สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานสัมภาษณ์พิเศษ

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานสัมภาษณ์พิเศษ


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะทำงานจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระมหากษัตริย์นักพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชาŽ นำคณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และทีมงานจัดทำหนังสือฯ
อันประกอบด้วย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ นางเพ็ญจา อ่อนชิต นายปรเมธี วิมลศิริ นายสุทิน ลี้ปิยะชาติ นางสาวกัญญารักษ์ ศรีทองรุ่ง และนางจันทร์ทิพย์ ปาละนันทน์ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเพื่อขอพระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักการทรงงานและแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และประสบการณ์ที่โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2554 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา

สำนักงานฯ รู้สึกซาบซึ้งในพระมหา กรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ได้รับพระราชทานสัมภาษณ์เกี่ยวกับหลักการทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันทรงคุณค่ายิ่ง เพื่อเผยแพร่ให้หน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และดำเนินตามรอยพระยุคลบาทโดยนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับหลักการทรงงานพัฒนาประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขอน้อมอัญเชิญมาดังนี้

ทรงแก้ไขปัญหาให้ประชาชน โดยใช้องค์ความรู้

เรื่องหลักการทรงงานและแนวพระราชดำริ ในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีพระราชดำรัสที่เผยแพร่เป็นที่รู้ทั่วไป หลักกว้างๆ ของพระองค์คือ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรว่ามีสิ่งอะไรที่ควรปรับปรุงได้ดีกว่านี้ ทำประโยชน์ให้เจริญรุ่งเรืองได้มากขึ้นกว่านี้ หรือประชาชนยังมีปัญหาความทุกข์ในพื้นที่แบบนี้ จะทำอย่างไร โดยพระองค์จะทรงใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้ว หรือหากยังทรงไม่มีความรู้ในสิ่งที่คิดว่าสำคัญ พระองค์จะทรงหาความรู้โดยทรงศึกษาและสนทนากับผู้รู้ต่างๆ แล้วนำมาประยุกต์ปรับปรุง ด้วยความตั้งพระราชหฤทัยที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประชาชน พระองค์เองจะทรงลำบากเดือดร้อนอย่างไร ก็ทรงไม่สนพระราชหฤทัย ถ้าทรงเห็นว่าดีแล้วก็ต้องเข้มแข็งพอที่จะทำ หากว่ามีปัญหาหรือใครว่ามา ก็ทรงต้องมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่ว่าพอมีปัญหาก็หลีกเลี่ยงไป ต้องอดทนตั้งใจ ระมัดระวัง และรอบคอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสั่งสมความรู้พื้นฐาน โดยทรงเรียนรู้จากการคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ถวายรายงานในเรื่องต่างๆ จากนั้นทรงค่อยๆ สร้างองค์ความรู้ของพระองค์เอง หลังจากทรงทำนานๆ ก็ทรงมีประสบการณ์จนทรงประเมินราคาโครงการได้เลย

ทรงใช้ความรู้อย่างบูรณาการ... มิได้ทรงตั้งทฤษฎีไว้ก่อน

นอกจากนี้ทรงนำความรู้และวิชาการต่างๆ มาใช้ร่วมกัน หรือที่สมัยนี้เรียกว่า บูรณาการŽ ไม่ทิ้งแง่ใดแง่หนึ่ง อย่างเช่นเรื่องอย่างนี้ในแนววิศวกรรมศาสตร์ทำได้ แต่ว่าอาจจะไม่เหมาะสมในเชิงเศรษฐศาสตร์ หรือเหมาะสมดีในเชิงเศรษฐศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์แต่ไม่เหมาะสมกับความสุขหรือความเจริญก้าวหน้าของประชาชน ก็ไม่ได้

เมื่อพระองค์เสด็จฯ ไปพบประชาชนที่ทุกข์ยาก ทรงช่วยได้ก็จะช่วยทันที พระองค์ไม่ได้ตั้งทฤษฎีไว้ก่อน แล้วทรงทำตามทฤษฎีอย่างทฤษฎีใหม่ หรือทฤษฎีอื่นๆ พระองค์ทรงเห็นอะไรที่กระทบ หรือเห็นว่ามีปัญหา ก็ทรงหาทางแก้ไข และเมื่อทำไปมากๆ ก็ออกมาเป็นทฤษฎีฉันเห็นว่า พระองค์ไม่ได้ตั้งทฤษฎีโดยที่คิดตามปรัชญาและทฤษฎีมาก่อน แล้วหาตัวอย่างเข้าไปปฏิบัติตาม แต่มีความรู้สึกว่าพระองค์ทรงมีตัวอย่างมากมายจากการเสด็จฯ ไปยังที่ต่างๆ เพื่อทอดพระเนตรสภาพปัญหาที่แท้จริง

ทรงพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนž

เป้าหมายในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนŽ เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ให้คนมีความสุข โดยต้องคำนึงเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา เชื้อชาติ และ ภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม แม้ว่าวิธีการพัฒนามีหลากหลาย แต่ที่สำคัญคือนักพัฒนาจะต้องมีความรัก ความห่วงใย ความรับผิดชอบ และการเคารพในเพื่อนมนุษย์ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเกี่ยวข้องกับมนุษยชาติ และเป็นเรื่องของจิตใจ

