วุฒิสภาสหรัฐฯ โหวตเห็นชอบ แผนกอบกู้การเงิน7แสนล.แล้ว

วุฒิสหรัฐฯโหวตเห็นชอบแผนกอบกู้ภาคการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ ส่งต่อให้สภาผู้แทนราษ ฎรโหวต


(2ต.ค.) วุฒิสภาสหรัฐผ่านความเห็นชอบแผนกอบกู้ภาคการเงินแล้วเมื่อค่ำวันพุธตามเวลาสหรัฐหรือเช้าวันนี้ตามเวลาไทยท่ามกลางการเฝ้าจับตาจากทั่วโลก โดยได้รับเสียงสนับสนุน 74 ต่อ 25 เสียง ทำให้แผนนี้จะถูกส่งต่อให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติ ซึ่งคาดว่าจะมีการลงมติในเช้าวันศุกร์ตามเวลาสหรัฐแต่แผน


ฉบับนี้ที่มีการเพิ่มมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ก็ยังไม่สามารถสร้างความพอใจให้กับส.ส.ที่ลงมติคัดค้านเมื่อวันจันทร์ได้ทุกคน


ร่างแผนกู้วิกฤติการเงินฉบับใหม่นี้ได้มีการเพิ่มเงื่อนไขใหม่ เพื่อหวังลดกระแสคัดค้านจากสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรที่ไม่เห็นด้วย โดยเพิ่มยอดรับประกันเงินฝากบัญชีธนาคารจาก 1 แสนดอลลาร์หรือราว3 ล้าน 4 แสนบาท เป็น 2 แสน 5 หมื่นดอลลาร์ หรือราว 8 ล้าน 5 แสนเป็นเวลาหนึ่งปี ตามข้อเสนอของบรรษัทประกันเงินฝากของรัฐบาลกลาง หรือ FDIC นอกจากนี้ยังกำหนดต่ออายุแผนพักการชำระภาษีให้นักธุรกิจและชนชั้นกลาง

และการปรับแก้เนื้อหาครั้งนี้ทำให้ส.ส.บางส่วนหันมาทบทวนอีกครั้งแต่บางคนก็ยังไม่เห็นด้วย เช่น


นายลอยด์ ด็อกเกตต์ ส.ส.ของพรรคเดโมแครต ซึ่งร่วมลงมติคัดค้านเมื่อวันจันทร์ บอกก่อนการลงมติในวุฒิสภาว่า แผนของวุฒิสมาชิกยังไม่อาจเปลี่ยนแปลงจุดยืนของเขาได้ เพราะยิ่งทำให้แผนที่แย่อยู่แล้ว เลวร้ายลงไปอีก แต่นายเฮนรี คูเอลลาร์ ส.ส.เดโมแครตอีกคน บอกว่า ดีใจที่ได้ลงมติคว่ำแผนในครั้งแรก เพราะตอนนี้ดูเหมือนว่ามีการปรับแก้แผนให้ดีขึ้นและเขาจะพิจารณาแผนใหม่นี้ ซึ่งเขาไม่ได้หมายถึงว่าจะตกลงอนุมัติ แต่ก็มีแนวโน้มมากขึ้น


นอกจากนี้ประเด็นการต่ออายุการพักชำระภาษีที่มุ่งหวังโน้มน้าวส.ส.รีพับลิกันที่ไม่เห็นด้วยกับแผนแรกหันมาสนับสนุน

อาจทำให้กลุ่มหัวอนุรักษ์ของเดโมแครตที่คัดค้านแผนแรก อาจไม่พอใจกับแผนฉบับ
แก้ไขนี้เพราะการตัดลดภาษีอาจทำให้ตัวเลขขาดดุลงบประมาณสูงขึ้น ด้านวุฒิสมาชิกบารัก โอบาม่า ตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครต แถลงที่วุฒิสภาสหรัฐฯที่กรุงวอชิงตัน ดีซี หลังเดินทางไปที่นั่น เพื่อร่วมลงมติที่วุฒิสภาในคืนวันพุธตามเวลาท้องถิ่น ในความพยายามของวุฒิสภาที่จจะผ่านร่างกฎหมายมูลค่า 7 แสน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อกอบกู้วิกฤตในตลาดการเงินของสหรัฐฯ


หลังจากสภาผู้แทนราษฎรคว่ำร่างกฎหมายดังกล่าวไปเมื่อวันจันทร์ ทำให้ตลาดหุ้นตกฮวบ

คาดกันว่าทั้งเขากับวุฒิสมาชิกโจเซฟ ไบเดน ผู้สมัครชิงรองประธานาธิบดี และคู่แข่งคือจอห์น แมคเคน ตัวแทนชิงประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันจะลงมติสนับสนุน ขณะที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เปิดเผยว่าหากผ่านวุฒิสภาแล้ว สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติอีกครั้งในเช้าวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น


โอบาม่ากล่าวในห้องประชุมของวุฒิสภา ซึ่งในตอนแรกว่างเปล่า แต่มีวุฒิสมาชิกของเดโมแครตหลั่งไหลเข้ามาชุมนุมอย่างรวดเร็วว่า" ขอให้พวกเราเป็นหนึ่งเดียวในการขับไล่ความกลัว ...เราล้มเหลวไม่ได้ " ( Let us unite in banishing fear ... we cannot fail.)

ซึ่งเป็นอิงถ้อยแถลงทางวิทยุของอดีตประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี รูลเวลส์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำกลับมาซึ่งความเชื่อมั่นหลังเกิดวิกฤตด้านการธนาคารช่วงทศวรรษที่ 1930 เขาให้คำนิยามว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่"วิกฤตเศรษฐกิจ" แต่เป็น"วิกฤตของชาวอเมริกัน" เขาเรียกร้องให้ชาวอเมริกันในยุคปัจจุบันกำหนดชะตากรรมของตนเอง ในขณะที่เหลือเวลาอีกเพียง 1 เดือนจะถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ พร้อมเตือนว่าการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องง่าย ทุกคนจำเป็นต้องเสียสละ


บรรดาผู้นำในวุฒิสภาคาดหวังในแง่ดีว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้จะได้ไปวางบนโต๊ะให้ประธานาธิบดี


บุชลงนามภายในสุดสัปดาห์นี้ ขณะที่ผู้นำสหรัฐฯเรียกร้องให้สภาคองเกรสรีบผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดหุ้นที่ตื่นตระหนกจากการคว่ำร่างกฎหมายฉบับนี้ในการลงมติครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ( credit crunch ) กำลังเริ่มส่งผลกระทบต่อการบริหารเศรษฐกิจรายวันแล้ว และท่ามกลางความวิตกว่าวิกฤตการเงินสหรัฐฯจะลามถึงยุโรป

นายฌอง-คลอด จังเคอร์ ประธานรัฐมนตรีเศรษฐกิจของยูโรโซน เปิดเผยว่า
ผู้นำของเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษและอิตาลี จะประชุมกันที่กรุงปารีสในวันเสาร์ เพื่อหาทางรับมือกับปัญหานี้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวที่กรุงมอสโคว์ ตำหนิว่าปัญหาเกิดจากพฤติกรรมไร้ความรับผิดชอบของระบบการเงินสหรัฐ


เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์