เรื่องโรคเอดส์ ไม่ใช่เป็นเรื่องน่ากลัวอีกแล้ว






















โดย เครือข่ายผู้ติดเชื้อประเทศไทย




     ปฏิกิริยาตกใจ ไม่อยากเชื่อ เมื่อบอกว่า "เอดส์รักษาได้" ของคนที่ไม่ได้คลุกคลีในเรื่องเอดส์เป็นเรื่องเข้าใจได้ แต่เห็นทีเราจะปล่อยให้ความเข้าใจที่ว่า เอดส์รักษาไม่ได้ สิงสถิตย์ในสังคมไทยต่อไปอีกนานไม่ได้ เพราะยุคนี้ สมัยนี้ เอดส์รักษาได้ ไม่ใช่คำพูดที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ แต่มีฐานอยู่บนข้อเท็จจริงที่สามารถพิสูจน์ได้

     เมื่อย้อนไปในอดีต เรามักได้ยินข่าวเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียชีวิตไปก่อนวัยอันควร จนมีคนเปรียบเทียบว่า "ตายเป็นใบไม้ร่วง" สาเหตุหลักมาจากทั้งผู้ให้การรักษาและผู้ติดเชื้อยังขาดข้อมูลความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพทั้งกายและใจที่ดีพอ

     สื่อรณรงค์ในยุคสมัยนั้น(จวบจนถึงยุคนี้) ไม่ว่าจะเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางวิทยุโทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่เน้นการนำเสนอสารที่แสดงถึงความน่ากลัวของเชื้อเอชไอวีด้วยภาพผู้ป่วย

     "เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจ ยอมรับไม่ได้" "สงสารคนที่ติดเชื้อ แต่ถ้าว่าตัวเองติดเชื้อต้องฆ่าตัวตายแน่ๆ" "ไม่ได้เจอกับตัวเอง เลยไม่สนใจหาข้อมูล"

     คำพูดเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างจากความไม่เข้าใจเชื้อเอชไอวีของคนในสังคม จึงไม่แปลกอะไรที่ทัศนคติหรือความเชื่อเกี่ยวกับเอดส์ที่ว่าใครเป็นแล้วจะต้องตาย ถูกฝังหัวอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน

     "ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมไม่เคยมีความเชื่อเลยว่า เอดส์รักษาได้" แกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อจากจังหวัดนครศรีธรรมราชกล่าวพร้อมให้เหตุผลว่า ข้อมูลที่เขาได้รับหากใครเป็นแล้วมีแต่ทรุดกับทรุด

     แต่ตอนนี้ เขากลับไม่คิดเช่นนั้น
     "ตัวผมเองเป็นโรคฉวยโอกาสมาแล้วเกือบทุกโรคทั้งเชื้อราเยื่อหุ้มสมอง ปอดอักเสบพีซีพีและวัณโรค แต่ไม่ตาย เพราะได้รับการดูแลรักษาทั้งในส่วนของสุขภาพกายและสุขภาพใจมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการให้คำปรึกษาในด้านการดูแลสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจนสามารถดูแลตัวเองได้ ตอนนี้เข้าใจแล้วว่า เอดส์รักษาได้ นั้นเป็นอย่างไร"

     โรคฉวยโอกาสมันฉวยโอกาสสมชื่อเพราะมันคือเชื้อโรคชนิดที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพก่อให้เกิดโรคและความเจ็บป่วยได้ต่อเมื่อภูมิต้านทานโรคในร่างกายต่ำ

     ระดับที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฉวยโอกาสนานาชนิดนั้นมีเกณฑ์ง่ายๆ โดยดูจากระดับภูมิคุ้มกันชนิดซีดี4 ถ้าต่ำกว่า 250 หรืออาจจะต่ำกว่า200 ก็ได้ (ซีดี4ในระดับปกติคือมากกว่า700)

     แม้เชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายได้อยู่กินและแพร่พันธุ์โดยอาศัยเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันของคนเราแล้ว ก็ใช่ว่าร่างกายจะหมดความสามารถในการกำจัดเชื้อโรค ตราบที่เรายังมีภูมิคุ้มกันที่ดีคอยควบคุมจัดการเชื้อเหล่านั้นได้

