เปิดแล็บเภสัชศิลปากรโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัด2009 เจ้าแรกในเอเซีย

คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร เปิดห้องปฏิบัติการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัด 2009 ร่วมกับ องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงวิทยาศาสตร์ คาดเดินเครื่องผลิตไม่เกินปลายปีได้ 2.5 ล้านโดส - เปิดห้องปฏิบัติการตรวจยืนยันเชื้อบริการประชาชนเพื่อความรวดเร็ว

ภญ.รศ.ดร.จุไรรัตน์  นันทานิช คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ 

ผู้รับผิดชอบโครงการ "ความร่วมมือในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่" ร่วมมือกับ องค์การเภสัชกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ และกระทรวงสาธารณสุข ใช้ห้องปฏิบัติการในอาคารปฎิบัติการการควบคุมและประเมินคุณภาพทางเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีคณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  เป็นโรงงานต้นแบบนำร่องทดลองผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 หรือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009  ทำการทดลองวิจัยเชื้อไวรัสที่องค์การอนามัยโลก (WHO) สนับสนุนขอเชื้อจากไวรัสจากประเทศรัสเซียที่ผ่านการวิเคราะห์เชื้อมากว่า  30  ปี ให้ไทยทำการทดลองและผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 สามารถแจกจ่ายให้ประชาชนได้ทันสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรง


คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ขั้นตอนการผลิตผ่านการเพาะเชื้อจนกระทั้งนำมาทดลองกับสัตว์แล้ว เหลือแค่การทดลองในคนซึ่งตอนนี้กำลังเปิดรับอาสาสมัครจำนวนกว่า 400 คน จากนั้นรอติดตามผลหากประสบความสำเร็จคาดว่าในปลายปีนี้มีการประเมินไว้ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 2.5 ล้านโดสต่อเดือน และจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่สามารถผลิตวัคซีนใช้เองได้ ซึ่งขณะนี้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนเองเคยประกาศว่าจะผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009 ออกมาในเดือนกันยายนนี้ต้องติดตามต่อไปว่าใครจะประกาศก่อน


ภญ.รศ.ดร.จุไรรัตน์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ผู้ป่วยไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009

หลังจากที่พบปัญหาในการระบาดของเชื้อซึ่งเป็นปัญหามากในการตรวจยืนยันว่ามีเชื้อหวัด 2009 จริงหรือไม่ ซึ่งมีหน่วยงานที่ตรวจวิเคราะห์ คือ กรมวิทยาศาสตร์ สถาบันการแพทย์ของศิริราช,จุฬาลงกรณ์,และรามาธิบดี
 

"คณะเภสัชศิลปากรเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้เพราะมีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบได้ ขณะนี้ได้เร่งที่จะพัฒนาหน่วยวิเคราะห์นี้ขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระหน่วยงานที๋โหลดอยู่ในขณะนี้เป็นการช่วยตรวจยืนยัน"ภญ.รศ.ดร.จุไรรัตน์ กล่าว

ภก.ผศ.ดร.วิสิฐ ตั้งเคียงศิริสิน อาจารย์ภาควิชาชีวเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดระบบภายในคาดว่า อีก  2 เดือนจะสามารถตรวจยืนยันเชื้อได้ หากใครที่สงสัย มีไข้ ปวดหัว ตัวร้อน สามารถติดต่อผ่านทางโรงพยาบาลหรือหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขในเขตนี้ โดยแพทย์จะเป็นผู้ส่งมาให้ตรวจยืนยันแต่จะไม่ได้รับตัวอย่างจากคนไข้โดยตรง

ดร.วิสิฐ กล่าวว่า แต่เดิมการตรวจเชื้อวันเดียวก็สามารถรู้ผลการตรวจแล้วแต่ปัจจุบันต้องรอ 2-3 วันกว่าจะรู้ผล ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ทัน

เรื่องการตรวจไปสะดุดเป็นคอขวด กระทรวงสาธารณสุขก็มีนโยบายมาใหม่ว่าไม่ต้องรอผลตรวจหากพบว่าคนไข้มีอาการอยู่ในกลุ่มเสี่ยงให้ยา"โอเซลทามิเวียร์"ทันที เมื่อทางคณะเภสัชศาสตร์ ศิลปากรสามารถตรวจยืนยันได้  เป็นการช่วยแบ่งเบาปัญหาเพราะไม่ใช่แค่ว่าส่งตรวจแต่ยังทำให้จำนวนวันตรวจเร็วขึ้น เพราะปัญหาจริงไม่ใช่แค่ว่าการส่งตรวจแต่อยู่ที่การส่งต่อต้องมีช่วงเวลาในการส่งตรวจ หากมีศูนย์เหล่านี้กระจายอยู่ในภูมิภาคจะช่วยแบ่งเบา ได้ ซึ่งทางคณะเภสัชศาสตร์ จะเปิดรับจากโรงพยาบาลในระแวกนี้ สามารถรองรับการตรวจยืนยันได้วันละประมาณ 500 ราย
 

นอกจากนี้ทางคณะเภสัขศาสตร์ยังผลิตเจลล้างมือฆ่าเชื้อออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปหลังจากที่พบว่าขาดตลาดหาซื้อที่ได้ เภสัชศาลา หน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
 

 

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์