เปิดลพบุรีโมเดล แก้น้ำท่วม ใช้บ้านหมี่ทำแก้มลิง

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีได้นำเจ้าหน้าที่กรมชลประทานและเจ้าหน้าที่ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลงพื้นที่สำรวจน้ำ

และแนวป้องกันน้ำท่วมในเขตตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมืองลพบุรีและประตูระบายน้ำสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ หลังจากที่ทางกรมชลประทานได้มีการผันน้ำเข้าสู่คลองชัยนาท-ป่าสักเพิ่มมากขึ้นจากวันละ250ลูกบาตรเมตรต่อวินาที เป็นวันละกว่า 300 ลูกบาตรเมตรต่อวินาที เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะระบายลงสู่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจนทำให้หลายจังหวัดทั้ง ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ร่วมถึงพระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม


จากการผันน้ำเข้าคลองชัยนาท-ป่าสักเพิ่มขึ้นทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกือบล้นตลิ่งข้าท่วมพื้นที่การเกษตรหลายจุด

ทำให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เร่งเสริมแนวคันดินและกระสอบทรายให้สูงขึ้น พร้อมสั่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ทั้งพื้นที่นาข้าวและสูบน้ำออกจากบริเวณหลังหมู่บ้านสิรัญญา เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมสูงเหมือนปีที่ผ่านมา และ ไม่ให้น้ำท่วมพื้นที่นาข้าวอีกหลายหมื่นไร่ที่ยังเก็บเกี่ยวไม่เรียบร้อย โดยทางผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีขอเวลาอีก 5 วันเพื่อให้ชาวนาเกี่ยวข้าวเรียบร้อยก่อน พร้อมเปิดน้ำเข้าเพื่อลดมวลน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงก่อนที่จะนำทุ่งนาข้าวอำเภอบ้านหมี่จำนวน4หมื่นไร่ และทุ่งอำเภอท่าวุ้งอีก 6 หมื่นไร่ที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วนำเป็นแก้มลิงเก็บน้ำชั่วคราว ได้ประมาณ 2-3 ร้อยล้านลูกบาตรเมตร เก็บในพื้นที่ชะลอความเดือดร้อน

ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีได้เตรียมเปิดลพบุรีโมเดลหากเกิดน้ำท่วมขึ้นในพื้นที่

โดยหากเป็นน้ำที่ผันมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางจังหวัดรับได้สบายเพราะมีการวางแผนไว้อย่างดีแล้วแต่หากมีฝนตกลงมาเพิ่มขึ้นก็จะจัดลพบุรีโมเดลใน3แนวทางคือ แยกเป็น 3 แนวทาง โดยการจัดให้มีการบรูณาการของทุกส่วนราชการร่วมกัน แนวทางที่ 1. มีการวางแผนใช้พื้นที่นาข้าวของเอกชนที่เก็บเกี่ยวแล้วเป็นแก้มลิงรับน้ำ ซึ่งแบ่งออกเป็นทุ่งท่าวุ้งจำนวน6หมื่นไร่ และทุ่งฝั่งซ้ายของคลองชัยนาท-ป่าสัก จำนวน 4 หมื่นไร่ เช่นตำบลหนองเมือง หนองทรายขาว พุคา โดยทั้งหมดนี้จะสามารถเก็บน้ำที่จะมาได้ประมาณ 2-3 ร้อยล้านลูกบาตรเมตร ซึ่งเป็นจำนวนน้ำที่มากพอสมควร

ส่วนแนวทางที่ 2.ของลพบุรีโมเดล คือหลังหาที่ให้น้ำอยู่แล้วก็จะมีการหาเส้นทางสำหรับให้น้ำลงกลับสู่แม่น้ำโดยไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ซึ่งถนนสายไหนปิดทางน้ำก็จะมีการขุดและฝังท่อให้น้ำเดินทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ส่วนแนวทางที่ 3 คือการหาอาชีพเสริมให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไม่สามารถออกไปรับจ้างได้ เช่นการปลูกผักทำน้ำ ด้วยการปลูกผักบุ่ง ผักกระเชด ร่วมถึงการปลูกผักสวนครัวลอยน้ำด้วยการปลูกผักในแพ และอีกส่วนก็คือการส่งเสริมการทำประมงให้กับชาวบ้านซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดีในช่วงน้ำท่วม ซึ่งหากชาวบ้านมีรายได้ก็จะทำให้ไม่เกิดอาการเคลียดขึ้นมาได้ ก่อนที่ภาครัฐจะมีการชดเชยช่วยชาวบ้านที่หลัง

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์