ว่าวดาวเทียมธีออสในงานว่าวไทยและว่าวนานาชาติ ครั้งที่ 10

ว่าวดาวเทียมธีออสในงานว่าวไทยและว่าวนานาชาติ ครั้งที่ 10

เตรียมขึ้นว่าวดาวเทียมธีออส

ว่าวดาวเทียมธีออสในงานว่าวไทยและว่าวนานาชาติ ครั้งที่ 10

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ : สดร. และ ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก เข้าร่วมจัดนิทรรศการและกิจกรรม ในงานว่าวไทยและว่าวนานาชาติ ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2551 ณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

งานว่าวฯ ปี 2551 นี้ จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, จังหวัดเพชรบุรี, กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน (ค่ายนเรศวร), กองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก, มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร, มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน, สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, เมืองชะอำ และ สมาคมนักบินว่าวแห่งประเทศไทย และเพิ่มความยิ่งใหญ่ตระการตา ด้วยว่าวของ 16 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ, เบลเยี่ยม, ไต้หวัน, เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, ไทย, สเปน, นิวซีแลนด์, กัมพูชา, เกาหลีใต้, ฝรั่งเศส, มาเลเซีย, สิงคโปร์

พิธีเปิดงานฯ จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2551 โดยมี นายประสงค์ พิทูรกิจจา ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วยนายเกียรติศักดิ์ ธนวัฒนากุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ณ บริเวณสนามโดดร่ม ค่ายพระรามหก ท่ามกลางสื่อมวลชนที่ให้ความสนใจอย่างคับคั่ง

ในพื้นที่ของ สทอภ. ผู้เยี่ยมชมงานฯ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นอกจากจะได้ชมว่าวดาวเทียมธีออส ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยแล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับดวงตาของชาติ จากนิทรรศการโครงการดาวเทียมธีออส, อ่านเกร็ดความรู้เรื่องประโยชน์ต่างๆ ของว่าว จากนิทรรศการว่าว, ชมว่าวไทยชนิดต่างๆ 17 แบบ ที่ประดิษฐ์โดยครูสวย เศียรกระโทก, ร่วมกิจกรรมประดิษฐ์ว่าวปิระมิด เตตระฮีดรอน และระบายสีบนว่าว, ชมว่าวแผงขนาดใหญ่ลวดลายสีสวย ใน Theme โลกร้อน ที่แต่งแต้มสีโดย Artist ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้แก่ อาจารย์จุมพล ชินะประพัฒน์, อาจารย์ชนิศร์ หุตานนท์, อาจารย์ชลิต นาคพะวัน และ พ.ญ.พัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ส่งท้ายด้วยการแสดงว่าวกลางคืน ในคืนวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม เป็นการปิดงานว่าวฯ ปี 2551 อีกด้วย

ในส่วนของ สดร. มีการจัดแสดงชุดนิทรรศการทางดาราศาสตร์ พร้อมกล้องดูดวงอาทิตย์ (กล้องไฮโดรเจน อัลฟ่า) อีกทั้งแจกว่าวรูปน้องเอริธ์และพี่กระต่าย สีสันสดสวย แก่เยาวชนที่เยี่ยมชม

ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่พิษณุโลก จัดนิทรรศการในลักษณะเรือนชาน โดยมีปราชญ์ชาวบ้านที่มีภูมิรู้เรื่องการทำว่าวไทย สาธิตการทำว่าว และแจกว่าวเป็นที่ระลึกในงาน โดยเน้นว่าวพื้นบ้านของจังหวัดพิษณุโลก, การแสดงกังกันแบบบ้านกร่าง ของเล่นพลังลมแบบไทยๆ อีกทั้งมีการปิ้งข้าวเกรียบว่าวแจกผู้เข้าร่วมงานฯ ด้วย

กิจกรรมต่างๆ ของ สทอภ. จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของอวกาศ, เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อวกาศที่มีต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อประชาสัมพันธ์การส่ง ดาวเทียมธีออส ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย ขึ้นปฏิบัติงาน ณ วงโคจรรอบโลกในปี 2551

ผู้สนใจสามารถชมภาพว่าวดาวเทียมธีออส และภาพกิจกรรมต่างๆ ของ สทอภ. รวมถึงภาพถ่ายมุมสูงของงานฯ จากว่าว ได้ที่ web page ของ สทอภ. http://space.gistda.or.th/10thaiinterkitefestival/event/ และ http://space.gistda.or.th/10thaiinterkitefestival/


ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์โครงการดาวเทียมธีออส
โครงการดาวเทียมธีออส
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) - สทอภ.
web : www.gistda.or.th
web : funscience.gistda.or.th
โทรศัพท์+66(0)-2940-5658,+66(0)-2940-6420-9
โทรสาร+66(0)-2940-5658,+66(0)-2561-3035
email : pitan@gistda.or.th


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์