที่พิเศษหรือแตกต่างจากฝ่าย อื่น ทั้งนี้เพื่อลดความรู้สึกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในสังคม

4.ในส่วนของการร่างรัฐธรรมนูญนั้น รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ มีลักษณะพิเศษกว่าธรรมนูญการปกครองหรือรัฐธรรมนูญชั่วคราวหลายฉบับในอดีตตรง ที่ได้กำหนดสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่จะร่างกันขึ้นไว้หลายประการดังที่ ปรากฏในมาตรา35แม้ว่าสาระเหล่านั้นจะมาจากความเห็นในสังคมในหลายเดือนหรือ หลายปีมานี้ก็ตามแต่ความเห็นเหล่านั้นก็มักมาจากบางกลุ่มบางฝ่ายในสังคมเท่า นั้น ไม่ใช่ความเห็นที่สอดคล้องตรงกันในหมู่คนส่วนใหญ่ ดังนั้นเมื่อการร่างรัฐธรรมนูญดำเนินต่อไปก็อาจพบว่าที่บัญญัติไว้เป็นแนว นั้นอาจไม่สอดคล้องกับปัญหา หรือไม่สามารถใช้แก้ปัญหาก็ได้ ถึงตอนนั้นก็อาจยุ่งยากที่จะต้องย้อนมาแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเสียก่อน

นายจาตุรนต์ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าที่น่าห่วงมากกว่านั้นคือการที่มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา35 (9) ว่าให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมิให้มีการทำลายหลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญจะได้วางไว้

"การบัญญัติไว้อย่างนี้ อาจมีผลเท่ากับว่าเมื่อได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาแล้ว ห้ามไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีกเลย สังคมไทยคงไม่ลืมว่าการที่วิกฤตของสังคมมาถึงทางตันในหลายเดือนที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ได้อยู่ในสภาพที่ไม่มีใครแก้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ทั้งฉบับหรือเป็นรายมาตราก็ตาม การสร้างโรดแมพที่ดีจึงไม่ควรเริ่มจากการกำหนดให้กระบวนการแก้ปัญหาต้องเดินไปสู่ทางตันอีกครั้งหนึ่ง"

ใน รัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้เปิดช่องสำหรับการปรึกษาหารือระหว่างองค์กรที่มีอำนาจ ไว้เพื่อสามารถและแก้ไขปัญหาที่อาจมีหรืออาจพบเห็นในอนาคตและในกระบวนการที่ กำลังทำกันอยู่นี้ก็ยังต้องการการมีส่วนร่วมจากประชาชนอีกมาก

ผมจึงขอฝากความเห็นเหล่านี้ไว้โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างตามสมควร


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์