แบนโฆษณาเหล้าล่มปล่อยโผล่ทีวี4ทุ่ม-ตี5

อนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุมเหล้าลงมติไม่คุมโฆษณา 24 ชม. ชี


มาตรการตึงเกินไป ยืนยันไม่มีล็อบบี้ ระบุสื่อสิ่งพิมพ์เห็นขวดเหล้าได้ห้ามมีพรีเซ็นเตอร์เชิญชวน ป้ายโฆษณาต้องลดขนาด โผล่จอทีวีเวลาเดิม 4 ทุ่ม-ตี 5 โต้แนวคิด "ดร.อัมมาร" ให้ผู้ประกอบการโฆษณาเตือนหลังโฆษณาเหล้าเป็นไปไม่ได้

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ดร.อัมมาร สยามวาลา

นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า กรณีข้อเสนอกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ห้ามโฆษณาโดยสิ้นเชิงในทุกสื่อนั้น ได้รับเสียงต่อต้านไม่น้อย เพราะเด็ดขาดและแรงเกินไป ลิดรอนสิทธิของบริษัทเหล้า ควรจะเปิดให้โฆษณาได้ โดยมีการโฆษณาของฝ่ายที่คัดค้านการดื่มควบคู่กัน แต่คงเวลาหลัง 22.00 น.เช่นเดิม แต่ทุกนาทีที่โฆษณาในทีวี และทุกตารางเซนติเมตรที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์ต้องใช้เวลาและพื้นที่เท่ากัน




ดร.อัมมาร กล่าวอีกว่า


ผู้ประกอบการเหล้าจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายโฆษณาทั้งหมด แต่กระทรวงสาธารณสุขอาจจะต้องรับผิดชอบเนื้อหาโฆษณาในส่วนของตัวเองและค่าใช้จ่ายผลิตหนังๆ ดี เพื่อลบล้างการโฆษณาของบริษัทเหล้า ซึ่งวิธีนี้น่าจะเป็นทางออกที่ดี เช่น อเมริกาก็ทำ ส่วนการควบคุมเพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมาย จะต้องบัญญัติโทษผู้ประกอบการเหล้าที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเอาไว้ด้วย

ดร.อัมมาร กล่าวด้วยว่า

แนวทางดังกล่าวบริษัทเหล้าอาจจะชอบน้อยกว่าการห้ามโฆษณาเลย เพราะต้องใช้เงินมากขึ้นในการโฆษณา ส่วนมาตรการควบคุมที่ดีคือ มาตรการทางภาษี แต่ต้องระวังไม่ให้มากเกินไป เพราะจะเป็นช่องทางให้นำเข้าสุราเถื่อนและสุราต้ม จะต้องใช้หลายมาตรการรวมกัน


ภาพประกอบข่าวจากอินเตอร์เนต



นายประพันธ์ คูณมี ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวหลังประชุมอนุกรรมาธิการว่า


ที่ประชุมหารือในประเด็นการควบคุมการโฆษณาโดยอนุกรรมาธิการทั้งหมดต่างไม่เห็นด้วยกับการกำหนดห้ามโฆษณาตลอด 24 ชั่วโมง ตามที่เสนอมา โดยเห็นว่าไม่ควรห้ามอย่างเด็ดขาดทั้งหมด เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นธุรกิจที่รัฐจัดเก็บภาษีเช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ อีกทั้งยังนำเงินเข้าประเทศจำนวนมาก และเมื่อดูการควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีแค่ 1-2 ประเทศที่ห้ามโฆษณาเด็ดขาด

นอกจากนั้นควบคุมตามสมควร อีกทั้งประเทศที่ห้ามโฆษณาเด็ดขาด เมื่อดูในทางปฏิบัติแล้วพบว่ายุ่งยากและไม่สามารถทำได้ และต้องปรับปรุงกฎหมายในที่สุด จึงเห็นควรให้ควบคุมโฆษณาตามความเหมาะสมของสื่อแต่ละประเภทมากกว่า







ทั้งนี้ ส่วนกำหนดเงื่อนไขการโฆษณา


สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และป้ายโฆษณาโดยสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ประชุมมีมติว่า สามารถโฆษณาให้เห็นตัวสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่ห้ามีพรีเซ็นเตอร์ชักชวนดื่ม
พร้อมกับกำหนดให้มีข้อความคำเตือนที่เห็นชัดเจนอย่างน้อย 25% ของเนื้อที่โฆษณา จากเดิมกำหนด 20% ส่วนป้ายโฆษณากำหนดขนาดของป้าย โดยลดขนาดป้ายโฆษณาลงจากเดิม ซึ่งต้องไม่ใหญ่โตเช่นป้ายโฆษณาที่อาคารใบหยก ส่วนจะกำหนดเท่าใดจะออกเป็นกฎกระทรวงต่อไป ส่วนการโฆษณาทางโทรทัศน์ให้คงไว้เช่นเดิมตามกฎกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดเวลาโฆษณาตั้งแต่เวลา 22.00-05.00 น.โดยให้เห็นตราสินค้าไม่เกิน 5 วินาที


นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า

ส่วนข้อเสนอ ดร.อัมมาร ที่ให้มีเนื้อที่โฆษณาเตือนหลังโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เห็นว่ามีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้งบจากการจัดเก็บภาษีเหล้าและบุหรี่ดำเนินการอยู่แล้ว หากจะกำหนดให้ผู้ประกอบการจ่ายเพิ่มให้รัฐบาลในการโฆษณาเตือนคงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เพราะคงไม่มีใครยอมจ่ายเงินโฆษณาเพื่อโจมตีธุรกิจของตนเอง หากจะโฆษณาเตือนคงต้องใช้งบ สสส. ข้อเสนอ ดร.อัมมารจึงเป็นไปไม่ได้ และคงไม่กำหนดในกฎหมาย ซึ่งวันที่ 20 มิถุนายนนี้ จะพิจารณาต่อในส่วนสื่อโฆษณาอื่น อย่างเช่น การจัดอีเวนท์ สาวเชียร์เบียร์



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์