การทำงานพัฒนาไม่ได้เป็นเรื่องการเสียสละเพียงอย่างเดียว เป็นการทำเพื่อตนเองด้วย เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ต้องอยู่ด้วยกัน ถ้าเราอยู่อย่างสุขสบาย ในขณะที่คนอื่นทุกข์ยาก เราย่อมอยู่ไม่ได้นักพัฒนาควรมีจิตสาธารณะ รักที่จะช่วยเหลือให้ ผู้อื่นมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอนอยู่เสมอว่า งานพัฒนานั้นต้องเป็นที่ต้องการของบุคคล
เป้าหมาย และผู้ร่วมงานต้องพอใจ งานพัฒนาเป็นงานยากและกินเวลานาน ผู้ที่ทำงานพัฒนาหรือที่เรียกว่า "นักพัฒนา"Ž จึงต้องเป็นผู้ที่อดทน เชื่อมั่นในคุณความดี มีใจเมตตากรุณา อยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์และอยากให้ผู้อื่นมีความสุข ต้องมีความรู้กว้างขวาง เพราะงานพัฒนาเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ มาก ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้าใจ และยอมรับนับถือผู้อื่นเพราะเป็นงานที่ไม่มีทางทำสำเร็จได้โดยลำพัง

นอกจากนี้ นักพัฒนาต้องเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ถ้าคอร์รัปชั่นหรือโกงเสียเองแล้วก็จะเป็นที่เกลียดชัง ผู้อื่นไม่ไว้ใจ หรือไม่เป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อพัฒนาสำเร็จ มีความเจริญรุ่งเรืองก็จะเกิดความสุขถ้วนทั่วทั้งบุคคลเป้าหมายและนักพัฒนาเอง

ด้วยวิธีเช่นนี้ และด้วยความตั้งใจจะทำประโยชน์ให้แก่คนอื่นตัวเองจะลำบากเดือดร้อนไม่สนใจ หรือหากเห็นว่าดีแล้ว ก็ต้องมีความตั้งใจ เข้มแข็ง และอดทนพอที่จะทำต่อไปโดยไม่ย่อท้อ

‘ระเบิดจากข้างในž' พัฒนาให้ชาวบ้านเข้มแข็งก่อน

การพัฒนาราษฎรในพื้นที่จะทรงมีวิธีของพระองค์ คือการเสด็จฯ ไปในป่า บนเขา ตอนแรกจะเสด็จฯ ไปแบบยังไม่ได้มีการตัดถนนเข้าไป พระองค์ต้องเสด็จฯ เข้าไปอย่างลำบาก เพราะว่าพระองค์ไม่ต้องการจะให้คนอื่นมาเอาเปรียบคนข้างใน ในขณะที่เขายังไม่เข้มแข็งพอ พอพัฒนาให้เขาเข้มแข็งแล้ว เขาจะออกมาเอง คือ ระเบิดจากข้างในŽ

แต่เดี๋ยวนี้เวลาเขาทำการพัฒนา เขาจะต้องการถนนก่อน และคิดว่าจะได้ผลในที่สุด ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่เมืองไทย ที่เมืองจีนก็เช่นกัน และจากเอกสารของเอดีบีหรือธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียก็ใช้ถนนเป็นตัวชี้วัดการพัฒนา

อย่างไรก็ตาม สมัยนี้การพัฒนาจะเป็นอีกแบบ จะให้คงแบบเดิมไว้คงไม่ได้ เราต้องปรับปรุง เช่น มีอาจารย์มาปรึกษาฉันว่า ตอนนี้ผลผลิตในพื้นที่มีมากแล้วจะตั้งโรงงานในพื้นที่ก็เห็นจะเป็นไปไม่ได้ โรงงานที่เราตั้งอยู่เดิมนี่ดีแล้ว ฉันกำลังพยายามจัดการทำถนนดีๆ ให้ไปถึงไร่ เพื่อนำพืชผลออกมา และต่อไปก็ต้องจัดหารถ 10 ล้อ สำหรับบรรทุกพืชผล เพื่อขนส่งไปโรงงานและต้องเป็นรถ 10 ล้อที่แล่นได้ปลอดภัย ไม่ใช่จะยึดแต่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่ให้สร้างถนนเข้าไป ต้องดูตามเหตุผล พระองค์ทรงไม่ว่า หากมีเหตุผลและความจำเป็น

ทรงเป็นต้นแบบ ‘ประชาพิจารณ์'ž

ก่อนจะเสด็จฯ ไปทรงงานตามที่ต่างๆ จะทอดพระเนตรจากแผนที่ทางอากาศก่อนว่าควรจะเสด็จฯ ที่ไหน หรือจะทรงแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างไร เช่น สามารถนำน้ำจากตรงนี้ไปเลี้ยงนาตรงโน้น ได้ประโยชน์และจะต้องมีรายจ่ายจากการก่อสร้างหรือดำเนินงานเท่าไหร่ จะได้ผลกลับคืนภายในกี่ปี และที่สำคัญต้องไปคุยกับชาวบ้านก่อนว่าเขาต้องการไหม ถ้าเขายังไม่ต้องการ ยังไม่สบายใจที่จะทำเราก็ไปทำที่อื่นก่อน นั่นคือทรงทำประชาพิจารณ์ด้วยพระองค์เองทรงทำตรงนั้นเลย

