แพทย์ชี้คนไทยน่าเป็นห่วง เป็นโรคซึมเศร้าปีละหมื่นคน

องค์การอนามัยโลกระบุยอดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะพุ่งขึ้นเป็นอันดับ2 รองจากโรคหัวใจ ปัจจุบันขณะนี้คนเป็นโรคซึมเศร้าถึง 154 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในประเทศไทยคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ หรือ 12 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด เฉลี่ยปีละ 2 หมื่นคน ชี้ปัญหาเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านสังคมและวัฒนธรรม กลายเป็นภาวะความเครียดที่นำมาสู่โรคทางจิตเวช
 

เมื่อวันที่19 ธันวาคม พญ.จันทิมา องค์โฆษิต ไกรฤกษ์ ประธานกรรมการโรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า 

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่าในปี พ.ศ.2563 ผู้ป่วยทางด้านจิตเวชจะเพิ่มมากขึ้นเป็นอันดับ2 ต่อจากโรคหัวใจ ซึ่งในขณะนี้มีคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 154 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในประเทศไทยคิดเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ หรือ 12 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด ดังนั้นสถานการณ์สุขภาพจิตในปี 2551 จึงน่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง และจากสถิติผู้ป่วยที่เข้ามารับการปรึกษาและรับการรักษาจากโรงพยาบาลมนารมย์ เฉลี่ยแล้วปีละ2 หมื่นคน หรือ 2,000 คนต่อเดือน แนวโน้มของผู้ป่วยที่เข้ามารักษาจะเพิ่มมากขึ้นถึง 5 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละเดือน
 

พญ.จันทิมากล่าวต่อว่า

 ปัญหาสุขภาพจิต มีความซับซ้อนมากมีหลายปัจจัยประกอบด้วยกัน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านสังคมและวัฒนธรรม กลายเป็นภาวะความเครียดที่นำมาสู่โรคทางจิตเวช ซึ่งมีความรุนแรงมาก ค่านิยมของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป คนยุคใหม่มีความอดทนและการปรับตัวที่น้อยลง ครอบครัวมีความแตกแยกและห่างเหินกันมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิต 

ด้านนพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัติพิชัย กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า 

สุขภาพจิตที่ดีเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาคนและประเทศ สถานพยาบาลหลายแห่งมีการเปิดพื้นที่ให้บริการจิตเวชเด็ก วัยรุ่นและครอบครัว เป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดความล้มเหลวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นปัญหาพ่อ แม่เลี้ยงดูลูกมีความยากลำบากซับซ้อนขึ้นมากกว่าในอดีต
 

นอกจากนี้ยังมีปัญหาเด็กมีพัฒนาการล่าช้าเด็กสมาธิสั้น 

ปัญหาการกินที่ผิดปกติ วิธีเลี้ยงดูเด็กอย่างไรให้เขาพัฒนาศักยภาพตามวัย และการบำบัดโดยใช้กิจกรรมอื่นเข้าช่วยนอกเหนือจากการรักษา การรักษาด้านจิตเวชไม่ได้ใช้ยาในการรักษาเพียงอย่างเดียว การบำบัด การฟื้นฟู และติดตามผลถือว่าสำคัญมาก ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์เป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้ป่วยมีความกล้าที่จะยอมรับมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีจะได้รับการรักษาทันที
 

ส่วนโรคที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่งคือโรคไบโพลาร์(BIPOLA

หรือโรคอารมณ์ปรวนแปรชนิดซึมเศร้าและครื้นเครงจะมีอาการซึมเศร้าสลับกับครื้นเครงโดยในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าจะซึมอยู่สักระยะประมาณ 1-2 เดือนคนไข้จะหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย ส่วนช่วงที่ครื้นเครง จะสนุกสนาน รีบเร่ง ไม่อยากหลับอยากนอน อยากไปเที่ยว ชอบความเสี่ยง ใครมาหลอกก็เชื่อง่าย ถ้าขัดใจจะโมโหและโกรธ ทั้งนี้ โรคไบโพลาร์เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ จึงสามารถรักษาได้โดยการรับประทานยา ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาทีงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มประเภทกาเฟอีนอย่างเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้
 

นพ.อภิชัยมงคล รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า 

ในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วย 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากร คือคนไทยประมาณ 6 แสนคนป่วยด้วยโรคนี้หากคนไข้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์จะทำให้อาการกำเริบ ขาดการยับยั้งชั่งใจ โมโหง่าย อย่างไรก็ตาม สถิติการฆ่าตัวตายในประเทศไทยพบว่า มีการฆ่าตัวตายทุก 1 ชั่วโมงครึ่งแต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศ อัตราการฆ่าตัวตายของไทยไม่สูงนัก เพราะไทยมีมาตรการป้องกัน
 

รัฐบาลมีโครงการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามาตั้งแต่ปี2544 

เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายทำให้อัตราการฆ่าตัวตายจาก 9 ต่อแสนประชากรลดลงเหลือ 7 ต่อแสนประชากรซึ่งปัจจัยสำคัญมาจากปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่โดยหลักคนที่ฆ่าตัวตายนั้นเป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว พอมีปัญหาเรื่องครอบครัว หนี้สิน ทำให้ทนไม่ได้เท่ากับคนปกติ จนมีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ 

อนึ่งปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตกำลังลุกลามมากในประเทศไทย 

จากการสำรวจของกรมสุขภาพจิตพบว่า ขณะนี้พบผู้ป่วยด้านจิตเวชประมาณ 1 ใน5 คนของคนไทยทั้งหมดหรือประมาณปีละ 1 ล้านคน

โดยเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลด้านจิตเวชราวปีละ 8 แสนคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาสำคัญมาจากความเครียด ที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ในปี 2550 พบว่าผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนไทยเกิดจากปัญหาความขัดแย้งหลายด้านเช่น ปัญหาทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ หนี้สิน ปัญหาสังคม ยาเสพติดต่างๆ และปัญหาบุคคลหรือครอบครัว รวมทั้งปัญหาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลถึงคนไทยทั้งประเทศ นอกจากนี้ จากดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตของคนไทยในปี 2550 พบว่าโดยเฉลี่ยมีความสุขมากกว่าความทุกข์ โดยเฉพาะประชากรที่อยู่ในชนบทพบว่ามีความสุขใจถึงร้อยละ 70 ขณะที่คนเมืองมีความสบายใจร้อยละ65.7 ขณะเดียวกันยังพบว่าการพูดคุยกับเพื่อนบ้านจะช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดี
 


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์