เตือนภัย!กทม.น้ำท่วมขังทำเมืองหลวงเสี่ยงอัมพาต

น้ำจะท่วมเต็มกรุงเทพฯ ช่วงพ.ย.-ธ.ค.น้ำทะเลก็หนุน น้ำป่าไหลหลากซ้ำแถมน้ำเหนือวิ่งมาท่วมสะสมที่ นครสวรรค์ จากนั้นก็จะวิ่งมาที่กทม.

นายอังสุมาล ศุนาลัย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวถึงสถานการณ์อากาศปัจจุบัน ว่า แม้ที่ผ่านมาถือว่าไม่น่าเป็นห่วงมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ฤดูฝนพักยก หลังจากที่ตกหนักติดต่อมาหลายวัน แต่นับจากเดือนกันยายน เป็นต้นไป จะเข้าฤดูฝนตกหนักเต็มรูปแบบทั่วทุกพื้นที่โดยเฉพาะกรุงเทพฯ

“สาเหตุที่ระยะนี้ฝนไม่ค่อยตกตามเวลาเหมือนเดิมมาจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศ ที่อ่อนกำลัง และจะลงมาใหม่อีก 3-4 วัน อย่างไรก็ดีสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังมากในระยะเวลาอันใกล้ คือ ปริมาณน้ำสะสมตามเขื่อนต่างๆ เช่น เขื่อนจากภาคเหนือ และภาคอีสาน และหากฝนยังตกหนักแบบนี้ กลางเดือนตุลาคม กรุงเทพฯ จะวิกฤตมากๆ เนื่องจากเขื่อนต่างๆ จะปล่อยน้ำที่เต็มเขื่อนออกมา ถึงเวลานั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กันก็คือ เวลาน้ำมากๆ พอเข้าฤดูหนาวภาคเหนือ-อีสาน จะหนาวหนักขึ้นไปอีก จึงอยากจะให้ประชาชนเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ”

กรุงเทพฯ เป็นอัมพาตจากน้ำท่วมขัง

ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ตอนนี้ภัยแล้งได้หมดไปจากประเทศไทย แต่กลายสภาพมาเป็น “ลานิญ่า” จากน้ำท่วมแทน เนื่องจากสถานการณ์ปริมาณน้ำมาก ซึ่งจากข้อมูลที่เกาะติดพบว่าเดือนกันยายน น้ำจะเยอะมากๆ ในภาคกลาง

"แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงมากๆ ก็คือปริมาณน้ำใน “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์” จังหวัดลพบุรี ซึ่งก็มีปริมาณน้ำเต็มที่และจะต้องปล่อยน้ำออกมา ดังนั้น น้ำจะท่วมเต็มกรุงเทพฯ โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม น้ำทะเลก็หนุน น้ำป่าไหลหลากซ้ำแถมน้ำเหนือวิ่งมา จาก จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.สุโขทัย เข้ามาที่ จ.ชัยนาท จะมาท่วมสะสมที่ จ.นครสวรรค์ หลังจากนั้นก็จะวิ่งเข้ากรุงเทพฯ พร้อมกัน”


เตือนภัย!กทม.น้ำท่วมขังทำเมืองหลวงเสี่ยงอัมพาต


ทั้งนี้ บริเวณที่เป็นพื้นที่วิกฤตมากที่สุดนั้นคือ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และกรุงเทพฯ

“ด้วยสถานการณ์น้ำไหลมาร่วมกันมากมายเช่นนี้ผมเชื่อว่ามันจะทำให้กรุงเทพฯ เป็นอัมพาตจากน้ำท่วมขังได้ จึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนอยู่ในที่ราบรับมือด้วย” ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวในที่สุด

ศปภ.หาช่องผันน้ำลงทะเลโดยไม่ผ่านกรุงเทพฯ

ด้านนายอุเทน ชาติภิญโญ ประธานคณะกรรมการผันน้ำลงทะเล ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ยืนยันว่า น้ำจะไม่เข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากมีการปล่อยน้ำจากคลองระพีพัฒน์ จังหวัดปทุมธานี เข้าสู่กรุงเทพมหานคร

โดยคณะกรรมการผันน้ำลงทะเล วางแนวทางเรียบร้อยแล้ว คือ ให้คลองทุกคลองของกรุงเทพมหานคร เปิดประตูระบายน้ำ
 
