สั่งเข้ม!!! เมานิดเดียวขับรถอายุไม่ถึง20 ใช้ใบขับขี่ชั่วคราวหรือไม่มี

สั่งเข้ม!!! เมานิดเดียวขับรถอายุไม่ถึง20 ใช้ใบขับขี่ชั่วคราวหรือไม่มี

     สตช.สั่งเข้มจับ"เมานิดเดียว"แล้วขับรถ อายุไม่ถึง20 ใช้ใบขับขี่ชั่วคราวหรือไม่มี บังคับใช้ตามกฎหมายใหม่ให้มีประสิทธิภาพ
     พล.ต.ท.วิทยาประยงค์พันธ์ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ผช.ผบ.ตร.)กล่าวว่าภายหลังจากที่มีการประกาศพระราชกิจจานุเบกษากำหนดปริมาณแอลกอฮอล์เพิ่มเติมเพื่อควบคุมการลดอุบัติเหตุจากเมาแล้วขับมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่31 พ.ค.60ทางสตช.จึงได้มีการกำชับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วประเทศให้ตรวจสอบอายุบนใบขับขี่ให้ละเอียดเพราะวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายคือต้องการควบคุมเยาวชนไม่ให้เมาแล้งขับเพราะจากการวินิจฉัยและหารือในคณะทำงานเห็นว่าวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ไม่มีวุฒิภาวะมากพอและไม่มีประสบการณ์ในการขับขี่หากไม่ควบคุมจะส่งผลให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุในวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องตรวจสอบดูด้วยว่าบุคคลนั้นถือใบขับขี่เป็นการชั่วคราวหรือไม่หากอายุเกิน20ปีแต่ใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราวหรืออยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ก็จะต้องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่20มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ด้วยเช่นกันเพราะถือว่ายังไม่มีประสบการณ์ในการขับขี่โดยกฎหมายกำหนดอายุบุคคลที่จะสามารถทำใบขับขี่ได้ดังนี้อายุ15ปีบริบูรณ์ทำใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์แบบชั่วคราวได้อายุ18ปีบริบูรณ์สามารถทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์แบบชั่วคราวได้ซึ่งต้องบังคับใช้กฎหมายในกลุ่มที่กฎหมายกำหนดเพิ่มเติมโดยเคร่งครัด
     พล.ต.ท.วิทยากล่าวต่อว่าสำหรับกรณีที่หลายฝ่ายเกรงว่ากฎหมายดังกล่าวอาจจะไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้เพราะประเทศไทยมีระบบเส้นสายระบบอุปถัมภ์ การคอรัปชั่นและขอให้สตช.ทบทวนแก้ไขระเบียบบการที่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยกเลิกการใช้ดุลยพินิจในการตรวจวัดแอลกอฮอล์นั้นตนเห็นว่าลักษณะดังกล่าวเป็นเฉพาะบุคคลในกรณีที่มีปัญหาหากตรวจพบดสตช.ก็มีระเบียบการในการลงโทษอยู่แล้วส่วนการใช้ดุลยพินิจในการตรวจหาแอลกอฮอล์นั้นได้กำชับและอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจราจรถึงหลักการใช้ดุลยพินิจโดยจะต้องดูตามความน่าจะเป็นของสิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากเห็นว่าหากมีการเรียกตรวจทุกรายมีส่งผลกระทบต่างๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจราจรติดขัดโดยในแต่ละจุดตรวจได้มีการจัดตั้งหน่วยหน้าด่านตรวจเพื่อควบคุมการทำงานของตำรวจอยู่แล้วอีกทั้งสตช.ได้มีการออกระเบียบแนวทางการปฏิบัติอัตราโทษปรับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆที่ เห็นว่าควรจะเข้มงวดฉะนั้นการแก้ไขระเบียบหรือยกเลิกกรณีให้พนักงานสอบสวนใช้ดุลยพินิจเพื่อปิดช่องโหว่จึงไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการขอความร่วมมือประชาชนที่ผิดอย่าชักชวนให้เจ้าหน้าที่รับเงินหากทำผิดก็จะต้องยอมรับและเข้าสู่กระบวนการของกฎหมาย

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์