คณิตชี้กระบวนการยุติธรรมไทยมีปัญหาทั้งระบบ

"ธีรยุทธ"ไม่วิจารณ์ทหาร เหตุ คสช.ขอเวลาทำงาน ลั่นพร้อมชำแหละเมื่อถึงเวลา ย้ำพร้อมสู้กับเผด็จการทหารที่คอร์รัปชั่น บอกปฏิรูปประเทศสำเร็จได้ ปชช.ต้องมีอำนาจ-มีเสรีภาพบนความรับผิดชอบ

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดเสวนา ชุด "เหลียวหลังแลหน้า 8 ทศวรรษ อภิวัฒน์สังคมไทย"
 
ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้าการอภิวัฒน์สังคมไทย” ตอนหนึ่งว่า วันนี้หลายคนคาดหวังว่าจะพูดถึงการทำงานของ คสช.ที่ผ่านมา ซึ่งวันนี้จะไม่พูด จะทำหลัง 2-3 เดือน ก็จะประเมินผลงาน คสช. เพราะเขาขอเวลาทำงานก่อน จากนั้นก็จะชี้ให้เห็นการทำงานในแต่ละด้าน ซึ่งสาเหตุที่ไม่พูดวันนี้ ไม่ได้กลัวกฎอัยการศึกแต่อย่างใด

นายธีรยุทธ กล่าวว่า สำหรับปัญหาประชาธิปไตยไทย ปกติเรายึดถือกันว่าการอภิวัฒน์ 2475

คือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเริ่มเปลี่ยนการปกครองแบบประชาธิปไตย ต่อมาก็ถูกเผด็จการของทหารเข้ามายึดชิงอำนาจไป และช่วงถัดมาอำนาจบารมีของสถาบันกษัตริย์ก็กลับมาสูงส่งอีกครั้ง คนไทยโดยเฉพาะปัญญาชนจำนวนหนึ่งมองว่าปัญหาของประเทศไทยยังคงเป็นประเด็นชนชั้นสูงหรืออำมาตย์เข้ามาแทรกแซงประชาธิปไตยของประชาชน ต่างประเทศก็กดดันไทยด้วยประเด็นนี้ ซึ่งโดยเนื้อแท้ก็เพื่อผลประโยชน์ของชาติพวกเขา จึงจำเป็นที่เราจะต้องก้าวพ้นความเข้าใจประชาธิปไตยที่ผิด ๆ และคับแค้นจนสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทยด้วยกันเอง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แต่สิทธิอำนาจและเสรีภาพก็ไม่ได้ถูกกระจายลงไปถึงชาวบ้าน คนไทยไม่ได้รับ ทั้งการอบรบบ่มเพาะวัฒนธรรม


คณิตชี้กระบวนการยุติธรรมไทยมีปัญหาทั้งระบบ

ประชาธิปไตยในโรงเรียน ครอบครัวไม่มีโอกาสดำเนินวิถีชิวิตในแบบที่รู้สึกเคารพสิทธิเสรีตัวเองและผู้อื่น ระบบราชการและระบบยุติธรรม ยังยึดติดอยู่กับระบอบอุปถัมภ์
 
ขาดประสิทธิภาพที่จะส่งเสริมให้ประชาชน ดำรงชีวิตแบบรับผิดชอบต่อตัวเองได้ คนไทยจึงไม่ได้มองสิทธิเสรีภาพ ความรับผิดชอบเป็นแก่นของชีวิต แต่มองเป็นเพียงกลไกย่อยที่จะช่วยดำรงชีวิต ยังมีกลไกที่จำเป็นอื่นๆ เช่น การมีเส้นมีสาย พวกพ้อง ต้องระวังอำนาจ เส้นสายของผู้อื่น คนไทยจึงมองว่า ปัญหาส่วนรวมเป็น “ธุระไม่ใช่” ปล่อยให้ปัญหาสังคมบ้านเมืองหมักหมมไปเรื่อยๆ ประชาธิปไตยไทยที่ผ่านมา จึงเป็นเพียงการเลือกตั้งเพื่อคัดสรรผู้ที่กอบโกย จากประเทศได้มากกว่ากันให้ขึ้นมาปกครองบ้านเมือง              


"แม้ผมจะเคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาเมื่อ14 ต.ค.16 แต่เป้าหมายแค่นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป ผมคัดค้านเผด็จการที่คอร์รัปชั่น โกงกินบ้านเมืองจนย่อยยับ ผมคัดค้านเผด็จการทหารในอดีตที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเพื่อตัวเองและพวกพ้อง และปัจจุบันถ้าจะทำเพื่อประโยชน์ตัวเองและพวกพ้อง ผมก็จะต่อสู้คัดค้าน"นายธีรยุทธ กล่าว