บางครั้งมีคนกราบบังคมทูลหรือถวายความเห็น บางทีก็ดี บางทีก็แย่ คือประโยชน์เข้าที่ตัวเขาคนเดียว คนอื่นไม่ได้ พระองค์ก็ทรงทำตามเขาไม่ได้ เพราะถ้าทรงทำ เขาสบายคนเดียว เพื่อนบ้านไม่สบายก็ต้องดูด้วย ทรงพิจารณาอย่างรอบคอบ

ทรงมุ่งพัฒนาทั้งคนและพื้นที่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริเรื่องต้องพัฒนาทั้งคนและพื้นที่ โดยจะทรงพยายามให้ทั้งคนและพื้นที่ได้รับการพัฒนา พระองค์ตรัสว่า ถ้าพื้นที่ดี คนที่ได้รับประโยชน์ก็คือคนเหล่านั้นที่เคยลำบาก ขณะเดียวกัน จะต้องพัฒนาคนในพื้นที่ให้ดีขึ้นด้วย หากเป็นเช่นนี้ รุ่นลูกรุ่นหลานก็จะมีการศึกษาดีและมีอาชีพที่มั่นคง

พระองค์ทรงไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาโดยให้คนยากจนออกไปจากพื้นที่ และนำคนที่พัฒนาแล้วเข้าไปอยู่ในพื้นที่แทน เพราะทรงเห็นว่า หากใช้วิธีนี้คนจนที่ลำบากจะไม่ได้รับการพัฒนา

ทรงบริหารความเสี่ยง... ทดลองจนได้ผลดีก่อนพระราชทานแก่ราษฎร

ส่วนใหญ่เมื่อเขาเห็นทรงปฏิบัติหรือทดลองแล้วได้ผล เขาก็นำไปปฏิบัติ แต่บางครั้งก็มีเสียงบ่นเหมือนกันว่า พระองค์ทรงทดลองอยู่นั่นเอง ทำไมไม่เอาจริงเสียที จริงๆ แล้วพระองค์ตรัสเสมอว่า ถ้ายังไม่ดีจริง ไม่ให้ประชาชนนำไปทำแล้วต้องรับผลแห่งความผิดพลาดหรือรับกรรม เช่น เรานำผลไม้แบบใหม่มาปลูกจะขึ้นหรือเปล่า จะดีหรือเปล่าก็ไม่รู้ เราต้องเป็นคนรับผิดชอบความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเสียก่อน แต่ถ้าไม่ลองของใหม่เลย ก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน พระองค์จะทรงทำโดยต้องทดลองจนแน่ใจว่าทำได้แล้วจึงให้เขาทำ เป็นการ บริหารความเสี่ยงŽ ไม่ให้เขาเสี่ยง คนที่ไม่มีแล้วยังมาเสี่ยงต้องรับเคราะห์กรรมอีก พระองค์จะไม่ทรงทำ

อย่างตอนเสด็จฯ ไปจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 50 กว่าปีมาแล้ว พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปเรื่อยๆ ไปเจอบ้านชาวเขาหลายเผ่า ทอดพระเนตรเห็นเขาปลูกฝิ่น ซึ่งไม่ได้ทำให้เขาร่ำรวย ซ้ำยังทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม เพราะว่าสูบเองบ้างและขายราคาถูกให้พ่อค้าคนกลาง พวกค้าฝิ่นเถื่อน สมัยก่อนนั้นประเทศอื่นๆ เขาปราบฝิ่น โดยการเข้าไปเผาไร่ฝิ่น แต่พระองค์ตรัสเสมอว่า ถ้าเรายังไม่สามารถช่วยเหลือใครให้มีความกินดีอยู่ดีขึ้น เราจะไปทำลายวิถีชีวิตเก่าเขาไม่ได้ และการที่จะช่วยเขา ต้องทดลองทำให้แน่ใจก่อนว่าดีแล้วจึงค่อยให้เขาทำ โดยพระองค์จะทรงทดลองปลูกพืชผักผลไม้ต่างๆ เมื่อได้ผลแล้วจึงนำไปให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่น คือทรงค่อยๆ ทำแล้วก็มีมิตรประเทศต่างๆ นำพืชผลมาให้ลองปลูกแทนฝิ่น จนโครงการควบคุมยาเสพติดของสหประชาชาติเขาถามว่า ที่เมืองไทยใครเป็นคนทำเรื่องนี้ สมัยนั้นยังไม่มีใครทำ มีแต่พระองค์ทรงทำอยู่เขาอาสาว่าจะมาช่วย แต่งานทั้งหมดพวกเราคนไทยทำกันเองได้ รวมทั้งงานด้านวิชาการด้วย เพราะเรามีคนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาช่วย ภาคกลางมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทางเหนือมีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขณะนั้นยังไม่มีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อภายหลังมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เกิดขึ้น จึงมาร่วมทำงานถวายด้วย