เริ่มตั้งแต่คลองระพีพัฒน์ ด้านใต้ ลงคลองรังสิต ผ่านคลองแสนแสบ คลองประเวศบุรีรมย์ ลงสู่คลองสำโรง เพื่อผันน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทย ด้านจังหวัดสมุทรปราการ ที่สถานนีสูบน้ำสุวรรณภูมิ หรือศูนย์อำนวยการเร่งรัดการผลักดันน้ำออกสู่ทะเล จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานีสูบน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน มีทั้งหมด 99 เครื่องสูบน้ำ สามารถรองรับน้ำและผันลงสู่ทะเลได้ถึง 30 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทั้งนี้คณะดังกล่าวจะนำเสนอ นายกรัฐมนตรี และ ศปภ. เพื่อดำเนินการต่อไป


นายอุเทน ซึ่งลงพื้นที่เขตลาดกระบัง ถึงคลอง 13 จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อวางแนวทางการผันน้ำลงสู่ทะเล

ผันน้ำจากคลองระพีพัฒน์ จ.ปทุมธานี ลงสู่คลองประเวศ และคลองพระองค์ไชยานุชิต ให้ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยด้าน จ.สมุทรปราการ
โดยประเมินว่า การทำให้มวลน้ำจาก จ.ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยาลดลง ต้องเปิดประตูระบายน้ำที่จะไหลลงสู่ทะเลทั้งหมด เพื่อให้น้ำไปในทิศทางเดียวกัน

ขณะได้ประสานเขตลาดกระบัง เพื่อให้เร่งเปิดประตูที่จะลงสู่ทะเลอ่าวไทย พร้อมทั้งเร่งชี้แจงกับประชาชนในเขตลาดกระบังด้านคลองประเวศ พระองค์ไชยานุชิต ให้ยอมเปิดประตูลงสู่ทะเลอ่าวไทย
 
ทั้งนี้ หากเปิดประตูระบายน้ำด้านคลองประเวศ พระองค์ไชยานุชิต ไปสู่คลองสำโรง ลงสู่ทะเลได้ จะทำให้มวลน้ำที่ท่วมขังขณะนี้เบาบางลง
 
และเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2554 พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศปภ.ได้ประกาศ ศปภ. ฉบับที่ 4

เรื่องขอให้ประชาชนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงและติดตามใกล้ชิด เนื่องจากปริมาณน้ำจำนวนมากได้ไหลผ่านทำนบกั้นน้ำชั่วคราวตามแนวพนังกั้นน้ำคลองระพีพัฒน์แยกตก ซึ่งน้ำจำนวนจะค่อยๆ ไหล เข้าท่วมทุ่งรังสิต ในบริเวณ พื้นที่คลอง 1-13 อย่างต่อเนื่องซึ่งจะมีผลทำให้พื้นที่บริเวณโดยรอบและต่อเนื่องมีระดับเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.

จึงมีความจำเป็นที่ประชาชนจะต้องเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยเร่งด่วน ขอแจ้งให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ลุ่มต่ำและในพื้นที่น้ำท่วม
ซ้ำซากขอจัหวัดต่างๆดัต่อไปนี้

1.จังหวัดปทุมธานี ประกอบปด้วย อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ อำเภอสามโคก และอำเภอลาดหลุมแก้ว ซึ่งจะมีระดับน้ำสูงขึ้นอีกประมาณ 50 ซม.

2.จังหวัดนครปฐม ประกอบไปด้วย อำเภอเมืองนครปฐม อำเภอบางเลน อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน อำเภอดอนตูม อำเภอกำแพงแสน อำเภอพุทธมณฑล ซึ่งจะมีระดับ้ำสูงอีกประมาณ 30-50 ซม.

3.จังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอบ้านแพ้ว และอำเภอกระทุ่มแบน ซึ่งจะมีระดับ้ำสูงอีกประมาณ 30-50 ซม.

4.จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอบางใหญ่ อำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางกรวย และอำเภอไทรน้อย มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีกปะมาณ 50 ซม.–1 เมตร

สำหรับกทม.ประกอบด้วย เขตคลองสามวา เขตหนองจอก เขตมีนบุรี เขตคันนายา และเขตลาดกระบัง จะมีระดับน้ำคงที่ประมาณ 1 เมตร – 1.20 ม. หรือเพิ่มสูงขึ้นอีกเล็กน้อย

เขตที่เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง คือ เขตสายไหม และบางเขนจึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ ตามประกาศข้างต้น ย้ายสิ่งของที่มีค่าขึ้นที่สูง ให้เกินกว่าระดับน้ำที่มีความสูงขึ้นดังกล่าว และเฝ้าติดตามศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือศปภ. อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีความจำเป็นที่ต้องการอพยพประชาชนในพื้นที่ใดจะแจ้งให้ทราบโดยด่วน

เตือนภัย!กทม.น้ำท่วมขังทำเมืองหลวงเสี่ยงอัมพาต


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์