เปิดโผ 13 รายการห้ามโรงเรียนเก็บเงิน

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ตนได้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

เรื่องเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด ศธ.ที่จะประกาศใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 ทั้งนี้ ในประกาศดังกล่าวได้แนบท้ายหลักเกณฑ์เงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล ซึ่งสถานศึกษา ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจากนักเรียนหรือผู้ปกครองได้มี 13 รายการ คือ ค่าเล่าเรียน และค่าอุปกรณ์การเรียนที่นักเรียนใช้ร่วมกันในโรง-เรียน ประกอบด้วย ค่าวัสดุฝึกสอน สอบ ค่าคู่มือนักเรียน ค่าบัตรประจำตัวนักเรียน ค่าปฐมนิเทศนักเรียน ค่าสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน ค่าบริการห้องสมุดพื้นฐาน ค่าบริการห้องพยาบาล ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว ค่าอุปกรณ์กีฬา ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์และอุปกรณ์การเรียนการสอน ค่าใช้จ่ายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

2. ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน ซึ่งผู้ปกครองและนักเรียนสมัครใจ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายสำหรับห้องเรียนพิเศษที่มีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ หรือ EP ต่อภาคเรียนระดับก่อน ประถมศึกษา-ม.ต้นไม่เกิน 35,000 บาท ระดับ ม. ปลายไม่เกิน 40,000 บาท ห้องเรียนพิเศษ Mini EP ระดับก่อนประถมศึกษา-ม.ต้นไม่เกิน 17,500 บาท และระดับ ม.ปลายไม่เกิน 20,000 บาท ห้องเรียนพิเศษด้านวิชาการและด้านอื่นๆ ให้จัดเก็บตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา ยกเว้นค่าใช้จ่ายสำหรับห้องเรียนพิเศษด้านภาษาอังกฤษ ให้เก็บได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของห้องเรียน Mini EP
 

รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมี ค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน

โดยผู้ปกครองและนักเรียนสมัครใจโดยให้จัดเก็บเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นให้จัดเก็บทุกรายการรวมกันไม่เกิน 2,000 บาทต่อภาคเรียน โดยต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา ส่วนค่าจ้างครู ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ โรงเรียนอาจขอรับการสนับสนุนได้แต่ไม่ให้เรียกเก็บจากนักเรียนทุกคน สำหรับห้องเรียนปรับอากาศหากสถานศึกษาจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องเรียน จะต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด และไม่ให้เก็บจากนักเรียนทุกคน

3. ค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส สถานศึกษาต้องให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใน ส่วนที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันในสถานศึกษา การเรียนกับครูต่างชาติ หากสถานศึกษามีการจัดให้นักเรียนทุกคนควรจัดให้เด็กด้อยโอกาสได้เรียนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

4. หากสถานศึกษาบางแห่งได้ รับงบฯสนับสนุนค่าสาธารณูปโภคและค่าจ้างครูไม่ เพียงพอนั้น ในกรณีที่มีครูต่ำกว่าเกณฑ์ สถานศึกษาสามารถระดมทรัพยากรได้โดยความสมัครใจของผู้ปกครอง

5. การเก็บค่าใช้จ่ายทุกรายการ สถานศึกษาต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและประกาศให้ผู้ปกครองและนักเรียนทราบล่วงหน้า

และ 6. สถานศึกษารายงานเก็บค่าใช้จ่ายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบเป็นรายภาคเรียนปีการศึกษา.


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์