มติ ป.ป.ช. 7 ต่อ 0 ยิ่งลักษณ์ จงใจกระทำผิดขัดรัฐธรรมนูญ ม.178 ส่งวุฒิสภา ถอดถอน

มติ ป.ป.ช. 7 ต่อ 0 ยิ่งลักษณ์ จงใจกระทำผิดขัดรัฐธรรมนูญ ม.178 ส่งวุฒิสภา ถอดถอน

ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือป.ป.ช.

ตั้งแต่ในช่วงเช้าคณะกรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่ประชุม เพื่อพิจารณารายงานสรุปสำนวนคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีละเลยเพิกเฉยให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว

นายปานเทพ กล้าณรงราญ ประธาน ป.ป.ช.เปิดเผยว่า

เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญ โดย ป.ป.ช.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากวุฒิสภาขอให้ถอดถอนอดีตนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ โครงการจำนำข้าว พร้อมทั้งยังมีข้อร้องเรียนทางอาญาอีกด้วย จึงมีการตั้งองค์คณะในการไต่สวนที่มีนายวิชา มหาคุณ เป็นประธานอนุกรรมการฯ  ในขณะนี้เห็นว่าข้อมูลมีเพียงพอในการถอดถอน คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ส่งให้ ป.ป.ช.ชุดใหญ่พิจารณา ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ 7-0 เห็นว่ามีมูลเพียงพอส่งให้วุฒิสภาถอดถอน ส่วนการร้องเรียนเรื่องอื่นๆยังคงแยกกันและดำเนินการต่อไป

นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า ก่อนการเริ่มพิจารณาชี้มูลความผิด นางสาวยิ่งลักษณ์ นำเสนออ้างอิงหลักฐานเพิ่มเติมอีก

แต่จากการพิจารณา เห็นว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน โดยการชี้มูลความผิดนั้น ป.ป.ช.เห็นว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องเข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 และส่อว่าใช้อำนาจหน้าที่เป็นเหตุให้ควรถอดถอนออกจากตำแหน่ง ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีหน้าที่กำหนดนโยบายข้าว  ป.ป.ช.เคยส่งหนังสือเตือนไปแล้วสองครั้งว่าโครงการดังกล่าวส่อให้เกิดการทุจริตอย่างมาก ขาดทุนสะสมสามแสนกว่าล้านบาท รวมถึงสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)เคยส่งหนังสือตักเตือนว่าอาจมีความเสี่ยงจะทำให้ประเทศเสียหาย แม้ในชั้นนี้จะมีหลักฐานไม่ชัดเจนก็ตาม แต่การที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ทำตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี และไม่ยับยั้งโครงการดังกล่าวทั้งที่รู้ว่าเสียหาย ป.ป.ช.จึงมีมติ เห็นว่ามีความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 และ พรบ.บริหารราชการแผ่นดินมาตรา11 (1) และให้แยกสำนวนถอดถอนส่งไปยังวุฒิสภา โดยส่วนคดีอาญาจะส่งพิจารณาต่อไป

มตินี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวบุคคล ส่วนเรื่องคดีอาญา ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ สำหรับการส่งเรื่องถอดถอนให้วุฒิสภานั้นจะส่งได้ในสัปดาห์หน้า แม้นางสาวยิ่งลักษณ์จะพ้นไปแล้ว แต่ต้องส่งเพื่อตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

ทั้งนี้นายประสาท พงษ์ศิวาภัย รองโฆษก ป.ป.ช.อธิบายเพิ่มเติมว่า กรณีดังกล่าวได้ใช้ความรอบคอบอย่างมาก

และเปิดโอกาสให้ทำอย่างโปร่งใสเเละเที่ยงธรรม มีการชี้แจงทั้งการอ้างพยานอย่างเต็มที่ โดยในส่วนพยานครั้งแรกมี 11 ปาก เเต่เกี่ยวข้องกัน 4 ปาก จึงเรียกมาไต่สวน หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีขอเพิ่มพยานอีก 7 ปาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เห็นว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอเเล้วจึงปฏิเสธไป โดยป.ป.ช.เพียงรับเอกสารเอาไว้เพื่อประกอบสำนวนการพิจารณา ล่าสุดขอเพิ่มพยานอีก 6 ปากเป็นพยานใหม่ ป.ป.ช.จึงอนุญาตให้นำพยานใหม่ ไปรวมในการพิจารณาคดีอาญา 


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์