อุทยานฯแจงยิบ เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง “เจ้าสัวเปรมชัย” ล่าเสือดำ 12 ล้าน!!!

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ได้ลงนามแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาคิดคำนวณค่าเสียหายทางแพ่ง กรณีนายเปรมชัย กรรณสูตร กับพวก ร่วมกันล่าสัตว์ป่ามีเสือดำ ไก่ฟ้าหลังเทา และหมูป่า โดยมีนายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นประธาน โดยมี น.ส.กาญจนา นิตยะ ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า นายเพ็ญวิชญ์ ศรีชัย ผอ.กองนิติการ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ นายศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า น.ส.ดาราพร ไชยรัตน์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ นายสัตวแพทย์(นสพ.)ภัทรพล มณีอ่อน สัตวแพทย์ชำนาญการ เป็นกรรมการ และนายสมปอง ทองสีเข้ม นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวนี้ ได้รวบรวมเอกสาร หลักฐาน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความเสียหายดังกล่าว

อุทยานฯแจงยิบ เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง “เจ้าสัวเปรมชัย” ล่าเสือดำ 12 ล้าน!!!

นายจงคล้าย กล่าวว่า ในที่ประชุมได้พิจารณาข้อมูลนิเวศของเสือดำ พบว่า เสือดำจะมีอายุสูงสุดประมาณ 18 ปี ค่าเฉลี่ยอายุเสือดำคือ 12 ปี โดยที่ เสือดำเพศเมีย เมื่อมีอายุประมาณ 2.5-3 ปี จะเริ่มผสมพันธุ์ได้ โดยที่เสือดำตัวเมีย 1 ตัว ในวงจรชีวิตหนึ่งนั้น จะให้ลูกได้ประมาณ 8 ตัว โดยที่เสือดำตัวที่นายเปรมชัย และพวก ล่านั้น เป็นเสือดำเพศเมีย อายุประมาณ 3-5 ปี ราคา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพื่อนำเสือดำปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 1 ตัว ราคาประมาณ 2,550,000 บาท โดยอ้างอิงเปรียบเทียบราคากับโครงการเพาะพันธุ์ และอนุรักษ์พันธุ์กรรมเสือโคร่ง เพื่อคืนสู่ถิ่นกำเนิดในธรรมชาติ บริเวณพื้นที่กลุ่มป่าตะวันตก กลุ่มป่าแก่งกระจาน และกลุ่มป่าอนุรักษ์อื่นๆ ประจำปีงบประมาณ 2558 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาประทับช้าง จ.ราชบุรี ทั้งนี้ พบว่า การปล่อยสัตว์ป่าคือสู่ธรรมชาติของกรมอุทยานฯมีอัตรารอดตายประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยที่คิดมูลค่าตั้งแต่เสือดำตัวเล็กๆ การฝึก ค่าอาหาร ยารักษาโรค เป็นเวลา 5 ปี กระทั่งสามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้ มีการสรุปความเสียหายของเสือดำในการปล่อยสู่ธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 12,750,000 บาท


รองอธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวต่อว่า ส่วนไก่ฟ้าหลังเทา มีราคาค่าใช้จ่าย ในการดำเนินโครงการเพื่อนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติตัวละ ประมาณ 12,612 บาท โดยอ้างอิงเปรียบเทียบราคากับโครงการเพาะและขยายพันธุ์ไก่ฟ้าหลังขาว เพื่อการเพาะพันธุ์และปล่อยสู่ธรรมชาติ ประจำปีงบประมาณ 2558 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุง จ.เชียงราย ซึ่งอัตรารอดตายของไก่ฟ้าที่ปล่อยคืนสู่ป่าอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ รวมมูลค่าความเสียหายของไก่ฟ้าหลังเทาทั้งสิ้น 25,224 บาท ส่วนมูลค่าความเสียหายของหมูป่านั้น คิดจาก หมูป่า 1 ตัวในท้องตลาดราคาประมาณ 22,500 บาท โดยคิดที่น้ำหนักหมูป่า 1 ตัวประมาณ 150 กิโลกรัม ราคาเนื้อหมูป่ากิโลกรัมละ 150 บาท จึงรวมมูลค่าความเสียหายทางแพ่งในคดีของนายเปรมชัยและพวกทั้งสิ้น 12,797,724 บาท โดยค่าเสียหายดังกล่าวนี้ยังไม่รวมค่าเสียหายทางระบบนิเวศน์ ของสัตว์ป่าทั้ง 3 ชนิดแต่อย่างใด เนื่องจากเรื่องดังกล่าวยังไม่มีผลงานวิจัยทางวิชาการรองรับ


เมื่อถามว่า ในเมื่อไม่มีงานวิจัยเรื่องค่าเสียหายทางระบบนิเวศน์ แสดงว่า จะไม่สามารถเรียกค่าเสียหายกรณีนี้จากนายเปรมชัย และพวกได้ ใช่หรือไม่ นายจงคล้าย กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมอุทยานไม่เคยมีงานวิจัยเรื่องนี้ จึงยังไม่สามารถเรียกร้องในส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็จะต้องตั้งทีมงาน เพื่อทำเรื่องนี้แล้ว โดยจะเอาสัตว์ตัวที่มีความเสี่ยงว่าจะถูกคุกคามมากที่สุด ว่าเมื่อสัตว์พวกนี้ถูกล่าแล้วจะเกิดผลกระทบ มีค่าความเสียหายทางระบบนิเวศน์อย่างไรมีมูลค่าเท่าใด สัตว์ที่จะต้องศึกษา คือ หมี เสือ ช้าง เก้ง กวาง ไก่ฟ้าทุกชนิด เป็นต้น


ที่มา : ข่าวสด


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : me
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 203.151.136.238

203.151.136.238,,238.136.151.203.sta.inet.co.th ความคิดเห็นที่ 2 [อ้างอิง]
wellcome


[ วันอาทิตย์ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11:09 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์