ทรงรับฟังและหาทางแก้ปัญหาให้ประชาชน

เวลาจะเสด็จฯ ไปไหน บางครั้งคนทั้งขบวนยังไม่รู้เลยว่าจะเสด็จฯ ไปไหน เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ไม่ให้ประชาชนต้องลำบาก อย่างฉันตามเสด็จฯ บางทีพระองค์ทรงแกล้งพระราชทานแผนที่มาให้และตรัสว่าจะเสด็จฯ ประมาณตรงนี้จะทรงขับรถไปตามที่ฉันบอกทาง ทรงให้เป็นเนวิเกเตอร์ ฉันก็บอกเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ตรงหน้า 3 เมตร จริงๆ ไม่ถูก พระองค์ก็ทรงแกล้งขับตามที่ฉันพูดมีอยู่วันหนึ่งลงไปอยู่กลางนา ไม่มีคนเลย มีแต่พระรูปหนึ่งกำลังซ่อมหลังคาโบสถ์ พระหันมาเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ปีนลงจากโบสถ์ แล้วไปที่หอกลอง ตีกลอง ที่บอก หางเปียมาเลียใบตอง พระตีกลองตะลุ่งตุ้งแช่Ž ฉันก็ได้เห็นคราวนั้น

พระตีกลองสักพักหนึ่งประชาชนก็มาเข้าเฝ้าฯ กันมากมาย มาเฝ้าฯ แล้วก็เล่าถวายว่า ตรงนี้เป็นอย่างไร มีความเดือดร้อนอะไร พระองค์ทรงรับฟัง แล้วก็ทรงช่วยแก้ปัญหาตามที่เขากราบบังคมทูล พอเขามากราบบังคมทูล พระองค์ก็เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรทันที แล้วก็ทรงถามและคุยกันว่า ตกลงเราจะทำอย่างไรกันดีที่จะแก้ปัญหานั้นๆ เช่น ปัญหาการแบ่งน้ำที่แช่ปอ สมัยนี้เราไม่เห็นและนะปอ เขาจะแช่ปอ พอแช่ไปน้ำก็จะเน่า น้ำนั้นจะเอาไปใช้ทำเกษตรก็ไม่ได้ เอาให้วัวควายหรือสัตว์อื่นกินก็จะป่วย คนที่ทำปอกับปลูกข้าวก็ตีกัน พระองค์จึงทรงให้แยกน้ำ เพื่อทำกิจกรรมข้าวและปอ อย่างโครงการปากพนัง พระองค์ทรงแบ่งกิจกรรมเพื่อที่ว่าคนไหนจะทำกิจกรรมอะไร ตรงนี้เขาน้ำจืด ตรงนี้เขตน้ำเค็มเรียกว่า "การจัดปฏิรูปที่ดินใหม่"Ž หรือ Land Consolidation

พระองค์ทรงงาน เพื่อให้ชีวิตของคนไทยมั่นคง

หลักของพระองค์คือ อยากให้คนมีความรู้ แม้แต่สารานุกรมก็เป็นหนึ่งในงานพัฒนาการพระราชทานทุนการศึกษา การสร้างโรงเรียนก็ทรงสร้างไว้หลายโรงเรียน งานพัฒนาเพื่อความมั่นคงพระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มก่อน เรื่องความมั่นคงของมนุษย์ที่สมัยนี้เรียกว่า Human Security ก็เป็นสิ่งที่เรารู้จักและเคยชินกัน ไม่ใช่ว่าพัฒนาให้ประเทศไทยมีความมั่นคงอย่างเดียว แต่เป็นการทรงงานเพื่อให้ชีวิตของคนไทยมั่นคง มีสุขภาพดี มีความรู้ มีการศึกษาที่สามารถจะทำอะไรได้ และจะได้ฝึกหัดนักพัฒนารุ่นต่อๆ ไป ให้มีจิตใจอยากจะทำสิ่งดีๆ ให้แก่ประเทศชาติ และให้มีความรู้ที่จะทำได้ มีสปิริต มีจิตอาสาที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

เรื่องของการสอนคนอื่นให้ทำ พระองค์ทรงถือว่าสำคัญ ในส่วนของฉันทำหน้าที่เหมือนกับจับเกร็ดเล็กผสมน้อย โครงการที่มีอยู่เป็นจำนวนมากก็แบ่งกันไปดูแลรับผิดชอบเป็นภาคๆ ไป เมื่อมีคนขอความช่วยเหลือให้ทำอะไรในพื้นที่นั้นๆ ก็ต้องไปศึกษาก่อน เพราะบางครั้งจะมีคนที่ไม่ต้องการหรือคิดคนละอย่าง

ทรงเน้นให้การศึกษา แก่เด็กด้อยโอกาส

ในการพัฒนานั้น การศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะค้ำจุนให้ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต้องมีการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา จะต้องฝึกนักเรียนให้มีทักษะทั้งในการปฏิบัติ และมีพลังความคิด ให้มีระบบแบบวิทยาศาสตร์ และต้องมีจินตนาการซึ่งจะนำให้เกิดความสร้างสรรค์และนวัตกรรม เพื่อให้การศึกษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

เมื่อก่อนทำโครงการต่างๆ กับพระองค์ ตอนหลังก็มีทำเอง ฉันพอจะทำอะไรได้ก็จะทำ แต่รูปแบบหรือสไตล์ก็จะต่างออกไป อย่างตอนแรกๆ พอพระองค์เสด็จฯไปไหนเห็นคนเขาอดข้าวอดปลา พระองค์ทรงให้ตั้ง มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนŽ สมัยโน้นก็หลายสิบปีมาแล้วเมื่อก่อน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ทำ ตอนหลัง คุณหญิงอัมพร มีศุข ซึ่งท่านก็อายุประมาณ 90 กว่าปีแล้ว ก็ยังทำอยู่ และก็กำลังจะฉลอง 50 ปีของมูลนิธิ

