2 ด้านการเมือง ′สุเทพ′ ฮึกห้าว เหิมหาญ ′ยิ่งลักษณ์′ หดหู่

2 ด้านการเมือง ′สุเทพ′ ฮึกห้าว เหิมหาญ ′ยิ่งลักษณ์′ หดหู่

มีความฮึกเหิมเป็นอย่างมาจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ฮึกเหิมถึงระนาบที่เปล่งประกาศจากเวทีปราศรัยสวนลุมพินี

"ตั้งแต่วันนี้เราจะไม่เรียกรัฐบาลว่ารัฐบาลแล้ว

แต่จะเรียกว่า "กลุ่มโจร 500" และเรียก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรว่า "อีนางโจร 500" รวมทั้งเปลี่ยนเป็นการต่อสู้กับ

"กลุ่มโจร 500" (ไทยรัฐ 31 มีนาคม)

นั่น เท่ากับเป็นการตอกย้ำ ยืนยัน ความเชื่อ "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นอกจากไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายแล้ว ยังไม่มีความชอบธรรมทางการเมืองเนื่องจากประชาชนไม่ยอมรับ ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื้อเก้าอี้ไว้ทั้งที่อยู่ไปก็ทำอะไรไม่ได้และเป็นรัฐบาลล้มเหลวแล้ว"

ความมั่นใจของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ คือ "เรื่องนี้จะยุติได้เมื่อข้าราชการโดยเฉพาะตำรวจ ทหาร ออกมาประกาศตัวแสดงจุดยืนให้ชัดเจน

ความเป็นรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จบทันที"

ขีปนาวุธจาก กปปส.จึงในวันที่ 1 เมษายน อันตรงกับวันข้าราชการจะออกมา "เคลื่อนไหว" พุ่งเป้าไปยังบรรดาข้าราชการตามหน่วยราชการต่างๆ เป็นสำคัญ

ปิด "เกม" ให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ความจริงแล้ว หากประเมินจากท่าทีและการเคลื่อนไหวของ "องค์กรอิสระ" อย่าง "ป.ป.ช." ถือได้ว่า สถานะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร่อแร่อย่างยิ่ง


ไม่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะ "ไป" หรือ "ไม่ไป" ชี้แจง

การขอยืดเวลาจากกำหนดเดิม 21 วันเป็นอันจบสิ้น การขอเปลี่ยน นายวิชา มหาคุณ มิให้อยู่ในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด จบสิ้น

เท่ากับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จบ

ไม่ว่าจะอ้าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือที่เรียกว่ากฎหมาย ป.ป.ช.

โดยเฉพาะ มาตรา 43 วรรคท้าย

ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนดขึ้นจะต้องไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม และจะต้องไม่ทำให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาลดน้อยลงกว่าที่กฎหมายบัญญัติ

ไม่ว่าจะอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา ไม่ว่าจะอ้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิเสรีภาพสิทธิของผู้ต้องหา ป.ป.ช.ก็ไม่ฟัง

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องเดินขึ้นสู่ "ตะแลงแกง" สถานเดียว

ข้อเรียกร้องของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ข้อถกแถลงอันมาจากทีมกฎหมาย พรรคเพื่อไทย พุ่งเป้าเข้าสู่ 3 ประเด็น

1 การไม่ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกับ "ผู้ถูกกล่าวหา" อื่นๆ ซึ่งเป็น "นักการเมือง"

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบในกรณีใกล้เคียงกันระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เรื่องหนึ่งเกิดเมื่อปี 2552 เรื่องหนึ่งเกิดเมื่อปี 2554

1 ต่อโครงการจำนำข้าว ยังไม่มีการพิสูจน์ให้ถึงที่สุดว่าระดับผู้ปฏิบัติหรือผู้รับผิดชอบโดยตรง ใครทำผิดหรือทุจริตอย่างไร

แต่กลับจะเอาผิดกับ "นายกรัฐมนตรี"

บทสรุปอันมาจาก นายจาตุรนต์ ฉายแสง คือ "จึง เข้าลักษณะใช้อำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตมาแก้ปัญหาการ เมืองเพื่อหาทางลงให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวกเสียมากกว่า"

ประเด็นอยู่ที่ว่า "พวก" ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ "เส้นใหญ่"

เส้นใหญ่และมากด้วยบารมีพอที่จะทำให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เดินหน้าลุยไฟ ไม่เกรงอกเกรงใจต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แม้แต่น้อย

ทั้งๆ ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ "นายกรัฐมนตรี"

จากนี้จึงเท่ากับเป็น "บทเรียน" จึงเหมือนกับเป็น "สัญญาณ" เตือนในทางการเมือง

ความไร้ขื่อแปอันมาจากการชุมนุมและเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองก็หนักหนาสาหัสอย่างยิ่งอยู่แล้วไฉน "องค์กรอิสระ" จะต้องสวมวิญญาณ "อนาธิปไตย" ไปด้วย



เดินหน้า "จัดการ" กับปัญหาโดยไม่คำนึงถึง "ผล" อันจะตามมา

...............

 

(ที่มา:มติชนรายวัน  1 เมษายน 2557)


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์