เผยแล้ว! ที่มา ‘อัลฟ่าเจ็ท’ กรงเล็บแห่งทัพฟ้าสาเหตุในการดีดตัวของนักบิน

เผยแล้ว! ที่มา ‘อัลฟ่าเจ็ท’ กรงเล็บแห่งทัพฟ้าสาเหตุในการดีดตัวของนักบิน

วันที่ 15 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครื่องบินอัลฟ่าเจ็ท (บจ.7) ดาโซดอร์เนียร์อัลฟ่าเจ็ท เป็นเครื่องบินรบที่ฝรั่งเศสและเยอรมนีร่วมมือสร้างขึ้น ตามแผนโครงสร้างกองทัพไทย ปี 2540-2545 กองทัพอากาศต้องปรับลดความต้องการกำลังรบ จาก 36 ฝูงบิน ให้เหลือ 24 ฝูงบิน เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณ ที่ถูกตัดลงตามวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ แต่กองทัพอากาศ ก็ยังมีเครื่องบินไม่เพียงพอ ที่จะใช้สนับสนุนภารกิจทางยุทธการ ตามแผนการปรับลดกำลังรบ เพราะเครื่องบินที่กองทัพอากาศมีประจำการ เช่น บ.จ.4 (OV-10) และ บ.จธ.2 (AU-23A) จะครบอายุการใช้งาน ต้องปลดประจำการในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ดังนั้น กองทัพอากาศจึงจำเป็นต้องจัดหา เครื่องบินขับไล่-โจมตี ที่มีสมรรถนะเท่ากันหรือดีกว่า มาทดแทน เพื่อให้ตรงกับความต้องการ ของกำลังรบของกองทัพอากาศ

ในเดือนก.พ.2542 กระทรวงกลาโหมเยอรมนี ได้เสนอขายเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ท ให้กองทัพอากาศในราคามิตรภาพ (SYMBOLIC PRICE) เนื่องจากกองทัพอากาศเยอรมนี ปลดประจำการเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ท เพื่อลดขนาดของกองทัพ และได้เก็บรักษาไว้ในสภาพดีมาก ตรงกับความต้องการจัดหาเครื่องบินทดแทน เครื่องบิน OV-10 และ AU-23A ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติหลักการให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินอัลฟ่า จากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้ จำนวน 50 เครื่อง ในลักษณะจัดซื้อแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยให้ใช้งบประมาณของกองทัพอากาศดำเนินการ
ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2542 คณะรัฐมนตรีมีอนุมัติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินอัลฟ่า แบบรัฐบาลต่อรัฐบาล จากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้จำนวน 25 เครื่อง ตามกำลังงบประมาณที่กองทัพอากาศสามารถสนับสนุนได้ โดยให้ทำการ ปรับเครื่องบินให้บินได้ตามมาตรฐาน AIR WORTHINESS ของเยอรมนี จำนวน 20 เครื่อง และเก็บไว้เป็นอะไหล่ จำนวน 5 เครื่อง วงเงินจัดซื้อ 62,430,250 ด็อยช์มาร์ค หรือประมาณ 1,286,562,592 บาท ในการจัดซื้อครั้งนี้ ได้จัดทำการค้าต่างตอบแทนตามมติรัฐมนตรีด้วยจากนั้นเมื่อ 13 ส.ค. 2542 ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงจัดซื้อเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ท จำนวน 25 เครื่อง กับนายเฮมัน เอราต เอกอัคราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย และรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้ลงนามแทนรัฐบาลไทย ว่าจ้างให้บริษัท แฟร์ชายด์ ดอร์เนียร์ เป็นบริษัทผู้ผลิต มีเจ้าหน้าที่เทคนิคและมีขีดความสามารถ ในการดำเนินการ ปรับคืนสภาพ

โดยกระทรวงกลาโหมเยอรมนีรับผิดชอบจัดส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคมาควบคุมกำกับดูแล การปรับคืนสภาพเครื่องบินให้ได้มาตรฐานของเยอรมนีแทนกองทัพอากาศด้วย ซึ่งสัญญาดำเนินการดังกล่าว บริษัท แฟร์ชายด์ ดอร์เนียร์ จะต้องดำเนินการ ปรับคืนสภาพเครื่องบิน ให้แล้วเสร็จทั้ง 20 เครื่อง ภายในเดือน ก.ย. 2544 รวมทั้งการฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่เทคนิค แต่ละสาขาให้สามารถทำการซ่อมบำรุงเครื่องบินขั้นฝูงบินได้ จำนวน 8 หลักสูตร รวมจำนวน 70 คน


เผยแล้ว! ที่มา ‘อัลฟ่าเจ็ท’ กรงเล็บแห่งทัพฟ้าสาเหตุในการดีดตัวของนักบิน


เผยแล้ว! ที่มา ‘อัลฟ่าเจ็ท’ กรงเล็บแห่งทัพฟ้าสาเหตุในการดีดตัวของนักบิน


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์