นายธีรยุทธ กล่าวว่า ในช่วงขณะนี้ ขอเรียกร้องต่อสู้ให้มีการปฏิรูปหรืออภิวัฒน์ เป้าหมายของประเทศจึงต้องเป็นการอภิวัฒน์

ซึ่งหมายถึง การทำให้ประเทศดีขึ้น ประชาชนดีขึ้น โดยเฉพาะดีขึ้นอย่างถาวรยั่งยืน ซึ่งก็คือประชาชนตระหนักในการมีอำนาจ และความผิดชอบของตน การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจอย่างจริงจัง 1.ประชาชนจะดูแลปกครองท้องถิ่น ชุมชมตัวเอง กำหนดวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจสังคมของท้องถิ่นมากขึ้น 2.จะมีอำนาจจัดการทรัพยากรท้องถิ่นตนมากขึ้น 3.มีอำนาจกำหนดอัตลักษณ์คือ การเข้าใจ เคารพประวัติศาสตร์วัฒนธรรมซึ่งกันและกันของท้องถิ่นต่าง ๆ ปัญหานี้จะสำคัญยิ่งในอนาคต

นายธีรยุทธ กล่าวต่อว่า ความกังวลว่าประเทศไทยจะเป็นรัฐล้มเหลว ซึ่งพูดถึงกันพอสมควรในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา เป็นเรื่องใหญ่มาก
 
เพราะนับตั้งแต่การเมืองระหว่างประเทศ เกิดขึ้นโลกสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 17 ความเป็นรัฐมีความสำคัญสูงสุด การเป็นรัฐล้มเหลว จึงเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุด ซึ่งเครื่องบ่งชี้ภาวะเป็นรัฐล้มเหลวตัวหนึ่งก็คือ ปริมณฑลอำนาจรัฐที่เป็นทางการลดลง เมื่อเทียบกับปริมณฑลอำนาจรัฐที่ไม่เป็นทางการ หรือถูกทำให้เป็นส่วนตัว ซึ่งขยายเพิ่มมากขึ้น และการก่อตัวของอำนาจกึ่งทางการ กึ่งไม่เป็นทางการแบบใหม่ หรือที่เรียกกันว่า “ระบอบทักษิณ”ขึ้นมาท้าทายอำนาจเดิม 

คือ1.ภาวะเช่นนี้มีปัจจัยหลักจากการพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์และไม่ครบทุกด้าน พื้นที่พ้นไปจากที่ได้รับการพัฒนา เป็นรอยต่อหรือชายขอบที่ถูกละเลย ทอดทิ้ง คนที่ไม่มีโอกาส ความสามารถเข้าถึงพื้นที่การพัฒนา จะพยายามใช้พื้นที่ซึ่งเป็นของรัฐมาเป็นประโยชน์ของตน สภาพเช่นนี้จะทำให้เกิดการใช้อำนาจนอกระบบของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเกิดเป็นทั้งกลุ่มนักเลง แก๊งอิทธิพลมีสี และมาเฟียกลุ่มต่างๆ ใช้อำนาจมืด อำนาจสกปรก ความรุนแรง ซึ่งจะขยายตัวครอบคลุมไปทุกรอยต่อ เป็นต้น

นายธีรยุทธ กล่าวอีกว่า 2.การที่คนไทยไม่รู้สึกว่าตัวเองมีสิทธิอำนาจและเสรีภาพอย่างแท้จริง และการที่อำนาจดูแลทรัพยากรกิจการต่างๆ ในท้องถิ่น ไม่ถูกกระจายไปสู่ชาวบ้าน ชาวบ้านเกรงกลัวอิทธิพล ทำให้ไม่เกิดกลไก ในการกำกับดูแล ตรวจสอบปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น

3.ปัจจัยที่ไม่สมดุลทางอำนาจ โดยใช้ช่วงสมบูรณญาสิทธิราชย์อำนาจรวมศูนย์อยู่กับสถาบันกษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ก็เป็นหลักใช้ทรัพยากรของประเทศ ในช่วงเผด็จการ ทหาร ตำรวจเป็นใหญ่ พวกเขาก็เป็นกลุ่มหลักที่ได้ใช้และจัดสรรทรัพยากร ในช่วงหลัง 14 ต.ค.16 จนถึงยุคเศรษฐกิจโลกาภิวัฒน์ อำนาจและอิทธิพลของนักการเมือง และกลุ่มทุนขยายตัวใหญ่เหนือข้าราชการและกลุ่มอื่น ๆ อย่างมาก เกิดภาวะล้มเหลวของรัฐทั้งแบบ “รูรั่ว” ซึ่งเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงในยุคหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือแบบ “รอยต่อ” และอิทธิพลมืด มาเฟีย ในยุคหลังจอมพลสฤษดิ์ แต่ได้เกิดภาวะล้มเหลวแบบ “ล้ำลึก” หรือ “รูลึก” ซึ่งมักเรียกว่า การคอร์รัปชั่นทางนโยบาย หรือการคอร์รัปชั่นแบบบูรณาการ ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ ผู้มีอิทธิพล และชาวบ้านร่วมมือกัน เป็นการคอร์รัปชั่นแบบล้ำลึก โดยอาศัยอำนาจครบวงจร การปิดบังข้อมูลหรือใช้ข้อมูลภายใน

