โสภณชงครม.ขอ 6.2 หมื่นล้าน ยกเครื่องสุวรรณภูมิ

"โสภณ" เสนอ ครม.ขอใช้เงินลงทุน 6.2 หมื่นล้าน พัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ ขยายอาคารรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็นปีละ 60 ล้านคน


“เดิม ทอท. มีแผนพัฒนาท่าอากาศยาน
สุวรรณภูมิระยะที่ 2 ต้องใช้เงินลงทุน 7.7 หมื่นล้านบาท แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ จึงได้ปรับแผนลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ผมยืนยันว่าการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้ อีก 5 ปีข้างหน้าจะลำบาก เพราะพื้นที่จะไม่เพียงพอรองรับปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต" นายโสภณ กล่าว
 
ส่วนแหล่งเงินลงทุนในโครงการนี้  มาจาก 2 ส่วน คือ 1.รายได้ของ ทอท. จำนวน 45,053.21 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 72.08% และ 2.เงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 17,450 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27.92% โครงการนี้มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือ IMPORT CONTENT ประมาณ 14,235 ล้านบาท หรือ 23.43% ของวงเงินลงทุน ซึ่ง ทอท. คาดว่าจะมีผลตอบแทนทางการเงินหรือ IRR  9.02% มีระยะเวลาคืนทุน (PAYBACK PERIOD) 10 ปี 1 เดือน   


สำหรับรายละเอียดโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมูลค่า 62,503.21  ล้านบาท แบ่งเป็น  4 งานหลัก

คือ 1.กลุ่มงานอาคารผู้โดยสาร วงเงินรวม 7,405.86 ล้านบาท ประกอบด้วย งานออกแบบก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก วงเงิน 6,780.19 ล้านบาท โดยมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 6 หมื่นตารางเมตร งานออกแบบก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบิน และที่จอดรถด้านทิศตะวันออก วงเงิน 625,673 ล้านบาท


2. กลุ่มงานอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 วงเงิน 40,745.06 ล้านบาท ประกอบด้วย งานออกแบบก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 หรือ MIDFIELD SATELLITE  วงเงิน  27,864.65 ล้านบาท  อยู่ห่างจากอาคารผู้โดยสารหลักประมาณ 1 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นอาคาร 4 ชั้น พื้นที่ 2.16 แสนตารางเมตร พร้อมติดตั้งสะพานเทียบเครื่องบิน (PASSENGER LOADING BRIDGES)  ระบบช่วยนำอากาศยานเข้าหลุมจอด (DOCKING GUIDANCE) ระบบลำเลียงสัมภาระ (BAGGAGE HANDLING)  มีทางออกเชื่อมต่อกับหลุมจอดประชิดอาคาร 28 หลุมจอด สามารถจอดเครื่องบินแอร์บัส เอ380 ได้ 8 หลุมจอด และเครื่องบินโบอิง 747-400 ได้ 20 หลุมจอด


นอกจากนั้น ยังมีงานก่อสร้างลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 วงเงิน 4,907.34 ล้านบาท รองรับหลุมจอดประชิดอาคาร 28 หลุมจอด  งานออกแบบก่อสร้างส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้และระบบรถรางไฟฟ้าขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (AUTOMATED PEOPLE MOVER) ระยะทาง 700 เมตร  วงเงิน 7,973.07 ล้านบาท ซึ่งมีรถรางไฟฟ้าแบบไม่มีคนขับ พร้อมตู้โดยสารขบวนละ 2 ตู้ สามารถขนส่งผู้โดยสารได้วันละ 50,000 คน


3. งานออกแบบก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค วงเงิน 2,693.21 ล้านบาท ประกอบด้วย ระบบไฟฟ้าแรงสูงและประปา รวมทั้งระบบน้ำเย็นสำหรับเครื่องปรับอากาศ เพื่อเชื่อมเข้าสู่อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และระบบรถรางไฟฟ้า และ 4.งานจ้างที่ปรึกษาบริหารจัดการโครงการ วงเงิน 763 ล้านบาท  ที่ปรึกษาจะเริ่มงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554 สิ้นสุดโครงการภายใน 5 ปี


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์