ในระยะเริ่มต้น ทรงให้มูลนิธิจัดทำโครงการอาหารให้เด็กนักเรียน รวมทั้งทรงสอนให้นักเรียนปลูกผัก ปลูกไม้ผล เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ในการทำการเกษตร สามารถลงมือทำกันเองได้ ซึ่งนอกจากจะได้มูลค่าเพิ่มทางด้านสิ่งของแล้ว ยังเป็นการรวมคนด้วย พอรู้ว่าเราอยากได้อะไร อยากได้จอบได้เสียม ชาวบ้านหรือคนขายจอบ ขายเสียม ขายอุปกรณ์ต่างๆ ก็มาช่วย เห็นเราทำเก้ๆ กังๆ ทำไม่ค่อยถูกเท่าไหร่ ผู้ใหญ่ที่มีความรู้ก็มาร่วมช่วย ตอนหลังใครๆ ก็เข้ามาช่วย หลายๆ คนก็ได้รับประโยชน์

บางแห่งต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ไปเป็นชั่วโมง ไปถึงที่นั่นไม่มีไฟฟ้า ก็ไปช่วย ถ้าทำไฟฟ้าพลังน้ำไม่ได้ก็ใช้พลังแสงอาทิตย์ การช่วยเหลือทุกอย่างสืบเนื่องมาจากพระองค์ ตอนนั้นพระองค์เสด็จฯไปที่ไหนก็จะทรงสร้างโรงเรียน ในชนบทและชุมชนที่อยู่ในที่ห่างไกล ต้องเริ่มการพัฒนาตั้งแต่ต้น เราต้องสร้างโรงเรียนหรือศูนย์การเรียนชุมชนในหมู่บ้าน อย่างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ตำรวจเขาคิดแล้วมาขอพระราชทานให้ช่วยทำ พระองค์เสด็จฯไปที่ไหนเห็นว่ายังไม่มีโรงเรียนก็ทรงสร้าง อย่างเช่นโรงเรียนร่มเกล้า และอีกมากมาย ของโครงการหลวงก็มีโรงเรียนสำหรับเด็กยากจนในกรุงเทพฯก็มี ตอนนั้นฉันยังเล็กจำไม่ค่อยแม่น จำได้ว่าพวกนิสิตจุฬาฯช่วยทำ แต่ก่อนเขาเรียกว่ากองขยะถนนดินแดง ทรงทำเรื่อยมาจนนำไปสู่การสร้างแฟลต

ทรงศึกษาสภาพแวดล้อม ระหว่างเสด็จฯ

เวลาพระองค์เสด็จฯไปไหนระหว่างเสด็จฯจะทรงศึกษาไปด้วย เช่น เวลาทรงเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ทอดพระเนตรไปตลอดว่าที่ตรงนี้เป็นอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร จะปรับปรุงหรือจะนำสิ่งที่ดีที่มีอยู่มาเสริมให้ได้ดีที่สุดอย่างไร ฉันก็ยังได้นำไปสอนนักเรียนด้วย

นอกจากนี้พระองค์ทรงสอนอีกว่า ขณะนั่งรถก็สามารถเรียนรู้ได้มาก จากการที่รถวิ่งขึ้นภูเขาหรือวิ่งอยู่บนพื้นราบ พืชพันธุ์ธรรมชาติจะเปลี่ยนไปตามสภาพพื้นดิน สภาพหิน และสภาพอะไรก็เปลี่ยนไป เป็นพื้นที่พืชเศรษฐกิจอะไร หรือความเป็นอยู่ของราษฎรในที่ต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร สามารถเรียนรู้จากธรรมชาติได้ทั้งนั้น ทอดพระเนตรเสร็จก็ทรงนำมาคิดวิเคราะห์เป็นโครงการ ไม่ใช่ว่าพระองค์คิดไว้ก่อนหรอก

ทรงทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีความสุข

ที่แก่งกระจานมีชาวกะหร่างอาศัยอยู่มาก พระองค์เสด็จฯเข้าไปเพื่อทรงดูแลชาวบ้านกลุ่มนี้ว่า ควรจะเพาะปลูกอะไร ทำอย่างไรจะมีอยู่มีกิน และสามารถที่จะนำของไปขายหรือประกอบอาชีพอื่นๆ จึงทรงให้ความรู้ รวมถึงส่งเด็กๆ แถวนั้นเรียนหนังสือส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น เจ็บไข้ได้ป่วยก็ทรงรักษา โดยทำแบบครบวงจรในทุกๆ อย่าง พระองค์ทรงพัฒนาอย่างครบวงจรอะไรที่จะเสริมให้ดีขึ้นได้ทรงทำทุกอย่าง

งานบางอย่างอาจจะคิดว่าไม่เกี่ยวกับการพัฒนา อย่างเช่นการแก้ไขหรือป้องกันโรค ทูลกระหม่อมปู่ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) ทรงส่งเสริมการป้องกันวัณโรค สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนการป้องกันอหิวาตกโรคและโรคต่างๆ รวมถึงป้องกันและรักษาโปลิโอ โดยให้ทำกายภาพบำบัด เรื่องวิชาความรู้พระองค์ก็ทรงทำ หลักของพระองค์คือทรงทำทุกอย่างที่จะช่วยเหลือประชาชนให้มีความสุข