นายธีรยุทธ กล่าวต่อว่า 4.การล่มสลายของพื้นที่จริยธรรม ศีลธรรมในสังคมไทยอย่างสิ้นเชิง การจำแนกถูกผิด ดีเลว หลงเหลืออยู่น้อยมาก ปัญหาคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นพร้อมๆ กันกับการลดลงของพื้นที่ทางการของอำนาจรัฐ และการขยายการฉกฉวย ยึดชิงพื้นที่อำนาจรัฐให้เป็นของส่วนตัวของนักการเมืองและกลุ่มทุน ซึ่งอธิบายโดยกระบวนการที่เรียกว่า "รูรั่ว รอยต่อ รูลึก"(คอร์รัปชั่นนโยบาย) สภาพเช่นนี้บ่งชี้ได้ว่า รัฐกำลังล้มเหลว โดยเฉพาะถ้ากลุ่มทุนและกลุ่มการเมืองไม่มีสำนึกความเป็นรัฐไทย ประเทศไทย การเปลี่ยนอำนาจรัฐทางการให้เป็นของส่วนตัว จะเกิดอย่างรวดเร็วดังที่ได้เห็นในกรณีของตำรวจ อัยการ ดีเอสไอ รัฐวิสาหกิจ และข้าราชการอีกหลายกระทรวง ทั้งหมดเป็นการก่อรูปของอำนาจแบบใหม่ที่ไม่ใช้อำนาจตามระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาท้าทายอำนาจรัฐแบบเดิม       
        

นายธีรยุทธ กล่าวทิ้งท้ายว่าประเทศไทยล้ำลึก เพราะอำนาจรัฐ อำนาจสาธารณะของประเทศถูกเจาะไชเป็นรูลึก มีทั้งรูรั่ว รอยต่อกินพื้นที่ที่สกปรก น่าเกลียด

อำนาจเลวที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งยังไม่มีคำตอบชัดเจนในส่วนนี้ คือ 1. เราต้องอยู่กับภาวะลูกผสม พันธุ์ผสม เช่นนี้ แต่เราจะกำกับควบคุมเปลี่ยนจากความน่าเกลียด เลวร้าย รุนแรงให้เป็นสิ่งที่ดี สวยงาม ดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขหรือไม่ อย่างไร 2.อำนาจรัฐ (ทหาร ข้าราชการบางส่วน) จะเป็นผู้แก้ให้อำนาจส่วนที่เสื่อมถูกยึดเป็นของบุคคลนี้ให้ดีขึ้น หรือประชาชนสังคมจะเป็นผู้แก้ หรือ ร่วมกันแก้  3. หนทางอนาคต รัฐไทยคงถูกปรับตัวให้แข็งแรงขึ้น แต่ตนมองว่า รัฐในโลกยุคปัจจบันจะแข็งแรงอย่างแท้จริง จะต้องไม่ใช้ระบบราชการแข็งแรง มีคุณธรรมอย่างเดียว แต่จะต้องมีกลไกสังคมคอยช่วยตรวจสอบถ่วงดุลและส่งเสริมภาครัฐ จึงจำเป็นมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง ประชาชนมีทั้งสิทธิ อำนาจ ความรับผิดชอบอย่างแข็งขันด้วย ภาพรวมจึงควรเป็นรัฐแข็งแรง สังคมเข้มแข็ง ประชาชนมีอำนาจ              

"ผมมองว่าจะปฏิรูปประเทศไทยได้ควรจะต้องมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีอำนวจ มีส่วนร่วม มีภาคประชาที่เข้มแข็ง มีสิทธิและเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม การพูดถึงปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงอยากฝากไว้ว่า สิทธิและเสรีภาพที่มีควรจะต้องมีความรับผิดชอบด้วย ถ้าความรับผิดชอบไม่เกิด สังคมก็จะแข็งแรงไม่ได้"นายธีรยุทธ กล่าว.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์