เปิดโรงเรียนฝึกควาย องค์ความรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท.......

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ตอนหนึ่งไว้ว่า...

...ปัจจุบันมีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไกเป็นเครื่องทุ่นแรงในกิจการเกษตร แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้น ความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาก็ปรากฏว่ามีปัญหามาก เพราะชาวนาไม่มีเงินซื้อโค กระบือมาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน...

เนื่องในวโรกาส ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ในปีนี้ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนากระบือ จึงได้จัดทำ โรงเรียนฝึกอบรมคนเลี้ยงควายนำร่อง ขึ้นที่ บ้านน้ำเที่ยง ตำบลบ้านน้ำเที่ยง อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อสนองพระบรมราโชวาทและร่วมในการเฉลิมพระเกียรติฯ

นางอัญชลี ณ เชียงใหม่ หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนากระบือ กองบำรุงพันธุ์สัตว์ เล่าว่า....กรมปศุสัตว์มีความตระหนักในคุณประโยชน์ ของ โค-กระบือหรือ ควาย... มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของเกษตรกรมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตอันไกลโพ้น

แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเข้าสู่ยุคเครื่องจักรกล จนทำให้ประชากรโค-กระบือลดน้อยลงไปก็ตาม แต่ในบางแห่งยังคงมีการอนุรักษ์ การใช้แรงงานจาก โค-กระบือ ฉุดลากเครื่องทุ่นแรงในการสูบน้ำลากเกวียนและอื่นๆอีกจิปาถะ




>>โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ.......

กองบำรุงพันธุ์สัตว์ โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนากระบือ จึงจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฯ ดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสบการณ์ของนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อสืบสานภูมิปัญญาพัฒนาการเลี้ยงควายให้นำมาใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืน ....และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรอินทรีย์

เกษตรกรที่เข้าเป็นสมาชิกโรงเรียนฝึกอบรมคนเลี้ยงควาย ไม่ได้บังคับว่าทุกคนจะต้องเข้ามาอยู่ร่วมกัน เพียงแต่ใครที่มีแนวคิดเดียวกันก็จะเข้ามาร่วมพูดคุย เพื่อนำองค์ความรู้มาประยุกต์.... โดยกรมปศุสัตว์จะเข้าไปช่วยพัฒนาด้านเทคโนโลยีวิวัฒนาการ การจัดการ และ สายพันธุ์

โรงเรียนฝึกอบรมควายฯ....นอกจากเป็นการพัฒนาการปศุสัตว์ให้เป็นไปในทางเดียวกันแล้ว ที่สำคัญเกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากควายในด้านต่างๆ เช่น การใช้มูลเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน การเลี้ยงเป็นเนื้อบริโภค จะสามารถเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวโดยไม่ต้องลงทุนสูง

คาดว่าเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำนาไม่เกิน 10 ไร่ มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการการเลี้ยงและการ ใช้ประโยชน์จากควายอย่างกว้างขวางและอย่างยั่งยืนปีละ 120 คน คือทั้งลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำนาปีหนึ่งกว่า 2,000 บาท และได้ปุ๋ยหมักชีวภาพปีหนึ่งถึง 50 ตันต่อกลุ่ม

โรงเรียนฝึกอบรมควายบ้านน้ำเที่ยง เป็นโครงการนำร่องที่จะเปิดการเรียนการฝึกอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ เพื่อให้ความสำคัญแก่ประชากรควาย คงอยู่คู่กับสังคมไทย......ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


ขอขอบคุณ:น.ส.พ.ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์