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาž แหล่งศึกษาทดลองเพื่อการเรียนรู้

การทรงงานพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเลือกพื้นที่แห่งหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่แบบเดียวกันได้ลองนำไปทำ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาทดลอง และเรียนรู้ เรียกว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาŽ โดยแต่ละแห่งจะมีเงื่อนไขและสภาพพื้นที่แตกต่างกัน นับเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง คือเป็นการศึกษาของคนที่อยู่ต่างหน่วยงานราชการ ต่างความรู้ ต่างความคิด มาทำงานร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน จะนำความรู้ของตนเองมาทำอย่างไร ให้พื้นที่ตรงนี้เจริญสามารถใช้ได้ แล้วคนรอบข้างมีความสุขอย่างเช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส จะแก้ปัญหาในท้องถิ่นเรื่องดินเปรี้ยว จะทำอย่างไรจึงจะแก้ไขปัญหานี้ได้ ไม่ใช่ว่ากรมชลประทานอยู่ส่วนชลประทาน กรมพัฒนาที่ดินอยู่ส่วนพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้อยู่ส่วนไม้ กรมปศุสัตว์อยู่ส่วนของปศุสัตว์ แต่จะมารวมกัน ทุกหน่วย ทุกคนนำความรู้และเทคนิคของตัวเองมาลงในโครงการเดียวกัน เป็นการศึกษาร่วมกันในรูปแบบใหม่ เสร็จแล้วราษฎรก็มาดู นักพัฒนาก็มาศึกษา เพื่อนำความรู้ตรงนี้ไปปรับใช้ในที่ของตัวเอง หมู่บ้านบริวาร เขาก็จะนำไปทำ เมื่อทำได้ผล สามารถล้างหนี้สินได้ คนคนนั้นก็จะเป็นวิทยากรสอนคนอื่น มีน้ำใจที่จะให้ความรู้ในการช่วยคนอื่นต่อไป บางคนเมื่อเขาปลูกได้แล้วเหลือกิน ใครมาขอเขาก็ให้

ตอนนี้เราก็คิดที่จะทำเพิ่มเติมให้ทุกศูนย์ฯมี เช่น โรงสี และจะให้ทุกศูนย์ฯมีการขยายผลให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น นอกเหนือจากคนที่อยู่ในหมู่บ้านบริวาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ให้ชาวบ้านมาเรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ได้จริงๆ รวมทั้งทรงให้มีการขยายผลออกไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ทำแต่เฉพาะของเรา หรือหน่วยงานและวิทยากรเท่านั้น คนที่เข้ามาช่วยเหลือมีทั้งผู้นำท้องถิ่น ผู้นำตามธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน และบางครั้งก็จะมีพวกเด็กๆ มีน้ำใจที่จะมาช่วยกันทำถ่ายทอดและขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป ซึ่งตอนนี้ฉันก็รับเรื่องนี้มาทำ

หัวหิน... จุดเริ่มแห่งแนวพระราชดำริ

สมัยเด็กๆ จำความได้พระองค์ก็เสด็จฯ เยี่ยมเยียนชาวบ้านแล้ว พี่เลี้ยงเล่าว่าไปหัวหินครั้งแรกตอนนั้นฉันอายุ 2 เดือน จากที่ประทับพระราชวังไกลกังวล พระองค์เสด็จฯไปเยี่ยมราษฎรแถวนั้น เนื่องจากชาวบ้านแถบนั้นขาดแคลนน้ำ และน้ำเค็มทำอะไรไม่ค่อยได้ พระองค์จึงทรงปรับปรุงเรื่องแหล่งน้ำให้โดยทรงมีพระราชดำริให้สร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า เกิดเป็นโครงการตามพระราชดำริขึ้น

จุดเริ่มแนวพระราชดำริน่าจะเป็นแถวหัวหิน เพราะแถวนั้นเป็นที่ที่ขาดแคลนน้ำ จำได้ว่าพี่เลี้ยงหรือว่าข้าหลวง หรือคนที่ทำงานในวังที่วันไหนออกเวร ก็รับสนองพระราชดำริไปเป็นอาสาสมัครออกไปตามหมู่บ้านต่างๆ ไปช่วยสร้างถังน้ำ ไปทำถวายอย่างไม่เป็นทางการและบริจาคเงินสร้างถังน้ำตามที่ต่างๆ

ฉันเองยังได้ใช้เป็นแบบเรียนคณิตศาสตร์ตอนเด็กพอหยุดเทอม 3 เดือน ทำเลขอยู่ 2 ข้อ ข้อหนึ่ง คือ ถังน้ำ 1 ใบ เดี๋ยวน้ำรั่ว เดี๋ยวเติมน้ำเข้าไป เดี๋ยวฝนตก น้ำซึม น้ำรั่วเท่าไหร่ กว่าจะคำนวณถังนี้ได้ก็หมด 3 เดือน กับอีกข้อหนึ่ง โจทย์มีอยู่ว่า คนคนหนึ่งมีค่าใช้จ่ายเดือนละเท่าไหร่ต้องทำโครงการไปสืบราคากะปิ น้ำปลา เสื้อผ้าที่จะต้องใช้ มีลูกเท่าไหร่ ก็ทำบัญชีตัวเลข และพยายามบริหารชีวิตของคนคนนี้

สมัยนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์จึงยังไม่มีเกมคอมพิวเตอร์ก็เล่นเกมนี้ไปตลอด 3 เดือน เหมือนบันทึกบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งทรงมีพระราชดำรัสว่าทุกคนควรทำบัญชีครัวเรือนได้

นอกจากนี้ ทรงให้จัดตั้ง หมู่บ้านสหกรณ์การเกษตรŽ โดยทรงนำวิธีการสหกรณ์มาใช้ในการจัดตั้งหมู่บ้านหุบกะพง เพื่อแก้ปัญหาสินค้าเกษตรมีราคาต่ำและไม่แน่นอน ซึ่งได้ผลดีและยกระดับเป็นหมู่บ้านสหกรณ์ตัวอย่างชื่อ ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพงŽ ซึ่งเป็นโครงการเริ่มแรกเกี่ยวกับการจัดตั้งสหกรณ์ และทรงส่งเสริมหัตถกรรม โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเริ่มงานส่งเสริมอาชีพตั้งแต่ตอนนั้น

ทรงให้ปลูกต้นไม้เพื่อรักษาดิน

นานมาแล้ว ขณะประทับอยู่ที่วังไกลกังวล ฉันอยู่ด้วย มีชาวบ้านจำไม่ได้ว่าเป็นชาวกะเหรี่ยงหรือกะหร่าง เขามาเข้าเฝ้าและกราบบังคมทูลว่า เขาอยากจะกราบบังคมทูลลาไปอยู่พม่า เนื่องจากทางราชการมาถางป่า ตัดต้นไม้ คือสมัยก่อนเวลาจะสร้างนิคม ตั้งเขตเกษตร ก็จะทำในสิ่งที่พระองค์เรียกว่า ปอกเปลือกŽ ซึ่งคนกะเหรี่ยงหรือกะหร่างนี่ เขาหวงธรรมชาติ จึงไม่สบายใจ และกราบบังคมทูลลาไปอยู่พม่า ภายหลังพระองค์จึงมีพระราชดำรัสแก่ทุกคนว่า เราต้องไม่ปอกเปลือกเปลือยดินŽ ให้ห่มดินแล้วดินจะดี การห่มดินก็คือการปลูกต้นไม้นั่นเอง

‘หญ้าแฝก' žช่วยพัฒนาดิน และผลิตเป็นสินค้าหัตถกรรม

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ใช้ หญ้าแฝกŽ ในการพัฒนาดิน เพราะรากของหญ้าแฝกขึ้นหนา งอกตรง ไม่แผ่ไปไกล สามารถยึดและป้องกันดินพังทลาย รักษาน้ำและความชื้นได้เหมือนมีเขื่อนอยู่ใต้ดิน สามารถทำให้ดินที่แข็ง เช่น ดินลูกรังร่วนซุยได้ หญ้าแฝกมีหลายพันธุ์ที่ใช้ได้ตามความเหมาะสม ใบของหญ้าแฝกยังสามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าหัตถกรรมได้อีกด้วย เป็นแรงจูงใจทำให้เกษตรกรสนใจปลูกหญ้าแฝกกัน

ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ช่วยผู้ถวายฎีกา

งานพัฒนาคงเริ่มตั้งแต่ในวัง ใครไปเจออะไรเขาก็มากราบบังคมทูล หรือว่าพระองค์ทรงไปทอดพระเนตรเอง แล้วก็หลายๆ เรื่องที่อยู่ในพระราชกรณียกิจของพระองค์ เช่น เรื่องคดีความทางกฎหมาย ประชาชนไทยทุกคนที่คดีถึงที่สุดที่ศาลฎีกา ก็มีสิทธิถวายฎีกา พระองค์ก็จะทรงให้คนไปดู โดยสืบตั้งแต่ศาลชั้นต้น จากสำนวนคำให้การต่างๆ จะทำให้มองเห็นเลยว่า บางคดีเกิดขึ้นเนื่องจากความยากจนความทุกข์ และความเดือดร้อน นอกจากจะตัดสินไปตามคดีความ ก็ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณช่วยเหลือให้เขาดีขึ้น ซึ่งพระองค์ทรงทำมาตลอด

‘อ่างเก็บน้ำใต้ดิน'ž ป้องกันน้ำท่วมและน้ำระเหย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นว่าน้ำเป็นส่วนสำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัยในการผลิตที่สำคัญ ถ้าแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ก็จะสามารถแก้ปัญหาอื่นๆ ต่อไปได้

ภาพที่คุ้นตาชาวไทยคือภาพที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปที่ต่างๆ มีแผนที่ที่ทรงต่อเองเพื่อวางแผนสร้างเขื่อน ฝาย ฯลฯ การวางแผนต้องอาศัยข้อมูลหลายอย่าง เช่น ที่ตั้งของโครงการ ความสูงของพื้นที่ ทิศทางน้ำไหล ปริมาณน้ำ ลักษณะทางธรณีวิทยา ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้สามารถบันทึกไว้ในแผนที่ได้ การสำรวจพื้นที่การออกแบบ และก่อสร้าง ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีหลายอย่าง

