บรรณวิทย์ บุก คตส. ยื่นหนังสือจี้สอบ คิงเพาเวอร์

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)


เมื่อเวลา 10.00 น. พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานประธานคณะกรรมาธิการศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหาสนามบินสุวรรณภูมิ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมด้วย พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสัญญาการดำเนินการของบริษัทคิงพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และคณะ เดินทางมายื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษต่อนายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคณะกรรมการการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียกายแก่รัฐ(คตส.)

เพื่อให้สอบสวนและชี้มูลความผิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง


ในการจัดทำสัญญาที่มิชอบ และการดำเนินการที่ขัดต่อระเบียบและกฎหมายหลายฉบับ โดยได้นำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริง หลักฐานการสัญญาร้านค้าปลอดอากร และการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์เข้ายื่นด้วย ซึ่งภายหลังการยื่นหนังสือ คณะกรรมาธิการได้หารือร่วมกับนายนาม และคุณหญิงจารุวรรณ ประมาณ 30 นาที

จากนั้นพล.ร.อ.บรรณวิทย์ เปิดเผยว่า


มายื่นให้คตส.ตรวจสอบเกี่ยวกับสัญญาสินค้าปลอดอากร และสัญญาสินค้าเชิงพาณิชย์ โดยมีเอกสารประกอบเรื่องและวีซีดี แจกจ่ายให้กับกรรมการ คตส.ทุกคน ซึ่งอยากให้ คตส.รับไปดำเนินการด้วยความรวดเร็ว โดยนายนาม ได้รับปากว่าจะรีบนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุม คตส.ต่อไป ซึ่งจากข้อมูลของคณะกรรมาธิการพบว่ามีเรื่องเข้าข่ายในคดีอาญาด้วย

พล.ร.อ.บรรณวิทย์ กล่าวว่า


ในรายงานการศึกษาข้อเท็จจริงพบว่า คณะกรรมการบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ชุดที่มีนายศรีสุข จันทรางศุ เป็นประธาน และผู้บริหารทอท. ได้ร่วมกับนักการเมือง อันประกอบด้วย

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรมว.คมนาคม
ตลอดจนผู้บริหารบริษัทเอกชนทั้งกลุ่มคิงพาวเวอร์
บริษัทที่ปรึกษาในการออกแบบ คือบริษัทแอ๊ค จำกัด (ACT) และ
บริษัทที่ปรึกษาในการกำหนดมุลค่าโครงการคือสถาบันทรัพย์สินทางปัญญา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ ซึ่งดำเนินการโดยนายสิงเทพ เทพกาญจนา ร่วมกันดำเนินการที่ส่อว่าขัดต่อระเบียบข้อบังคับ และกฎหมายให้ได้มาซึ่งสัญญา

นอกจากนี้


ยังมีการหลีกเลี่ยง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มีการใช้อำนาจทางการเมืองให้ได้มาซึ่งัญญาร้านค้าปลอดอากร เข้าข่ายขัดพ.ร.บ.ฮั้ว เป็นต้น

ด้านพล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวว่า


โครงการดังกล่าวเชื่อมโยงถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการทำสัญญาทั้ง 2 สัญญา และผิดหลักพ.ร.บ.ร่วมทุนการปรับปรุงพื้นที่ภายใน มีการเอื้อประโยชน์ให้บางบริษัท เพราะฉะนั้น ผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะถือเป็นผู้รู้เห็นแต่กลับไม่ยับยั้ง จึงถือว่า ร่วมมือกันฉ้อฉล เข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายมาตรา 157 ด้วยการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกับนักการเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจ


สิ่งที่คณะกรรมาธิการกังวล คือ


การเยื้อยื้อ เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลทางการเมือง อาจมีการบิดเบือนข้อมูลโดยอำนาจทางการเมือง จึงอยากให้มีการดำเนินการตรวจสอบอย่างรวดเร็ว ให้เสร็จทันเวลาที่เหลืออยู่ของคณะกรรมาธิการ และคตส. โดยคณะกรรมาธิการพร้อมให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลทุกด้าน

คุณหญิงจารุวรรณ เปิดเผยว่า


ในการประชุมคตส.วันจันทร์ที่ 2 เม.ย. ที่ประชุมจะพิจารณาเรื่องดังกล่าว เพื่อให้มติรับเรื่องตรวจเป็นเรื่องที่ 14 โดยจะมีการตั้งอนุกรรมการตรวจสอบต่อไป


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์