ออสซี่จับแกะใส่หน้ากาก แนะกินเนื้อจิงโจ้ลดก๊าซมีเทน


นักวิทยาศาสตร์พบว่า แกะเป็นตัวการก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก สูงกว่าก๊าซคาร์บอน โดยแกะจะปล่อยก๊าซมีเทนออก 2 ทาง คือทางหัว ได้แก่ ปาก ส่วนทางท้าย ก็คือ ก้น

ศ.เจมส์ โรว์ จากสถาบันความร่วมมือในการวิจัยแกะ ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า
"แกะปล่อยก๊าซมีเทนออกทางปากถึง 98% ส่วนก้นแค่ 2% เราจึงอยากวัดจำนวนก๊าซมีเทนที่แกะแต่ละตัวปล่อยออกมาว่าจะตกวันละเท่าไหร่ เราถึงจัดปฏิบัติการหน้ากากก๊าซขึ้น"

สำหรับ "ปฏิบัติการหน้ากากก๊าซ" คือการติดหน้ากากไว้ที่บริเวณจมูกของแกะ วันละ 1 นาที เพื่อวัดจำนวนก๊าซมีเทน โดยพวกแกะจะไม่รู้สึกเครียด หรือไม่ชอบหน้ากากนี้ เพราะมันยังหายใจเข้าและออกได้สะดวก จากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็จะนำก๊าซมีเทนที่เก็บได้ไปวิเคราะห์

ปัจจุบัน ประชากรแกะในออสเตรเลียมีอยู่ 90 ล้านตัว ทำให้มีการติงว่า
การรับประทานเนื้อแกะมากๆ ยิ่งทำให้เกษตรกรเลี้ยงแกะมากขึ้น ก๊าซมีเทนก็เพิ่มขึ้นตามจำนวนแกะ

ด้านนายรอส การ์โนลต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศออสเตรเลีย เห็นว่า แกะทำให้เกิดก๊าซมีเทน ประชาชนควรหันไปบริโภคเนื้อจิงโจ้แทนเนื้อแกะ

แต่ ศ.โรว์ ไม่เห็นด้วย เพราะตามปกติแล้ว มีชาวออสเตรเลียจำนวนน้อยมากที่กินเนื้อจิงโจ้ ส่วนใหญ่แล้วซื้อไปทำเป็นอาหารให้สัตว์เลี้ยงที่บ้านกินมากกว่า
- เดลี่เมล์

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์