โครงการชลประทานในพระราชดำริที่มีลักษณะพิเศษ คือ "อ่างเก็บน้ำใต้ดินŽ" ซึ่งอยู่ในถ้ำที่บ้านห้วยลึก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ บริเวณนี้เป็นภูมิประเทศแบบคาร์สต์ หรือเป็นเขตหินปูนจะมีถ้ำเป็นจำนวนมาก พระราชดำริที่จะเก็บน้ำไว้ในถ้ำ ซึ่งมีข้อดีคือ น้ำที่เก็บไว้ ไม่ไปท่วมที่ดินของเกษตรกร และน้ำจะไม่ระเหยไปมากเหมือนอยู่กลางแจ้ง ข้อที่ลำบากมากคือการสำรวจพื้นของถ้ำว่ามีลักษณะอย่างไร เพื่อที่จะเสริมไม่ให้รั่วได้ การสำรวจต้องใช้หลายวิธีสอบเทียบกัน เช่น การวัดความต้านทานไฟฟ้า การใช้คลื่น

ตอนไปสำรวจ ก็หลงถ้ำ จนเกือบขาดออกซิเจนกัน พอเข้าไปสำรวจแล้ว จึงได้รู้ว่าในถ้ำมักจะเป็นหินปูน หินปูนพอโดนน้ำ กรดในน้ำก็จะละลายออกมา หินปูนก็จะเป็นรูพรุน จะเก็บน้ำไม่ได้ ถ้ำจะให้เก็บน้ำอยู่ก็ต้องเอาปูนมายาตรงนั้น

เขื่อนในถ้ำนี้ ต่างประเทศเขาก็ทำกัน แต่ของเขาใหญ่มาก ของเราทำโครงการเล็กๆ ก่อนสำหรับข้อเสียคือ ราคาค่อนข้างแพง และถ้ำซึ่งเคยใช้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งทางธรรมชาติ อาจจะเข้าไปไม่ได้ ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ส่วนใหญ่ก็จะได้ประโยชน์ในด้านการป้องกันน้ำท่วม มีพระราชดำริทำ แก้มลิงŽ เพื่อเก็บน้ำเมื่อมีน้ำมากไว้ใช้ในฤดูแล้ง

ทรงคิดค้นกังหันน้ำชัยพัฒนา และฝนเทียม

ในการพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องน้ำนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงคิดค้น กังหันน้ำชัยพัฒนาŽ มีทั้งหมด 7 โมเดล เป็นเครื่องช่วยเติมออกซิเจนในน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่า โดยทรงจดสิทธิบัตรเมื่อปี 2545 นับเป็นเครื่องเติมอากาศเครื่องที่ 9 ในโลกที่จดสิทธิบัตร กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลระดับนานาชาติหลายรางวัล และได้นำไปใช้ไกลที่สุดในสวนสาธารณะกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

พระองค์ยังทรงห่วงใยเกษตรกรที่ต้องพบปัญหาไม่มีน้ำใช้ในการบริโภคและทำการเกษตรในฤดูแล้ง จึงทรงคิดค้น ฝนเทียมŽ ขึ้นเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว เป็นที่รู้จักกันในนาม ฝนหลวงŽ เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ความรู้ทางฟิสิกส์และเคมี จะได้ผลในบริเวณที่ยังมีความชื้นอยู่บ้าง ใช้เครื่องบินพ่นสารเคมีที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมในความสูงและพิกัดที่เหมาะสม เพื่อรวมความชื้นให้ตกลงมาเป็นฝนแต่ละสภาพสิ่งแวดล้อม (สภาพทางอุตุนิยม เช่น ทิศทางลม ความเร็วลม สภาพพื้นที่) ใช้สารเคมีไม่เหมือนกันงานที่ได้ผลคือ การทำฝนเทียมลงในอ่างเก็บน้ำ ช่วยให้ได้น้ำเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ การดับไฟป่าในพรุใช้วิธีทำฝนเทียมลงในคลองที่ไหลลงในพรุ ได้ผลดีกว่าการใช้เฮลิคอปเตอร์ตักน้ำเทลงไปอย่างที่เคยใช้

ทรงช่วยบรรเทา ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ

เมื่อเร็วๆ นี้ มีเพื่อนนักเรียนมาบอกว่าไม่เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงช่วยอะไรคนกรุงเทพฯเลย คือจริงๆ แล้วพระองค์ทรงช่วย อย่างเรื่องน้ำท่วมตั้งแต่ทำเขื่อนป่าสัก น้ำก็ไม่ท่วมหนักอย่างเก่า ที่เราต้องปีนออกทางหน้าต่าง หรือปีนต้นไม้ไปทำงานแล้วใช้ไดร์โว่ก็ไม่มีแล้ว ตอนนั้นหลานกำลังจะเกิดแล้วฉันเป็นคนแต่งห้องให้เขาใหม่ สั่งทำม่าน ต้องเอาม่านใส่เรือพายมาที่สวนจิตรฯ สมัยนั้นท่วมขนาดนี้

ตอนน้ำท่วมกรุงเทพฯ พระองค์ก็เสด็จฯไปทอดพระเนตรเอง รถพระที่นั่งไปเสียกลางทาง พระองค์ทรงขับไปถึงซอยอ่อนนุช เพื่อทอดพระเนตรน้ำ แต่กรุงเทพฯนี่ดูลำบากเพราะมีลักษณะภูมิประเทศแบน

พระองค์จะเสด็จฯทอดพระเนตรทั้งสถานที่จริง แล

Cr.matichon

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์