โซนี่ งามหน้าเลิกจ้างคนงาน18 คนเหตุหัวแข็ง จัดตั้งสหภาพฯ ลูกจ้าง

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงแรงงานว่า กลุ่มลูกจ้างบริษัท โซนี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จ.ชลบุรี จำนวน 25 คน เข้ายื่นหนังสือต่อนายสุเทพ อุ่นสมัย รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรม

กรณีนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเนื่องจากการรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานและยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทโดยนายจำลอง ก่อมขุนทด ปรึกษากลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก

กล่าวว่า บริษัทได้มีการเลิกจ้างพนักงานที่ร่วมกันก่อตั้งสหภาพแรงงานฯและยื่นข้อเสนอต่อนายจ้างจำนวน 18 คน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมาโดยให้เหตุผลว่ามีเจตนาคติที่ไม่ตรงกับบริษัท 

ไม่ผ่านผลการประเมินจึงได้ให้ออก ซึ่งคิดว่าการเลิกจ้างลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นธรรมกับลูกจ้าง

แสดงให้เห็นว่านายจ้างมีเจตนาที่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและทำผิดต่อกฎหมายแรงงาน ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของลูกจ้างที่มีสิทธิรวมกันจัดตั้งสหภาพ สหพันธ์และยื่นข้อเรียกร้องได้ นอกจากนี้ยังขัดกับหลักปฏิญญาหลักสิทธิมนุษยชน ดังนั้นเราจึงมายื่นหนังสือเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานช่วยเหลือด้วย


พวกเรา 18 คนนั้นตั้งใจทำงาน ได้รับรางวัล ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนทุกปี ตั้งใจทำงาน แต่เมื่อพอมารวมตัวกันตั้งสหภาพฯก็มีคนมาข่มขู่  ใช้เงินตำแหน่งมาล่อ กลั่นแกล้งสารพัดวิธี ลูกจ้างไม่ยอม สุดท้ายก็ใช้วิธีบอกเลิกจ้าง คิดดูว่ามันเป็นธรรมหรือไม่ ก็ขอความเป็นธรรมด้วยเพราะลูกจ้างเหล่านี้ทำงานถวายหัวให้กับโซนี่มาโดยตลอดกว่า 10 ปี หลังจากนั้นก็ตกงาน ทุกคนอยากทำงานที่เดิม นอกจากนี้เรายังเป็นห่วงชะตากรรมของสมาชิกของสมาชิกที่กำลังทำงานในบริษัทอีกกว่า 200 คนไม่รู้ว่าจะเจออะไรบ้าง ”นายจรัล กล่าว

นายจรัล กล่าวด้วยว่า

จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานช่วยลูกจ้างด้วยโดยเจรจา

1.ให้บริษัท โซนี่ รับลูกจ้างทั้งหมดเข้าทำงานในอัตราค่าจ้างและสวัสดิการเดิม  และให้จ่ายค่าชดเชยค่าจ้างระหว่างการเลิกจ้างพร้อมดอกเบี้ย 5%
2. ห้ามไม่ให้บริษัท กลั่นแกล้ง ลงโทษ ขัดขวางการดำเนินการจัดตั้งสหภาพฯ
3.ให้นายจ้างออกมาเจรจาข้อเรียกร้องที่อยู่ในระหว่างข้อพิพาท

นายสุเทพ  รองอธิบดี กสร.กล่าวว่า

ได้มอบหมายให้นายอนุชน วรินทร์เสถียร ผอ.กลุ่มงานประนอม ข้อพิพาท กสร. เร่งสอบสวนลูกจ้าง และประสานเจรจากับนายจ้างบริษัทโซนี่ฯ เพื่อทราบข้อเท็จจริง ซึ่งเรื่องนี้

หากนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุผลเพราะรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพนั้น

ขัดต่อกฎหมายหมาย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 ที่ระบุว่า นายจ้างไม่สามารถที่จะเลิกจ้างหรือกระทำการใดๆที่เป็นผลให้ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการสหภาพแรงงาน หรือ กรรมการสมาพันธ์แรงงาน ไม่สามารถทำงานอยู่ได้ เนื่องจากการไปชุมนุม ทำคำร้องหรือ ยื่นข้อเรียกร้อง และได้กำหนดไว้ด้วยว่าเลิกจ้างหรือทำให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เพราะเป็นเหตุเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ซึ่งนายจ้างจะต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์