     กว่าที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะถูกเชื้อเอชไอวีทำลายอาจใช้เวลานาน 7 10 ปี ไม่ใช่ว่าได้รับเชื้อแล้วจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมจนแทบไม่มีแรงยืนทันทีทันใด (คล้ายที่เห็นในสปอตโฆษณาเอดส์เรื่องหนึ่งหรือที่มักมีเนืองๆในละครใดๆ ก็ตามเมื่อตัวละครสักคนในเรื่องติดเชื้อเอชไอวี)

     เมื่อภูมิคุ้มกันในร่างกายมีความสามารถต่ำ เชื้อโรคที่เคยอยู่สงบเสงี่ยมในร่างกายก็ใช้เวลานี้เองที่จะปะทุตัวเองขึ้นมาแทรกซ้อน ตามระดับของภูมิคุ้มกันที่เปิดโอกาสเสี่ยงให้แต่ละโรคไม่เท่ากัน

     ผู้ติดเชื้อที่มีภาวะสุขภาพเช่นนี้จึงจะถือว่าเป็นผู้ป่วยเอดส์ แต่ใช่ว่าจะรักษาไม่ได้ ...

     เพราะโรคฉวยโอกาสบางโรค เมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น วัณโรค เมื่อได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 6 เดือน ก็ไม่ต้องกลับมาเป็นซ้ำอีก หรือโรคเชื้อราเยื่อหุ้มสมองสามารถทานยารักษาอาการและป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้

     ดังนั้น หากเจ็บป่วย หรือมีอาการแทรกซ้อนขึ้นมาอย่างที่เราเรียกว่าป่วยเอดส์ ก็สามารถดูแลรักษาให้หายได้เป็นปกติ แม้ว่าในร่างกายจะยังมีเชื้อเอชไอวีอยู่ก็ตาม

     แบบนี้ไงล่ะที่เราเรียกกันว่า "เอดส์รักษาได้"

     ยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรพื้นฐานถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้ยาต้านไวรัสสามารถลดปริมาณเชื้อเอชไอวีให้อยู่ในระดับที่น้อยจนวัดไม่ได้แล้ว เพิ่มปริมาณภูมิคุ้มกันหรือซีดี 4 ให้สูงขึ้น ส่งผลให้โรคฉวยโอกาสเกิดขึ้นน้อยลง

     หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การดูแลรักษาต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

     "ตอนนี้ผู้ติดเชื้อไม่มีความต่างไปจากโรคเรื้อรังอื่นๆแล้ว เหมือนกับผู้ที่เป็นเบาหวานต้องอาศัยการรักษาด้วยยาไปตลอดชีวิต อีกทั้งยังสามารถทำงานได้เป็นปกติ" แกนนำผู้ติดเชื้อกลุ่มวันฟ้าใส จ.นครศรีธรรมราช กล่าว

     บทบาทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ความหมาย  "เอดส์รักษาได้" เป็นจริงยิ่งขึ้น คือการอาสาเข้ามาทำงานในโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในรูปแบบของ ศูนย์องค์รวม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีรวมทั้งการให้คำปรึกษาและการดูแลในด้านต่างๆแก่ผู้ติดเชื้อรายใหม่จนถึงบ้าน ทำให้ผู้รับบริการได้รับทั้งองค์ความรู้ที่ถูกต้องและกำลังใจจากผู้ที่เข้าใจปัญหาตรงกัน

     "ยอมรับว่าคนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวีมากขึ้น มีอาสาสมัครเข้ามาให้ความรู้ถึงในหมู่บ้าน จนชาวบ้านรู้ว่าเอชไอวีไม่ได้ติดกันง่ายๆ และผู้ติดเชื้อสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้เป็นปกติ คนในชุมชนมีทัศนคติเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นเชื้อเอชไอวี จึงไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างที่ใครๆคิดอีกต่อไป" นี่คือเสียงสะท้อนของผู้ติดเชื้อกลุ่มรักษ์สามัคคี จ.ระนอง

     "เอดส์รักษาได้" จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายคนในยุคสมัยนี้ว่าจะยอมรับและยอมปรับเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องดังกล่าวมากน้อยเพียงใด แต่ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่าถ้าใครยังมีความเชื่อหรือเข้าใจอยู่ว่า เอดส์เป็นแล้วต้องตายสถานเดียว ช่างเป็นวิธีคิดที่เก่าและแสน


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์