ลืม...อายัดทรัพย์.!

ลืม...อายัดทรัพย์


ถ้าพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ในฐานะประธาน คมช. มีเวลาทบทวนความผิดพลาดที่สำคัญที่สุด หลังจากการทำปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49 ที่ผ่านมา

ผมคิดว่าการไม่ออกคำสั่ง "อายัดทรัพย์" นักการเมืองบางคนที่มีข้อกล่าวหาว่า บริหารงานมีปัญหาและก่อให้เกิดข้อครหาเรื่องทุจริตหรือคอร์รัปชัน น่าจะเป็นเรื่องหนึ่งที่ พล.อ.สนธิเสียดายมากที่สุด

เพราะการอายัดทรัพย์ เป็นมาตรการที่สำคัญที่ใช้ตรวจ สอบการใช้จ่ายเงินหรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ ข้อสำคัญ การดำเนินการอะไรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณ ต้องขออนุญาต กับหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถล่วงรู้ได้ว่า คนที่ถูกอายัดทรัพย์นำเงินไปทำอะไรบ้าง


อย่างในสมัยที่สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)


เข้ามายึดอำนาจจากรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2543 นายทหาร ได้ออกคำสั่งอายัดทรัพย์นักการเมืองหลายคนในช่วงนั้น พร้อมให้ มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบทรัพย์สิน

โดยมี พล.อ. สิทธิ์ จิรโรจน์ เป็นประธาน เพื่อตรวจสอบว่า อดีตผู้บริหารในรัฐบาลของ พล.อ.ชาติชายบริหารงานถูกต้องหรือไม่

น่าเสียดายที่ต่อมา

นักการเมืองที่ถูกคณะกรรมการฯตรวจสอบทรัพย์สิน ซึ่งตั้งขึ้นในสมัย รสช. ไปยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมว่า การออกคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในที่สุดศาลฎีกาก็มีคำพิพากษาให้การออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นโมฆะ เพราะดำเนินการโดยขัดหลักกฎหมาย


จำได้ว่า หลังจากสภา รสช. เข้ามายึดอำนาจ


และแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราวที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐ มนตรี ไม่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะ "คลื่นใต้น้ำ" เหมือนกับปัจจุบัน จึงทำให้เชื่อได้ว่ามาตรการอายัดทรัพย์ ถือเป็นกลไกที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้ใครก็ตามที่คิดจะทำอะไร ต้องไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะหากเคลื่อนไหวโดยไม่ถูกต้อง อาจถูกดำเนินการ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ดังนั้นจึงน่าเชื่อว่า ถ้าหากตัดเส้นทางทางการเงิน หรือ ที่เราเรียกกันว่า "ท่อน้ำเลี้ยง" ได้ ทุกอย่างก็จบ แต่ความจริงแม้ คมช. จะไม่ใช้วิธีอายัดทรัพย์ แต่ยังมีหน่วยงานสำคัญที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเส้นทางการใช้เงินของกลุ่มต่าง ๆ ที่เชื่อว่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมืองอย่าง คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)

ซึ่งผมไม่ทราบว่ามีการสั่ง การหรือมีการมอบหมายให้ไปตรวจสอบใครบ้างหรือไม่


การที่ พล.อ.สนธิและนายทหารใน คมช.


ไม่ต้องการออกคำสั่งอายัดกับอดีตผู้บริหารหรือนักการเมือง ที่เคยมีบท บาทสำคัญในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา อาจจะกลัวข้อครหาว่า เป็นการใช้อำนาจกลั่นแกล้งโดยไม่เป็นธรรม จึงให้กระบวนการตรวจ สอบทุกอย่างผ่านกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เพราะเห็นบทเรียนจากการยึดอำนาจของ รสช. ในช่วงที่ผ่านมา

แต่ คมช. ประเมิน "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ต่ำเกินไป คิดว่าเมื่อเข้ามาโค่นล้มรัฐบาลภายใต้การนำของบุคคลท่านนี้ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะปกติ ไม่มีคลื่นใต้น้ำ

โดยลืมไปว่า ทั้งด้วยอำนาจเงินและบารมีของอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยที่สั่งสมมาตลอด 5 ปี

ยังทำให้หลายคนยอมมอบกายถวายชีวิตรับใช้อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยอย่างเต็มที่.



ขอขอบคุณ : ข้อมูลข่าวที่มีคุณภาพ โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์