โปรดฟังอีกครั้ง เดือนพฤษภาฯน่าห่วง

มีรายงานกระเส็นกระสายเป็นรายงานข่าวออกมาหลังการประชุม ครม. นอก รอบ


ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ระหว่าง ครม. นำโดย

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี

กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เพียง 2 คนคือ

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. และ
พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช.

รายงานข่าวระบุว่า

พล.อ.สนธิวิเคราะห์สถานการณ์ว่า เดือน พ.ค. จะมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างหนักจากกลุ่มอำนาจเก่าเพื่อล้มรัฐบาล


ดูท่าจะจริงเพราะ พล.อ.สุรยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า


"พล.อ.สนธิคงมองในด้านของประธาน คมช. ที่ได้มีข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งวานนี้ (24 เม.ย.) พล.อ.สนธิ ก็ได้พูดในที่ประชุม ครม. นอกรอบให้ทราบแล้ว ซึ่งรัฐบาลก็รับที่จะติดตามและหาทางที่จะแก้ไข

ทั้งนี้เป็นปัญหาที่มีอยู่ในหลายรูปแบบ ซึ่งมีหลายเรื่องที่จะมารวมกันในช่วงเวลาดังกล่าว

และยิ่งได้เซียนการเมืองอย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ออกมาฟันธงดังเปรี้ยงว่า

"ยิ่งใกล้วันที่ 30 พ.ค. เท่าไหร่เหตุการณ์ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งวันนั้นจะเป็นวันชี้อะไรบางอย่างของพรรคการเมือง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะชี้ว่าจะยุบหรือไม่ยุบ คดีความต่าง ๆ ก็จะประดังกันเข้ามาในช่วงนั้น

ตอนนี้ผมรู้สึกเป็นห่วงบ้านเมืองในขณะนี้มากเพราะไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ และวิกฤติการณ์จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ก็ตอบไม่ได้ เราไม่รู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำตัดสินอย่างไร ถ้ามีคำตัดสินอย่างไรต่างก็มีผลสะท้อนกลับมาทั้งนั้น แนวโน้มจะยุบหรือไม่ต้องคอยดู"



หรือแม้แต่ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนช.


ซึ่งเป็นอดีตพันธมิตรประชาชน ยังยื่นญัตติเพื่อให้เสนอปัญหาให้รัฐบาลเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อลองไล่ดูไปจนถึงวันที่ 30 พ.ค. ซึ่งเป็นวันที่ตุลการรัฐธรรมนูญนัดฟังคำพิพากษาคดี "ยุบพรรค" ของพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์

ประเดิมก็วันที่ 27 เม.ย. นี้กลุ่มพีทีวีจะเริ่มชุมนุม เนื้อหาหลักคือ การต่อต้านรัฐบาล ไล่ คมช. และรณรงค์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มนี้ยังมีแนวร่วมซึ่งเคลื่อนไหวมาคู่ขนานกันคือ กลุ่ม 12 องค์กรต้านรัฐประหาร ที่มีเป้าหมายตรวจสอบ คมช. รัฐบาล และค้านร่างรัฐธรรมนูญ

ต่อมาคือ "ม็อบชาวพุทธ" ซึ่งเรียกร้องให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งปักหลักอยู่หน้ารัฐสภา ยืนยันแล้วว่าจะอยู่จนมีความชัดเจนว่าจะมีการแปรญัตติให้ร่างรัฐธรรมนูญตามที่ต้องการ ร่างรัฐธรรมนูญจะส่งถึงมือ 12 องค์กร

จากนั้นภายใน 1 เดือดความเห็นดังกล่าวจะกลับมาที่กรรมาธิการยกร่าง ดู ๆ แล้วก็ประมาณวันที่ 26 พ.ค.


ยังไม่รวมการเคลื่อนไหวความเดือดร้อนต่าง ๆ


ที่ทั้งเดือดร้อนแท้และเดือดร้อนเทียม

สำคัญเดือน พ.ค. ยังเคยเกิดเหตุการณ์ในอดีตคือ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเหล่านี้จึงต้องรีบสะสางและบรรเทาปัญหา

ไม่แปลกที่มีคำเตือนจาก พล.อ.สนธิ แต่ที่อยากฟังหลังจากนั้นคือ แล้วจะคลี่คลายปัญหาอย่างไร.




ขอขอบคุณ : ข้อมูลข่าวที่มีคุณภาพ โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์